@article{รินฤทธิ์_2020, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคคาวาซากิร่วมกับภาวะลำไส้อักเสบเฉียบพลัน: กรณีศึกษา}, volume={29}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/249640}, abstractNote={<p>โรคคาวาซากิ (Kawasaki) พบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และเพศชายเป็นส่วนใหญ่ เป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดเลือดแดง การอักเสบมีโอกาสลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อของหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงโคโรนารี (Coronary)</p> <p>ผู้ป่วยเด็กเด็กอายุ 11 เดือน มารับการรักษาในโรงพยาบาลวันที่ 30 กันยายน 2562 ด้วยอาการ มีไข้ ถ่ายเหลวบ่อย 3 วัน จากนั้นมีผื่นแดงขึ้นตามตัว วินิจฉัยแรกรับลำไส้อักเสบเฉียบพลัน (Acute gastroenteritis) ร่วมกับภาวะไข้ออกผื่น (Viral examthem) และจากการตรวจพบ Erythrocyte sedimentation rate (ESR) และ C-reactive protein (CRP) สูงจึงวินิจฉัยว่าเป็นโรค Kawasaki ได้รับการรักษาโดยให้ Intravenous immune globulin (IVIG) และยาแอสไพริน (Aspirin) และส่งตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) ผลปกติ ระหว่างดูแลให้การพยาบาลลดไข้ ลดการติดเชื้อในร่างกาย ลดความไม่สุขสบายจากผื่นคัน ป้องกันภาวะขาดสารน้ำและอาหาร ลดความวิตกกังวลของผู้ดูแลร่วมกับการให้ข้อมูล คำแนะนำร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยเด็กมีอาการดีขึ้นตามลำดับจำหน่ายได้วันที่ 8 ตุลาคม 2562 ติดตามการรักษาค่า CRP ปกติ ไม่พบความผิดปกติของหลอดเลือดแดง Coronary บทบาทสำคัญของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรค Kawasaki คือการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดแดง Coronary ด้วยการให้ยา IVIG ร่วมกับ ASA และทราบผลข้างเคียงของยา การสังเกตอาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การเพิ่มขึ้นผิดปกติของเกล็ดเลือด ร่วมกับการดูแลความสุขสบายให้แก่ผู้ป่วยเด็ก จะส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กเด็กปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในภายหลัง</p>}, number={1}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={รินฤทธิ์ น้ำอ้อย}, year={2020}, month={พ.ค.}, pages={25–36} }