@article{เรืองทอง_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การประเมินภาพถ่ายรังสีของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งสองข้าง ด้วยวิธีธรรมดาเปรียบเทียบกับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัด}, volume={27}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/256965}, abstractNote={<p>เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยวิธีใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผ่าตัดและการผ่าตัดโดยวิธีธรรมดา โดยการเปรียบเทียมมุม mechanical axis (MA) และมุม component alignment ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าทั้งสองข้าง โดยเป็นการผ่าตัดวิธีธรรมดาหนึ่งข้างและเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดในเข่าอีกข้างหนึ่ง  รูปแบบการศึกษาแบบศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) วิธีดำเนินการ ศึกษาในจำนวนข้อเข่าทั้งหมด 52 เข่า จากผู้ป่วยจำนวน 26 ราย ในช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถึง มกราคม 2560 ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นข้อเข่าเสื่อมทั้งสองข้างและได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งโดยการผ่าตัดวิธีธรรมดาหนึ่งข้างและวิธีใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าในด้านตรงข้าม นำผู้ป่วยมาถ่ายภาพรังสีท่ายืนในระบบดิจิทัล แล้วทำการวัดและเปรียบเทียบมุม mechanical axis (MA), femoral component in coronal plane (FFC), tibial component in coronal plane (FTC), femoral component in sagittal plane (SFC) และมุม tibial component in sagittal plane (STC)  ผลการศึกษาพบว่าการผ่าตัดโดยวิธีใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยเพิ่มความแม่นยำของมุม MA มากกว่าการผ่าตัดวิธีธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (178.12° ± 1.56° และ 176.15°± 1.85° ตามลำดับ,  <em>p</em> = 0.00) ส่วนมุม FFC นั้นพบว่ามีความแม่นยำสูงในการผ่าตัดโดยวิธีใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าเมื่อเทียบกับการผ่าตัดวิธีธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (88.58° ± 1.30° และ 87.38° ± 2.02° ตามลำดับ, <em>p</em> = 0.07) และในกลุ่มการผ่าตัดโดยวิธีใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่าพบมีการกระจายของข้อมูลและค่า outliers น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดแบบธรรมดา ส่วนมุม SFC และ STC นั้นไม่พบความแตกต่างของทั้งสองวิธีการผ่าตัด (<em>p</em> > 0.05) แต่พบว่าค่า outlier ของกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดแบบธรรมดานั้นมีแนวโน้มที่มากกว่ากลุ่มการผ่าตัดโดยวิธีใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (FTC 3.8% และ 0%, SFC 26.90% และ 15.4% ตามลำดับ) โดยผู้ป่วยทั้งหมดในการศึกษานี้ไม่มีการเปลี่ยนกลุ่มการผ่าตัดโดยวิธีใช้คอมพิวเตอร์ช่วยผ่ามาเป็นการผ่าตัดแบบธรรมดา และไม่พบภาวะแทรกซ้อนทั้งในขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด</p> <p><strong>สรุป</strong>  การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผ่าตัด เป็นเครื่องมือที่ปลอดภัยและช่วยเพิ่มความแม่นยำของ MA ทำให้ตำแหน่งการวางข้อเข่าเทียมดีขึ้น รวมทั้งยังลดจำนวนของ outlier หลังการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการศึกษาผลทางคลินิกรวมถึงการรวบรวมตัวอย่างที่มากขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นในการศึกษาครั้งต่อไป</p>}, number={2}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={เรืองทอง นที}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={1–10} }