@article{จาวรุ่งฤทธิ์_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การศึกษาเปรียบเทียบผลการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่ง ก่อนและหลังใช้ แบบประเมิน Alvarado score}, volume={27}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/256966}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งก่อนและหลังใช้แบบประเมิน  Alvarado score</p> <p><strong>รูปแบบการวิจัย </strong><strong>: </strong>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย กลุ่มประชากรเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2560 วินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบและได้รับการผ่าตัด Appendectomy จำนวน 1006 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มก่อนใช้แบบประเมิน Alvarado score จำนวน 466 คน และกลุ่มหลังใช้แบบประเมิน Alvarado score จำนวน 540 คน ศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะทางคลินิก และผลการดูแลรักษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ Chi-Square Test และ t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>: </strong>ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันด้านอายุ ระยะเวลาที่ปวดท้องก่อนมาถึงโรงพยาบาล และจำนวนเม็ดเลือดขาว WBC ซึ่งเป็นผลจากความแตกต่างของการวินิจฉัยที่เร็วขึ้น โดยผลการดูแลรักษา พบว่า ด้านระยะเวลาการวินิจฉัย ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และค่ารักษาพยาบาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 อัตราการเกิดไส้ติ่งแตก และอัตราการวินิจฉัยผิดพลาดในกลุ่มผู้ป่วยหลังใช้แบบประเมิน Alvarado score น้อยกว่ากลุ่มก่อนใช้แบบประเมิน Alvarado score และพบว่าการใช้แบบประเมิน Alvarado score มีความสัมพันธ์กับการเกิดไส้ติ่งแตกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p </em>≤ .01) โดยกลุ่มก่อนใช้แบบประเมิน Alvarado score จะมีความเสี่ยงการเกิดไส้ติ่งแตก มากกว่า 2.46 เท่าของกลุ่มหลังใช้แบบประเมิน Alvarado score (95% CI : 2.302-2.707)</p> <p><strong>สรุป  อภิปรายผล </strong><strong>:</strong> จากผลการศึกษาการใช้แบบประเมิน Alvarado score สามารถใช้ในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบได้ง่าย และเร็วขึ้น เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับผู้ป่วยที่สงสัยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันหรือมาด้วยอาการปวดท้องทุกราย เพราะจะสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณารับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้</p>}, number={2}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={จาวรุ่งฤทธิ์ พงษ์เดช}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={11–20} }