TY - JOUR AU - ครองสัตย์, สราวุธ PY - 2021/08/31 Y2 - 2024/03/29 TI - ศึกษาผลการปรับกระบวนการดูแลรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด rt-PA ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองฉับพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสระบุรี JF - Singburi Hospital Journal JA - Singburi Hosp J VL - 30 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/248732 SP - 50 - 71 AB - <p>โรคหลอดเลือดสมองอุดตันเป็นโรคทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นฉับพลัน มีผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ทางผู้วิจัยได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว ว่าระบบการให้ยาสลายลิ่มเลือด rt-PA ในโรงพยาบาลสระบุรี ยังมีความล่าช้าในกระบวนการรักษา จึงมีการปรับปรุงระบบให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยตัดกระบวนการที่ไม่จำเป็น วัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อศึกษาผลลัพธ์หลังการปรับปรุงระบบ stroke fast track ในการให้ยาสลายลิ่มเลือด rt-PA ที่โรงพยาบาลสระบุรี ได้แก่ ตัวชี้วัดโรคหลอดเลือดสมอง, ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง, อัตราการเสียชีวิต, คะแนนความรุนแรงของอาการหลอดเลือดสมอง (National Institute of Health Stroke Scale :NIHSS) คะแนนระดับความพิการของผู้ป่วย (mRS: modified Rankin Scale) และคะแนนการประเมินกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel Activities of Daily Living: ADL) กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันฉับพลัน และ ได้รับการรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด rt-PA ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ถึง 1 มีนาคม 2563 ที่หอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลสระบุรี จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 143 ราย การศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มที่ 1 เป็นข้อมูลก่อนปรับระบบ stroke fast track ซึ่งเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 จำนวน 53 ราย และ กลุ่มที่ 2&nbsp; &nbsp; &nbsp; เป็นข้อมูลหลังปรับระบบ stroke fast track ซึ่งเก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 1 มีนาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 90 ราย วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาย้อนหลัง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลสระบุรี เก็บข้อมูลผู้ป่วยซึ่งประกอบไปด้วย ข้อมูลพื้นฐาน, door to physician, door to lab initiation, door to lab interpretation และ door to needle time, ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง อัตราการเสียชีวิตขณะที่ผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาล, NIHSS, mRS และ Barthel index วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการศึกษาสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ระหว่าง 2 กลุ่ม คือ ก่อนปรับระบบ และหลังปรับระบบ ว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ด้วยสถิติ t-test (Normal distribution) หรือ Mann-Whitney U test (Non normal distribution) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงกลุ่มด้วยสถิติ Chi square test</p><p>ผลการศึกษาวิจัย หลังปรับระบบสามารถลดเวลาเฉลี่ยของ Door to physician, Door to lab, Door to lab interpretation, Door to CT initiation, Door to CT interpretation และ Door to needle time ได้ที่ 1.48 นาที, 5.89 นาที, 14.84 นาที, 4.32 นาที 11.87 นาที และ 39.23 นาที เมื่อเทียบกับก่อนปรับระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามลำดับ (P-value &lt; 0.05) จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองอุดตันฉับพลันที่ได้รับยาสลายลิ่มเลือด rt-PA มี 7 ราย (ร้อยละ 13.2) ในกลุ่มก่อนปรับระบบ และ 12 ราย (ร้อยละ 13.3 ) ในกลุ่มหลังปรับระบบ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการฟื้นตัวของความพิการทางระบบประสาท (functional outcome) ในกลุ่มหลังเทียบกับกลุ่มก่อนปรับระบบ โดยพิจารณาจากค่า NIHSS , mRS และ Barthel index ไม่พบว่ามีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: หลังการปรับปรุงระบบการดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองฉับพลัน สามารถลดความล่าช้าในการให้ยาสลายลิ่มเลือด rt-PA ได้ทุกตัวชี้วัดของ Stroke service plan อันได้แก่ door to physician, door to lab, door to lab interpretation, door to CT , door to CT interpretation และ door to needle time ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มก่อนปรับระบบ</p> ER -