@article{พลพืชน์_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={ความผิดปกติจากการตรวจหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักโดยการตรวจพิเศษ ทางรังสีด้วยการสวนแป้งแบเรียม โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี}, volume={28}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/256921}, abstractNote={<p>การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติจากการตรวจหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักโดยการตรวจพิเศษทางรังสีด้วยการสวนแป้งแบเรียม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีข้อบ่งชี้และสงสัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมารับบริการการตรวจพิเศษทางรังสีโดยการสวนแป้งแบเรียมที่แผนกรังสีวิทยา โรงพยาบาลบ้านหมี่ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2557 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 โดยที่รังสีแพทย์เป็นผู้ตรวจและแปลผลการตรวจคนเดียวกัน จำนวน 195 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ หาความเที่ยงได้เท่ากับ 0.96 หลังจากนั้นเก็บข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ในจำนวนผู้มารับบริการ 195 ราย พบความผิดปกติจำนวน 82 ราย (42.05%) ลักษณะทางรังสีที่ตรวจพบส่วนใหญ่เป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ (diverticular disease) จำนวน 56 ราย (68.29%) รองลงมาเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักจำนวน 26 ราย (31.71%) ตำแหน่งของโรคที่ตรวจพบมากที่สุด คือ บริเวณทวารหนัก (Rectum) จำนวน 8 ราย (30.78%) รองลงมาเป็นบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง (Transverse colon) จำนวน 6 ราย (23.08%) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัย พบว่า เพศ อายุ โรคประจำตัว อาการที่มาโรงพยาบาล ระยะเวลาที่มีอาการผิดปกติ มีประวัติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว การดื่มสุราการรับประทานเนื้อสัตว์และอาหารมัน การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง และมีประวัติการขับถ่ายผิดปกติ มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักโดยการตรวจพิเศษทางรังสีด้วยการสวนแป้งแบเรียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)</p> <p>สรุป การตรวจพิเศษทางรังสีโดยการสวนแป้งแบเรียม เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ และทวารหนักยังคงเป็นการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคที่ดีในปัจจุบันและจากการศึกษาปัจจัย พบว่าล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ทั้งสิ้น จึงควรมีการให้ความรู้และรณรงค์เพื่อลดความเสี่ยง</p>}, number={1}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={พลพืชน์ วศินันท์}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={41–56} }