@article{เกียรติกังวานชน_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={ผลลัพธ์ของการรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี}, volume={31}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/258090}, abstractNote={<p><strong>บทนำ</strong>: โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST segment ยกขึ้น (STEMI) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันต้นๆของประเทศไทย โดยในปีพ.ศ. 2562 พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาดูผลสำเร็จและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดหลอดเลือดหัวใจสำเร็จด้วยวิธี pharmacoinvasive strategy โดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด streptokinase ในผู้ป่วย STEMI ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาแบบ retrospective descriptive study กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย STEMI ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรี ช่วงปี พ.ศ. 2560-2564 จำนวน 163 ราย โดยเก็บข้อมูลพื้นฐานและการรักษาในแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแบบหลายตัวแปรด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติก (multiple logistic regression)</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วย STEMI ที่เข้ารับการรักษามีอายุเฉลี่ย 60 ปี เป็นเพศชายร้อยละ 72.4 ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหัวใจเสร็จ (door-to-ECG time) เฉลี่ย 8 นาที หลังจากถึงโรงพยาบาล เริ่มให้ยาละลายลิ่มเลือด (door-to-drug time) เฉลี่ย 70 นาทีหลังจากถึงโรงพยาบาล ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการแน่นหน้าอกถึงเริ่มให้ยาละลายลิ่มเลือด (total ischemic time) เฉลี่ย 325 นาที ผลลัพธ์หลังจากให้ยาละลายลิ่มเลือดมีจำนวนผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจเปิด 125 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.7</p> <p>เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการเปิดของหลอดเลือดหัวใจหลังจากให้ยาละลายลิ่มเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value<0.05) ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอกถึงให้ยาละลายลิ่มเลือดอยู่ภายใน 180 นาที ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่พบในผู้ป่วยกลุ่มที่หลอดเลือดหัวใจไม่เปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร</p> <p><strong>สรุป</strong>: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น STEMI ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรีด้วยวิธี pharmacoinvasive strategy ช่วงปีพ.ศ. 2560-2564 มีอัตราการเปิดหลอดเลือดหัวใจสำเร็จคิดเป็นร้อยละ 76.7 โดยผู้ป่วยที่มีระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการแน่นหน้าอกถึงให้ยาละลายลิ่มเลือดอยู่ภายใน 180 นาที มีโอกาสที่หลอดเลือดหัวใจจะเปิดสูง</p>}, number={2}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={เกียรติกังวานชน ณัฐพล}, year={2022}, month={พ.ย.}, pages={1–13} }