@article{สุขจะ_2020, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของตับ: กรณีศึกษา}, volume={29}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/248791}, abstractNote={<p>การบาดเจ็บของตับในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของช่องท้อง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและพบเป็น อันดับที่สองรองจากการบาดเจ็บของม้าม การเสียเลือดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุด เนื่องจากตับเป็นอวัยวะในช่องท้องที่มีขนาดใหญ่และมีความเปราะบางมากที่สุด พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแล เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดให้กลับคืนสู่ภาวะปกติมากที่สุด ดังนั้นจึงศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของตับ เป็นการเปรียบเทียบกรณีศึกษา (Case study) จำนวน 2 ราย</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า รายที่ 1 หญิงไทย อายุ 21 ปี มาโรงพยาบาลด้วยมีประวัติสลบจำเหตุการณ์ไม่ได้ ปวดท้อง และหายใจเหนื่อย ภายหลังการขี่รถจักรยานยนต์ชนกับรถบรรทุก เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลชลบุรี ตั้งแต่วันที่ 7 ถึงวันที่ 12 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 แพทย์วินิจฉัยว่าช่องท้องบาดเจ็บร่วมกับตับด้านขวาบาดเจ็บระดับ 5 และได้รักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเย็บตับและห้ามเลือดที่ตับด้วยวิธี Perihepatic packing ผู้ป่วยมีภาวะช็อค ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อแก้ไขภาวะคุกคามต่อชีวิต โดยดูแลการได้รับเลือดและสารน้ำทางหลอดเลือดดำ การบริหารยากระตุ้นความดันโลหิต ยาต้านการสลายลิ่มเลือด และวิตามินที่ช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด อีกทั้งใช้ทักษะการประเมินภาวะสุขภาพและติดตามอาการและอาการแสดงทุก 15 นาที ในชั่วโมงแรก 30 นาที จำนวน 4 ครั้ง และ 1 ชั่วโมง จนกระทั่งผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤต การบรรเทาอาการปวด การป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ปฏิบัติการพยาบาลโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานและเกิดความปลอดภัย นอกจากนี้ได้ให้ความรู้ในการปฏิบัติตนเองและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต่าง ๆ รวมทั้งประสานงานเกี่ยวกับเอกสารและสิทธิการรักษาพยาบาล</p> <p>รายที่ 2 ชายไทย อายุ 20 ปี มาโรงพยาบาลด้วยมีประวัติสลบจำเหตุการณ์ไม่ได้ ปวดท้อง และแขนขวาผิดรูป ภายหลังการขี่รถจักรยานยนต์แฉลบ แพทย์วินิจฉัยว่าช่องท้องบาดเจ็บร่วมกับ ตับบาดเจ็บระดับ 4 และม้ามบาดเจ็บระดับ 2 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชลบุรีตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 14 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.263 และได้รับการรักษาแบบประคับประคอง ให้การพยาบาลโดยการประเมิน และติดตามอาการและอาการแสดงของภาวะช็อค การบรรเทาอาการปวด การป้องกันภาวะความดัน ในช่องกล้ามเนื้อสูง การส่งเสริมและดูแลการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้านและอาการผิดปกติที่ต้องกลับมาพบแพทย์ก่อนวันนัด</p> <p>จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บ ของตับเพื่อป้องกันให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะช็อค อาการปวดในช่องท้อง และภาวะพร่องออกซิเจน ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนและพึงพอใจในบริการที่ได้รับ</p>}, number={1}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={สุขจะ นันทพร}, year={2020}, month={ม.ค.}, pages={29–44} }