TY - JOUR AU - สุขุมะ, ณัฐดนัย PY - 2020/12/29 Y2 - 2024/03/29 TI - ประสิทธิภาพการส่องกล้องและการตรวจพบติ่งเนื้อของผู้ป่วยที่ เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี JF - Singburi Hospital Journal JA - Singburi Hosp J VL - 29 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/248767 SP - 51-62 AB - <p>การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ใช้ในการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ ประสิทธิผลที่ดี ของการส่องกล้องลำไส้ขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของผู้ป่วย การเตรียมลำไส้ คุณภาพการเตรียมมีผลต่อระยะเวลาของการส่องกล้อง การตรวจหาติ่งเนื้ออย่างละเอียดและการถอดกล้องออกจากลำไส้ที่นาน มีสัมพันธ์กับอัตราการตรวจหาติ่งเนื้อที่ผิดปกติสูงขึ้น การวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาคุณภาพ ความสำเร็จ ระยะเวลา และการตรวจพบติ่งเนื้อผิดปกติในการส่องกล้องลำไส้ โดยศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วย ที่ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 – 30 กันยายน 2563 จำนวน 265 ราย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยส่องกล้องวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาความสำคัญโดยใช้ไคล์สแคว์</p><p>ผลการศึกษาพบว่า การเตรียมลำไส้และการตรวจพบติ่งเนื้อ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสากล แต่ Cecal intubation ยังมีค่าร้อยละได้น้อยกว่ามาตรฐาน ซึ่งทางผู้วิจัยได้คำนวณปัจจัยที่สามารถทำให้การ Cecal intubation ทำได้มากขึ้น ปัจจัยนั้นคือ การให้ยาแก้ปวดและ/หรือการให้ยาสลบ อีกตัวชี้วัดที่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขคือ ระยะเวลาการถอยกล้อง ซึ่งมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อปัจจัยดังกล่าว อาจต้องใช้การศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการถอยกล้องที่มีระยะเวลาถอยน้อยกว่า 6 นาที ผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่าผู้ส่องกล้องควรตรวจสอบคุณภาพในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และเทคนิคในการส่องกล้อง รวมถึงระยะเวลาในการถอยกล้อง, คุณภาพของการเตรียมลำไส้ ในการส่องกล้องควรได้ตามมาตรฐานสากล ซึ่งจะนำไปสู่การคัดกรอง, เฝ้าระวังลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด</p> ER -