@article{คลายนาทร_ชื่นธรรมการย์_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={ผลของการเสริมพลังเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี}, volume={27}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/256935}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมพลังเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในเขตอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ที่มีคุณสมบัติตามกำหนด จำนวน 180 คน เข้าร่วมกิจกรรมครบ 6 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ความเชื่อในความสามารถตนเอง การปฏิบัติ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ การไม่สูบบุหรี่ การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired Sample t-test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.8 อายุเฉลี่ย 46.15 ปี จบการศึกษา ร้อยละ 46.7 ก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อในความสามารถตนเองในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.3 การบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 75.0 การออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 42.8 การควบคุมอารมณ์อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 41.6 การไม่สูบบุหรี่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 43.9 การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 41.7 และพฤติกรรมตามหลัก 3อ. 2ส. รวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.8 หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเชื่อในความสามารถตนเอง อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 81.7 การบริโภคอาหารอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 61.7 การควบคุมอารมณ์อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 88.3 การไม่สูบบุหรี่อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 92.8 การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 81.7 พฤติกรรมตามหลัก 3อ. 2ส. รวม อยู่ในระดับสูงร้อยละ 90.6 ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความเชื่อในความสามารถตนเอง การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ การไม่สูบบุหรี่ การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.001) ค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือด น้อยกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P < 0.001 )</p> <p>สรุปได้ว่า การเสริมพลังเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อในความสามารถตนเอง การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การควบคุมอารมณ์ การไม่สูบบุหรี่ การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลให้ค่าดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และขยายผลไปสู่กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเบาหวานอื่นๆ ต่อไป</p>}, number={2}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={คลายนาทร พวงผกา and ชื่นธรรมการย์ ดรุณา}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={1–12} }