@article{ขำงาม_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อความสำเร็จ ในการดำรงบทบาทมารดาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก}, volume={31}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/256853}, abstractNote={<p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> การตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่นเป็นภาวะวิกฤตต่อบทบาทการเป็นมารดาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> งานวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง เลือกหญิงตั้งครรภ์แบบเจาะจง คือหญิงตั้งครรภ์อายุไม่เกิน 19 ปี ครรภ์แรกขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของโคเฮน (Cohen, 1988) จำนวน 50 ราย ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองที่พัฒนามาจากแนวคิดทฤษฎีของแบนดูรา โดยใช้ทักษะตั้งใจ การเก็บจำ การกระทำและแรงจูงใจ จำนวน4ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล เช่น อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส/อยู่ร่วมกันกับสามี ความพร้อมในการตั้งครรภ์ ประสบการณ์การเลี้ยงดูเด็กอ่อน และแบบสอบถามความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของศรีสมร ภูมนสกุล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test (Dependent t-test)</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> พบว่าหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นหลังเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีคะแนนความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาที่อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ และระยะ 72 ชั่วโมงหลังคลอดสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05 และ p<0.001ตามลำดับ)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองช่วยส่งเสริมความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก</p>}, number={1}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={ขำงาม ลัดดาวัลย์}, year={2022}, month={ส.ค.}, pages={79–90} }