@article{สมปอง_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง (DM with END Stage Renal Disease : CAPD)}, volume={28}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/256924}, abstractNote={<p>กรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 44 ปี ตรวจพบเป็นโรคเบาหวานมา 10 ปี ผู้ป่วยมีปัญหาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีภาวะแทรกซ้อนทางไต แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคไตเรื้อรังมา 3 ปี ผู้ป่วยรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลสระโบสถ์  มาโรงพยาบาลบ้านหมี่ ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก CKD Clinic ได้ใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย ในระยะก่อนการตรวจ ขณะตรวจ และหลังการตรวจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาที่รวดเร็ว เหมาะสม โดยพยาบาลประเมินคัดกรอง ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และประเมินแบบแผนสุขภาพ   แพทย์ตรวจร่างกายวินิจฉัยโรค DM with End Stage Renal Disease ตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบ Hyperkalemia ได้ดูแลผู้ป่วยประสานรับยาด่วน stat dose จากฝ่ายเภสัชกรรม เฝ้าระวัง อาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ความเข้าใจและมีความวิตกกังวลในการปฏิบัติตัวในการเตรียมผ่าตัดวางสายล้างไตทางช่อง ได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติในการปฏิบัติตัว การจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้าน ประสานทีมสหสาขา ส่งปรึกษานักโภชนากรให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เพียงพอ และการแปลงเมนูอาหารให้ได้ปริมาณโปรตีน จำกัดปริมาณโซเดียม หลังได้รับการตรวจรักษา ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ทุเลาเหนื่อย ประสานการส่งต่อผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล เพื่อผ่าตัดวางสายล้างไตทางช่องท้อง ได้ติดตามผู้ป่วยในขณะที่นอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยไม่พบภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด จำหน่ายกลับบ้านรวมอยู่โรงพยาบาล 4 วัน ผู้ป่วยมาตรวจตามนัด ที่ห้องผู้ป่วยนอก ได้ประสานส่งข้อมูลให้ทีมเยี่ยมบ้านและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สระโบสถ์ ออกไปเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสถานที่และความพร้อมของครอบครัวผู้ป่วยอีกครั้ง แพทย์นัดตรวจทุก 1 เดือน ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแล ผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้ ผู้ป่วยและญาติมีข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ของพยาบาล สามารถติดต่อได้เมื่อมีปัญหาสุขภาพ และทุกครั้งที่มาตรวจตามแพทย์นัดจะมีการทบทวนความรู้และการปฏิบัติตัวโดยดูผลการตรวจเลือด ประกอบคำแนะนำทุกครั้งที่ CKD Clinic ห้องผู้ป่วยนอก</p> <p>ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือการดูแลผู้ป่วยเบาหวาที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สิ่งสำคัญ คือทีมผู้ดูแลต้องความรู้ความสามารถ มีจิตบริการ มีความตั้งใจ ในการเสริมพลังให้ผู้ป่วยและครอบครัวให้มีความมั่นใจ ในการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง การติดต่อประสาน งานกับทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อการดูแลและการติดตามประเมินผล ในการดูแลแบบองค์รวม</p>}, number={1}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={สมปอง พจี}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={73–86} }