@article{ม่วงทอง_2020, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมกับโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดเอสทีไม่ยกสูง: กรณีศึกษา}, volume={29}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/248794}, abstractNote={<p>กรณีศึกษาชายไทย อายุ 48 ปี เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม ส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน ด้วยอาการ หายใจเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก 4 ชั่วโมง แพทย์วินิจฉัยโรค Congestive heart failure with NSTEMI ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พบ ST segment elevate ใน Lead V2-V4 ได้รับยาขับปัสสาวะทางหลอดเลือด, ได้รับ ASA (81 mg) 4 tabs เคี้ยวแล้วกลืน, ได้รับ Clopidogrel (75 mg) 4 tabs ให้ออกซิเจน Cannula 5 ลิตรต่อนาที และได้รับยา Enoxaparin 0.6 ml sc จากนั้น 1 วันปัสสาวะออกน้อยลง ค่าอัตราการกรองของไตลดลง หายใจเหนื่อยมากขึ้น ความอิ่มตัวออกซิเจนปลายนิ้ว 88% ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ และได้รับยาขับปัสสาวะทางหลอดเลือด 1 วันต่อมาสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ จึงจำหน่ายผู้ป่วย โดยนอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลา 5 วัน จึงประสานส่งกลับโรงพยาบาลชุมชนเพื่อเตรียมไปโรงพยาบาลแม่ข่ายทำการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ</p> <p>ดังนั้นบทบาทของพยาบาลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้และทักษะในการดูแลให้การพยาบาลในภาวะวิกฤติเพื่อติดตามประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ และการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยอย่างเหมาะสม โดยการพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว มีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและลดการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาล</p>}, number={1}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={ม่วงทอง จันทนา}, year={2020}, month={ม.ค.}, pages={67–74} }