@article{มัชมี_อุบลม่วง_วิเศษสิงห์_วิเศษสิงห์_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={ผลของการให้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิกายในหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง}, volume={26}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/257149}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิกายในหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังห้องผ่าตัด โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง จำนวน 60 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม 30 ราย และกลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัดตามปกติจากวิสัญญีพยาบาลและพยาบาลห้องผ่าตัดส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมอบอุ่นร่างกาย ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดเซสเล่อร์ซึ่งเป็นการทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากการให้ความร้อนแก่ร่างกายหรือการป้องกันการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายเก็บรวบรวมข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม 2560เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ โปรแกรมอบอุ่นร่างกาย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกข้อมูลการผ่าตัดและการระงับความรู้สึก และแบบบันทึกข้อมูลอุณหภูมิ เครื่องมือวิจัยทั้ง 2 ชุด ไดรับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.96 และทดลองใช้กับหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 ราย ตรวจสอบความเป็นปรนัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระยะก่อนผ่าตัด กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายเพิ่มขึ้น 0.1 องศาเซลเซียสส่วนกลุ่มควบคุมมีอุณหภูมิกายเฉลี่ยเท่าเดิม  เมื่อพิจารณาผลต่างของค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายพบว่ากลุ่มทดลองมีอุณหภูมิกายเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t =0.26, p = 0.79 ) ระยะขณะผ่าตัด กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายลดลง 0.5 องศาเซลเซียส ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายลดลง 0.7 องศาเซลเซียส เมื่อพิจารณาผลต่างของค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายพบว่ากลุ่มทดลอง มีอุณหภูมิกายเฉลี่ยลดลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (t =1.73, p = 0.08) และระยะหลังผ่าตัด พบว่า กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายลดลง 0.2 องศาเซลเซียส กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายลดลง 0.3 องศาเซลเซียส เมื่อพิจารณาผลต่างของค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายในระยะหลังผ่าตัดพบว่ากลุ่มทดลอง มีอุณหภูมิกายเฉลี่ยลดลงน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.65, p= 0.001)</p> <p>สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ โปรแกรมอบอุ่นร่างกายต่ออุณหภูมิกายในหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง งานวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลบ้านโป่ง มีอุณหภูมิกายเฉลี่ยในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด สูงกว่าหญิงที่ได้รับการอบอุ่นร่างกายตามปกติจึงควรขยายผลในการปรับปรุงมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง เพื่อเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดและช่วยทดแทนผ้าห่มเป่าลมร้อนที่มีราคาสูงทำให้คุณภาพการบริการวิสัญญีพยาบาลแก่ผู้ป่วยผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p>}, number={1}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={มัชมี ขวัญเรือน and อุบลม่วง กานต์สิริ and วิเศษสิงห์ กันย์สินี and วิเศษสิงห์ กันย์สินี}, year={2022}, month={ต.ค.}, pages={61–76} }