@article{พันธุ์ประเสริฐ_2020, place={กรุงเทพฯ, ประเทศไทย}, title={การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง: กรณีศึกษา}, volume={29}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/248790}, abstractNote={<p>กรณีศึกษา หญิงไทย วัยรุ่น อายุ 16 ปี ครรภ์แรก อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ รับไว้ในโรงพยาบาลด้วยอาการ บวมทั้งตัว ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว พบโปรตีนในปัสสาวะ +3 BP 169 /119 มิลลิเมตรปรอท ระดับหน้าท้อง 3/4มากกว่าสะดือ ไม่เจ็บครรภ์ เสียงหัวใจทารกด้านซ้าย 140 ครั้ง/นาที ตรวจภายในปากมดลูกไม่เปิด บวมตามร่างกาย DTR +3 การวินิจฉัย แรกรับ ตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง(Severe preeclampsia) ดูแลรักษาโดยให้ยากันชักเพื่อควบคุมความดันโลหิต ให้ยาสเตียรอยด์เพื่อกระตุ้นการเจริญของปอดทารก สามารถคุมความดันโลหิตได้ แพทย์พิจารณายุติ การตั้งครรภ์โดยการผ่าตัดคลอดน้ำหนักทารก 1,574 กรัม และแก้ไขได้ทันท่วงที วันที่ 4 หลังคลอด มีการวางแผนครอบครัวโดยฝังยาคุมกำเนิด Implanon NXT แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ พามารดาไปพักดูแลทารกต่อที่หอผู้ป่วยเด็ก เพื่อให้ทารกเจริญเติบโต มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ให้คำแนะนำก่อนกลับและนัดตรวจติดตาม ประเมินความดันโลหิต พบความดันโลหิต อยู่ในระดับปกติและบุตรมีพัฒนาการตามวัย</p> <p>พยาบาลจึงต้องใช้ความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ ในการประเมินอาการเตือน ที่สำคัญเพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที สามารถบริหารยา เฝ้าระวังและติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการสามารถประเมินวิเคราะห์ความสอดคล้องได้เหมาะสม ในการดูแลผู้ป่วยทุกช่วงระยะการเปลี่ยนแปลง มีการเตรียมความพร้อมของบุคลากรและอุปกรณ์สามารถให้การช่วยเหลือได้รวดเร็ว จึงสามารถลดอันตรายและภาวะแทรกซ้อนหรือถึงแก่ชีวิตของมารดาและทารก ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดา และทารก ตลอดรับการรักษาไม่มีอาการชัก</p> <p>จากกรณีศึกษานี้ในผู้ที่ตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการชัก ในการป้องกันการชักโดยการใช้ยา รวมทั้งควรมีระบบการดูแลต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคความดันสูงในอนาคตต่อไป</p>}, number={1}, journal={Singburi Hospital Journal}, author={พันธุ์ประเสริฐ รุ่งฤดี}, year={2020}, month={ม.ค.}, pages={17–27} }