@article{ดีศรีแก้ว_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การพยาบาลผู้ป่วยโรคฉี่หนูร่วมกับภาวะไตวาย}, volume={27}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/256971}, abstractNote={<p>กรณีศีกษาการพยาบาลผู้ป่วยหญิงไทยคู่ อายุ 53 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญ ปวดหลังมาก เหนื่อย ใจสั่น หน้ามืดเป็นพักๆ เป็นมา 1 วัน ซักประวัติเพิ่มเติมได้ประวัติ ผู้ป่วยลุยโคลนทำนา 3 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล แพทย์จึงสั่งเจาะ Leptospilar IgM titer ได้ผล positive ผู้ป่วยมีภาวะไตวายเฉียบพลันร่วมด้วย แพทย์วินิจฉัยโรค Leptospirosis with Acute Renal Failure จากการที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันทำให้มีภาวะน้ำท่วมปอด ผู้ป่วยเหนื่อยหอบมากแพทย์ใส่ท่อหลอดลมคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ และให้ยาปฏิชีวนะแก้ไขการติดเชื้อ ใช้เครื่องบำบัดทดแทนไต ติดตามดูแลจนอาการผู้ป่วยดีขึ้นจนสามารถกลับบ้านได้</p> <p>ปัญหาทางการพยาบาลที่พบในผู้ป่วยรายนี้ คือ มีการติดเชื้อในร่างกาย มีภาวะน้ำเกินในร่างกาย  เกิดภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีภาวะ Pulmonary Edemaจากไตวายเฉียบพลัน เสี่ยงต่อการทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติเนื่องจากมีภาวะไม่สมดุลของอิเลคโทรไลต์ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องมีการใส่ท่ออุปกรณ์ช่วยชีวิตหลายชนิดเข้าไปในร่างกาย ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวลเนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤตคุกคามชีวิตและขาดความรู้เกี่ยวกับโรคแผนการรักษาและการปฏิบัติตัว</p> <p>หลังจากให้การดูแลรักษาและให้การพยาบาลอย่างใกล้ชิดสามารถควบคุมสภาวะต่างๆ ของโรคได้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะวิกฤติ ฟื้นจากภาวะการเจ็บป่วย แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ รวมระยะเวลานอนในโรงพยาบาล 11 วัน</p>}, number={2}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={ดีศรีแก้ว ลฎาภา}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={59–68} }