@article{อยู่สุวรรณ_2021, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การศึกษาเปรียบเทียบอัตราความสำเร็จของการได้รับการผ่าตัดภายใน 48 ชั่วโมงแรก และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆหลังการผ่าตัดระหว่างการดูแลแบบเดิมกับการดูแลแบบเร่งด่วน ในผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี}, volume={30}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/252474}, abstractNote={<p><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong> โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชได้เริ่มระบบการดูแลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยสูงอายุกระดูกะโพกหักขึ้นใน ปี 2563 ซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อนจึงทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบอัตราความสำเร็จของการผ่าตัดได้ภายใน 48 ชั่วโมงแรกและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆระหว่างการดูแลแบบเดิมกับการดูแลแบบเร่งด่วนในผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษาย้อนหลังวิเคราะห์จากเหตุไปหาผลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักชนิดไม่รุนแรงจำนวน 312 คนอายุมากกว่า 50 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 การดูแลแบบเดิมและกลุ่มที่ 2 การดูแลแบบเร่งด่วน กลุ่มละ 156 คน รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกันยายน 2564 เก็บข้อมูลการรักษาในโรงพยาบาลและติดตามข้อมูลต่อจนครบ 6 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล ข้อมูลที่เก็บได้แก่ การผ่าตัดได้ภายใน 48 ชั่วโมง ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด อัตราการเสียชีวิตและอุบัติการณ์การหักซ้ำภายใน 6 เดือน สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบ ความแตกต่างข้อมูลด้วย chi-square test และ Unpaired t test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> พบว่ากลุ่มที่ 2 มีอัตราความสำเร็จของการผ่าตัดได้ภายใน 48 ชั่วโมงแรกมากกกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(ร้อยละ61.6 กับ 38.4 p<0.05)  กลุ่มที่ 2 มีเวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ยได้น้อยกว่ากว่ากลุ่มที่ 1 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(9.24 วันกับ 10.80 วัน p<0.05) กลุ่มที่ 2 ลดภาวะทางเดินปัสสาวะติดเชื้อจากร้อยละ 2.56 เป็นร้อยละ 0 และลดภาวะซึมสับสนในโรงพยาบาลจากร้อยละ 3.84 เป็นร้อยละ 0.64 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตภายใน 6 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาลของกลุ่มที่ 1 มากกว่ากลุ่มที่ 2 (ร้อยละ 2.56 กับ 1.28 และร้อยละ 1.92 กับ 1.28) อุบัติการณ์การหักซ้ำภายใน 6 เดือนพบว่ากลุ่มที่ 1 มากกว่ากลุ่มที่ 2(ร้อยละ 1.28 กับ 0)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การดูแลผ่าตัดแบบเร่งด่วนสามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จของการผ่าตัดได้ภายใน 48 ชั่วโมงแรก ลดเวลานอนโรงพยาบาลและลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ลดอัตราการตายและลดอุบัติการณ์การหักซ้ำภายใน 6 เดือนได้มากกว่าการดูแลผ่าตัดแบบเดิม</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> การดูแลผ่าตัดแบบเดิม ผู้ป่วยสูงอายุกระดูกะโพกหัก การดูแลผ่าตัดแบบเร่งด่วน</p>}, number={2}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={อยู่สุวรรณ กิตติพงษ์}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={39–52} }