@article{สีม่วงอ่อน_2022, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การพยาบาลผู้ป่วย Hypoxic-ischemic encephalopathy (HIE): กรณีศึกษา}, volume={31}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/256727}, abstractNote={<p><strong>บทนำ</strong><strong>: </strong>Hypoxic-ischemic encephalopathy (HIE) <em>เป</em>็นภาวะการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่นำไปสู่อันตราย เช่น เลือดขาดออกซิเจน มีคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง และภาวะกรดจากเมตาบอลิซึม หรือจากไม่มีการระบายอากาศที่ปอด ปริมาตรเลือดที่ผ่านปอดน้อยหรือมีไม่เพียงพอหลังจากการคลอด ส่งผลให้อวัยวะที่สำคัญขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง ทำให้เกิดการสูญเสียหน้าที่และเสื่อมประสิทธิภาพของอวัยวะนั้นๆ และเกิดความพิการต่างๆทางสมอง ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงมาก และแม้รอดชีวิตก็อาจมีสภาพเป็นผู้พิการได้ รวมทั้งการรักษาด้วย <em>Therapeutic-Hypothermia ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีจำกัดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิเท่านั้น </em>บทบาทสำคัญของพยาบาลในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีทักษะ ความรู้ความชำนาญในการดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลอย่างเหมาะสม ปลอดภัย มีโอกาสฟื้นหายหรือลดภาวะความพิการลงได้</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong><em>คัดเลือกผู้ป่วย </em>Hypoxic-ischemic encephalopathy (HIE) <em>ที่ได้รับการส่งต่อมารักษาด้วย </em><em>Therapeutic-Hypothermia 1 ราย ที่โรงพยาบาลสระบุรี </em>ใช้กระบวนการพยาบาลแบบองค์รวม ในการประเมิน วางแผนการพยาบาล วินิจฉัยการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาที่ดำเนินการ 6 เดือน (ตั้งแต่ ธันวาคม 2564 ถึง มิถุนายน 2565)</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยทารกแรกเกิดเพศหญิง คลอดปกติไม่หายใจแพทย์วินิจฉัยเป็น Severe Birth Asphyxia ช่วยฟื้นคืนชีพ on ETT. แล้วส่งต่อมาจาก เพื่อรับการรักษาด้วย Therapeutic-Hypothermia Temp.tarket 33.5 <sup>o</sup>c. พยาบาลใช้กระบวนการพยาบาลแบบองค์รวมในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับการประสานส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยมีการฟื้นตัวได้ดี สามารถหายใจเองได้มากขึ้น ลด mode ventilator ได้ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างรับการรักษา ส่งกลับไปรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลเดิมได้ ญาติเข้าใจปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลได้ดี จากการติดตามโทรศัพท์เยี่ยมผู้ป่วย 1 ครั้ง หลังส่งกลับไป 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยยังนอนพักใน NICU  อาการดีขึ้นตามลำดับ</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การใช้กระบวนการพยาบาลแบบองค์รวมในการดูแลผู้ป่วยร่วมกับการประสานส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย มีโอกาสฟื้นหายหรือลดภาวะความพิการลงได้</p>}, number={1}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={สีม่วงอ่อน ทิวา}, year={2022}, month={ส.ค.}, pages={127–142} }