@article{รื่นบรรเทิง_กลัมพากร_จิระพงษ์สุวรรณ_2017, title={พฤติกรรมการป้องกันปัญหาระบบทางเดินหายใจจากการทำงานของแรงงานก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานคร}, volume={30}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/96567}, abstractNote={<p style="text-align: justify;">แรงงานก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนมีโอกาสได้รับสิ่งคุกคามทางสุขภาพระบบทางเดินหายใจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันปัญหาระบบทางเดินหายใจจากการทำงานของแรงงานก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ตามกรอบแนวคิดPRECEDE-PROCEEDFramework กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 225 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p><p style="text-align: justify;">            ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันปัญหาระบบทางเดินหายใจจากการทำงานโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.7 และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันปัญหาระบบทางเดินหายใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ประวัติการสูบบุหรี่ การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การเข้าถึงแหล่งทรัพยากร การได้รับแรงสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า การเข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่ช่วยให้มีพฤติกรรมการป้องกันปัญหาระบบทางเดินหายใจ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจจากการทำงาน และการได้รับแรงสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันปัญหาระบบทางเดินหายใจจากการทำงานของแรงงานก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ร้อยละ 24.4</p>            ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้ คือ ควรมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลคุ้มครองสุขภาพแรงงานก่อสร้าง สถานบริการด้านสุขภาพ และนายจ้าง ในการส่งเสริมความตระหนัก<p style="text-align: justify;">เกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจจากการทำงาน การส่งเสริมการเข้าถึงปัจจัยเอื้อต่อสุขภาพต่างๆ เช่น การจัดสรรอุปกรณ์ป้องกัน การส่งเสริมนโยบายการใช้อุปกรณ์ป้องกัน เป็นต้น และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเพื่อนร่วมงานและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเพื่อกระตุ้นให้มีพฤติกรรมการป้องกันปัญหาระบบทางเดินหายใจที่เหมาะสม</p><p style="text-align: justify;" align="center"><strong>PREVENTIVE BEHAVIORS OF WORK RELATED RESPIRATORY PROBLEM AMONG RAILWAY CONSTRUCTION WORKERS IN BANGKOK</strong></p><p style="text-align: justify;">           The railway construction workers who are exposed to hazards during work are at a high risk of respiratory problems. This research aimed to study preventive behaviors of work related respiratory problems among railway construction worker in Bangkok. The PRECEDE-PROCEED Framework was applied as a conceptual basis for this study. The samples consisted of 225 railway construction workers in Bangkok, who were selected by purposive sampling. Interview forms were used for data collection. The data was analyzed using descriptive statistics, analysis of variance, Pearson’s product moment correlation and Stepwise multiple regression analysis.</p><p style="text-align: justify;">            Results showed that 57.4% of railway construction workers have respiratory problem preventive behaviors at a moderate level. It was also found that smoking history, perceived risk, perceived benefits, perceived barriers, access to resources, peer and safety officer support were statistically significantly related to respiratory problem preventive behaviors. Stepwise multiple regression analysis revealed that access to resources, perceived risk and peer support could altogether explain 24.4% of the variance in respiratory problems preventive behaviors.</p><p style="text-align: justify;">            Findings suggested that the health care of construction workers, the agencies, health care facilities and employers should be collaborated to enhance railway construction workers awareness on the risk of work related respiratory problem .The availability and accessibility to resources regarding respiratory problem prevention should be increased, such as the provision of personal protective equipment, policy promoting the use of personal protective equipment and  support from co-workers should be encouraged to motivated appropriate  preventive behaviors of respiratory problems.</p><p style="text-align: justify;"> </p>}, number={3}, journal={Journal of Public Health Nursing}, author={รื่นบรรเทิง ศิริวรรณ and กลัมพากร สุรินธร and จิระพงษ์สุวรรณ แอนน์}, year={2017}, month={Aug.}, pages={71–83} }