@article{ปานเนียม_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมไม่ได้ ในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี}, volume={25}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/257157}, abstractNote={<p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา มีจุดหมายเพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้เกี่ยวเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง เจตคติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง  การเข้าถึงบริการ  การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรม  การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้ เป็นผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ มีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางมอร์แกน ได้จำนวน 100 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ ใช้สถิติ t–test การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA : F- test) เมื่อพบนัยสำคัญทางสถิติจึงทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีการเปรียบเทียบพหุคูณแบบ LSD และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ศึกษาเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ72.00 มีอายุอยู่ในช่วง 50-60 ปี เป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 62.00 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 56.00 มีสถานภาพสมรสแล้วมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68.00 สำหรับอาชีพ พบว่า ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 48.00 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.00 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับพอใช้ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีเพศต่างกันมีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ป่วยที่มี อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่างกัน มีพฤติกรรมการดูแลตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ในด้านความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง เจตคติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>}, number={2}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={ปานเนียม เบญญาภา}, year={2022}, month={ต.ค.} }