@article{สาตร์จีนพงษ์_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บของไขสันหลังระดับคอ}, volume={26}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/257127}, abstractNote={<p>การได้รับบาดเจ็บของกระดูกสันหลังและไขสันหลังเป็นภาวะคุกคามต่อชีวิต ครอบครัวและสังคม การ ได้รับบาดเจ็บของกระดูกสันหลังและไขสันหลังพบประมาณร้อยละ 3 ของผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด โดยมีครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังระดับคอ การได้รับบาดเจ็บของไขสันหลังนำมาซึ่งความสูญเสียชีวิต ความพิการ ระยะการดูแลรักษาที่ยาวนาน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง</p> <p>กรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บของไขสันหลังระดับคอ เป็นผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 59 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญ คือ พลัดตกลงมาจากต้นมะม่วง ความสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณลำคอกระแทกโอ่งน้ำไม่ทราบสลบไปนานเท่าไร ปวดต้นคอ แขนขาชาขยับไม่ได้ มีแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ที่ศีรษะ เมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีภาวะช็อคจากไขสันหลัง (Spinal shock) และต้องได้รับการทำหัตถการและผ่าตัดแก้ไขโดยเร็ว การพยาบาลผู้ป่วยรายนี้ พยาบาลต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ในการประเมินภาวะช็อคจากไขสันหลัง วางแผนการพยาบาลเพื่อควบคุมความดันโลหิต ป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน สามารถดูแลขณะใส่ Gardner Wells tongs ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด ประเมินและป้องกันภาวะติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ การป้องกันการเกิดแผลกดทับและการดูแลด้านจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งการดูแลต่อเนื่อง โดยครอบครัวต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล ฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย</p>}, number={2}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={สาตร์จีนพงษ์ วิไล}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={65–80} }