TY - JOUR AU - ตรีสุทรรศน์, วิภาพร PY - 2020/12/30 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลสิงห์บุรี JF - Singburi Hospital Journal JA - Singburi Hosp J VL - 29 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/248785 SP - 13-25 AB - <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ และปัจจัยที่มีผลต่อผู้ป่วยกลุ่ม good outcome ผู้ป่วย โดยเป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรี ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 – 30 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยเก็บข้อมูลพื้นฐาน โรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อน และผลการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ จนถึง 3 เดือน จำนวน 98 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, แมนท์วิทนีย์ ยู เทสต์ และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค</p><p>ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดเข้าเกณฑ์การศึกษามีทั้งหมด 74 ราย อายุระหว่าง 41-83 ปี อายุเฉลี่ย 64.0±10.9 ปี มีอาการดีขึ้นหลังการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (mRS 0-1) ที่ 3 เดือน 49 ราย (ร้อยละ 66.2) ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่มีอาการจนมาถึงโรงพยาบาลคือ 106.1±49.9 นาที ระยะเวลาเฉลี่ยในการได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำหลังจากที่มายังโรงพยาบาล 64.4±28.5 นาที ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่มีอาการจนถึงได้ยาละลายลิ่มเลือด 171.0±52.2 นาที ค่ามัธยฐาน NIHSS ที่ stroke unit 8 จากการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิด good outcome ได้แก่ Triglyceride มากกว่า 150 mg/dl และ NIHSS at ER &lt; 10 สรุป: ผลการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้ผลดี (good outcome) ถึงร้อยละ 66.2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ การเกิด good outcome ได้แก่ Triglyceride มากกว่า 150 mg/dl และ NIHSS at ER &lt; 10</p> ER -