TY - JOUR AU - หันกลาง, สุดา AU - แก้วบุญชู, อรวรรณ AU - สุวรรณอำไพ, เพลินพิศ AU - Morioka, Ikuharu PY - 2017/12/06 Y2 - 2024/03/29 TI - ประสิทธิผลของโปรแกรมลดการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในชาวนาจังหวัดนครราชสีมา: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม JF - Journal of Public Health Nursing JA - J Pub Health Nurse VL - 31 IS - 2 SE - Research Articles DO - UR - https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/105038 SP - 183-200 AB - <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เกษตรกรชาวนาประสบอันตรายจากการประกอบอาชีพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การศึกษากึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดซ้ำครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมลดการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรชาวนาในจังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 46 คน โดยให้กลุ่มทดลองร่วมโปรแกรมลดการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมลดการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประกอบด้วย การอบรม การแสดงตัวอย่างที่ดี การฝึกใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเยี่ยมบ้าน ระยะเวลาดำเนินโปรแกรม 4 สัปดาห์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามด้านความรู้ การรับรู้ความสามารถของตน ความคาดหวังผลดี และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Independent t-test และ Repeated Measure Analysis of Variance ตามลำดับ โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถของตน ความคาดหวังผลดี และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผลของกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การคาดหวังผลดี และพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มตัวอย่างในระยะติดตามผลสูงกว่าหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) แสดงว่า โปรแกรมลดการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชที่สร้างขึ้นจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม มีผลทำให้ชาวนามีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น</p><p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จากผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่า การออกแบบการศึกษากึ่งทดลองเพื่อลดการสัมผัสสารเคมีที่ดีนั้น ควรเน้นถึงประโยชน์และความสำคัญของการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและการฝึกอบรมการป้องกันและลดการสัมผัสสารเคมีในชาวนา</p> ER -