@article{จิ๋วเจริญ_เอื้อมณีกูล_ละกำปั่น_จำรูญสวัสดิ์_2016, title={โปรแกรมป้องกันพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่นตอนต้นเพศชาย}, volume={30}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/67973}, abstractNote={<p style="text-align: left;">การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่นตอนต้นเพศชายต่อเจตคติต่อการใช้ความรุนแรง การรับรู้ความเชื่อของกลุ่มอ้างอิงต่อพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง การรับรู้ความสามารถในการป้องกันพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง ความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมรุนแรง และพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมป้องกันพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่นตอนต้นเพศชาย เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการศึกษาก่อนทดลอง หลังการทดลอง (สัปดาห์ที่ 5) และระยะติดตามผล (สัปดาห์ที่ 7) วิเคราะห์ผลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Independent Sample t-test และ Repeated Measures ANOVA</p><p>ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลองและระยะติดตามผล พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการใช้ความรุนแรงต่ำกว่าก่อนทดลองและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.01) แต่ไม่พบความแตกต่างของการรับรู้ความเชื่อของกลุ่มอ้างอิงต่อพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงและการรับรู้ความ สามารถในการป้องกันพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่ม ส่วนคะแนนเฉลี่ยของความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมรุนแรงและ พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองและระยะติดตามผลต่ำกว่าก่อนทดลองและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.01)</p><p>ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า โปรแกรมป้องกันพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่นตอนต้นเพศชายโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ในนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลต่อเจตคติต่อการใช้ความรุนแรง ความตั้งใจในการกระทำพฤติกรรมรุนแรงและพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงลดลง  ดังนั้นพยาบาลอนามัยโรงเรียนหรือครูอาจารย์ ควรนำโปรแกรมนี้ไปปรับใช้เพื่อการป้องกันพฤติกรรมความรุนแรงในเด็กนักเรียน</p><p> </p><p align="center"><strong>VIOLENCE PREVENTIVEBEHAVIOR PROGRAM FOR MALE EARLY ADOLESCENTS</strong></p><p style="text-align: center;"><strong><br /></strong></p><p align="center"><strong>ABSTRACT</strong></p><p>This research was a quasi-experimental research design, which aimed to study the effectiveness of a prevention of violent behavior program in early adolescent males regarding attitude towards violence, the perception of subjective norms of violence, the perception of protection from violent behavior, the intention of violent behavioral expression, and violent behavior. The participants were 80 students who studied in Mathayomsuksa 2 (Grade 8) in municipal schools in Suphanburi Province divided into the experimental group (40 students) and the control group (40 students). The experimental group received the prevention of violent behavior program for early adolescent males for four weeks. Data collection was by questionnaire in the pre-trail phase, the after-trial phase (week 5) and the follow-up phase (week 7). Data analysis used frequency, mean, standard deviation, chi-square, independent sample t-test, and repeated measures ANOVA.</p><p>The research found that in the posttest and follow-up phases, the experimental group had a statistically significant lower score of attitude towards violence than at pretest and the control group (p-value < .01) whereas the results showed no statistically significant differences in the perception of subjective norms of violence and the perception of protection from violent behavior both within and between groups. For intention to commit violence and violent behavior, there was found statistically significant lower scores than at pretest and in the control group (p-value <.01)</p><p> In conclusion, the prevention of violent behavior program using the theory of planned behavior was able to influence attitude towards violence, intention to commit violence, and violent behavior among early adolescent males. Therefore, school health nurses or teachers should adopt the program for protection violent behavior.</p><p><strong><br /></strong></p>}, number={2}, journal={Journal of Public Health Nursing}, author={จิ๋วเจริญ พรศิริ and เอื้อมณีกูล นฤมล and ละกำปั่น สุนีย์ and จำรูญสวัสดิ์ กนิษฐา}, year={2016}, month={Sep.}, pages={49–63} }