@article{แก้ววิไล_นุ่มมีชัย_คชนาม_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วย ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี}, volume={28}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/256922}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนและเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่มารับการรักษาแบบฉุกเฉิน ณ หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรีจำนวน 64 ราย และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชลบุรี ที่มีประสบการณ์การทำงานที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป จำนวน 30 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการกำหนดช่วงเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการปฏิบัติตามโปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด แบบวัดความรู้เกี่ยวกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม และค่าเฉลี่ยที (paired t-test)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพในหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน ปฏิบัติตามโปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ในระดับมาก (ร้อยละ 76.67) มีความรู้เกี่ยวกับภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60) และพยาบาลมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระดับมาก (ร้อยละ 80) ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของความรู้ของพยาบาลก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = -11.96, p = .001)</p> <p>สำหรับข้อเสนอแนะคือ ควรมีการนำโปรแกรมการจัดการทางการพยาบาลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมาใช้ในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดลดลง</p>}, number={1}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={แก้ววิไล เอื้อง and นุ่มมีชัย นิศาชล and คชนาม สมหมาย}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={57–72} }