@article{เขียวรี_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง : กรณีศึกษา}, volume={26}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/257129}, abstractNote={<p>ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง (ST Elevation Myocardial Infarction: STEMI) เป็นภาวะวิกฤติฉุกเฉินทางอายุรกรรมที่พบได้บ่อยและมีอัตราการเสียชีวิตสูง ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่สำคัญ คือ การเกิดภาวะช็อกจากหัวใจและอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้หากเกิดความล่าช้าในการเปิดหลอดเลือดหัวใจผู้ป่วย ระยะเวลาในการเปิดหลอดเลือดด้วยยาละลายลิ่มเลือดภายใน 30 นาที (door to needle times within 30 minutes) นับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนได้รับยาละลายลิ่มเลือด จะช่วยให้เปิดหลอดเลือดหัวใจได้เร็วและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ระยะเวลาการให้ยามีความสัมพันธ์กับอัตรารอดชีวิตโดยตรงของผู้ป่วย ดังนั้นพยาบาลที่ดูแลต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการประเมินคัดกรอง การอ่านและแปลผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ให้การดูแลและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน นับตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล ประสานการรักษาให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดอย่างรวดเร็วและสามารถส่งต่อผู้ป่วยเพื่อทำการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจได้อย่างปลอดภัย จากการศึกษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกที่ได้รับยา streptokinase แต่ไม่สามารถเปิดเส้นเลือดหัวใจได้ ลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่เปลี่ยนแปลง จึงได้ส่งต่อไปโรงพยาบาลที่ศักยภาพสูงกว่าเพื่อทำการเปิดเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูน ทำให้ผู้ป่วยพ้นวิกฤติและสามารถจำหน่ายกลับมาอยู่บ้านได้อย่างปกติสุข</p>}, number={2}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={เขียวรี กฤษฎา}, year={2022}, month={มิ.ย.} }