@article{อึ้งอุดรภักดี_เตชาติวัฒน์_พงษ์พาณิชย์_2016, title={การศึกษาความชุกของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในนักเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ และการประเมินตนเองทางด้านทักษะ การตรวจคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด}, volume={30}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/67970}, abstractNote={<p align="right"> </p><p style="text-align: left;" align="center">การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็กนักเรียนประถมศึกษาในทุกภาคของประเทศ และเพื่อเปรียบเทียบการประเมินด้านทักษะการตรวจคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดของบุคลากรด้านสาธารณสุขก่อนและหลังได้รับการอบรมโดยการประเมินตนเอง ทำการเก็บข้อมูลในระดับทุติยภูมิและข้อมูลย้อนหลังในระดับปฐมภูมิจากบุคลากรทางสาธารณสุข จำนวน 1,572 คน โดยใช้แบบสำรวจ</p><p>ผลการศึกษา พบเด็กเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจำนวน 225 คน จากเด็กนักเรียนที่เข้ารับการตรวจคัดกรองจำนวนทั้งสิ้น 542,820 คน ซึ่งเป็นเด็กนักเรียนประถมศึกษาในปี พ.ศ. 2553 ในจังหวัดที่มีบุคลการทางสาธารณสุขเข้าร่วมโครงการอบรม คิดเป็นอัตราชุกของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เท่ากับ 0.41:1,000 ราย สำหรับบุคลากรทางสาธารณสุขที่เข้ารับการอบรม พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติงานที่สถานีอนามัย และมีประสบการณ์ทางด้านสาธารณสุขเฉลี่ย 15.7 ปี เมื่อทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนทักษะการตรวจคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดก่อนและหลังเข้ารับการอบรม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p-value < .001)</p><p>จากผลการศึกษาจะเห็นว่าอัตราชุกของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดค่อนข้างต่ำ อาจเนื่องจากเกือบ 1 ใน 4 ของเด็กนักเรียนที่ผ่านการตรวจคัดกรองไม่มารับการตรวจยืนยันการคัดกรองตามแพทย์นัด ซึ่งเด็กเหล่านี้อาจจะเป็นหรือไม่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ในขณะที่สัดส่วนของผู้ตรวจคัดกรองต่อผู้เข้ารับการตรวจคัดกรอง เท่ากับ 1: 345 ถือเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง อาจส่งผลให้การตรวจคัดกรองเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงและด้อยประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการศึกษานี้น่าจะแสดงให้เห็นว่าการอบรมพัฒนาทักษะการตรวจคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็กครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากบุคลากรทางสาธารณสุขที่เข้ารับการอบรมเกือบทั้งหมดประเมินคะแนนทักษะการตรวจคัดกรองโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดของตนเองเพิ่มขึ้นภายหลังการเข้ารับการอบรม</p><p> </p><p align="center"><strong>PREVALENCE OF CONGENITAL HEART DISEASES (CHD) AMONG ELEMENTARY SCHOOL STUDENTS IN THAILAND AND THE CAPACITY SELF-ASSESSMENT FOR CHILDREN WITH CHD SCREENING</strong></p><p>This study was a descriptive study aimed to explore prevalence of congenital heart diseases (CHD) among elementary school students in Thailand and to compare a capacity self-assessment for children with heart disease screening before and after training. The secondary data and retrospective data of 1,572 health care providers who were trained on CHD screening were conducted using questionnaire.</p><p>The study was found that 225 out of 542,820 children had CHD. They were studying in elementary school in the year of 2010 located in the provinces where health care providers participated in training program. The prevalence rate of CHD was 0.41 per 1,000 children. In terms of training on CHD screening, the study was found that most participants of training were females, nurses, and most of them worked at health care centres. Also, they had experiences in public health field approximately 15.7 years. With regard to the comparison of capacity self-assessment, there was statistical difference between before and after with confidence level of 95% (P-value < 0.001)</p><p>The results indicated that the prevalence rate of CHD was slightly low. Due to this rate, one fourth of elementary school students who were screened by trained health care providers did not participate in confirmed diagnosis by pediatricians, and they might or might not have CHD. On the other hand, the proportion between trained health care providers and the students was slightly high (1:345). This proportion might affect the screening coverage and led to degradation of screening. However, this study demonstrated that the training on capacity self-assessment for children with CHD screening was successful according to the mean scores after training which were higher than those before training.</p><p style="text-align: left;" align="center"><strong><br /></strong></p>}, number={2}, journal={Journal of Public Health Nursing}, author={อึ้งอุดรภักดี พีรญา and เตชาติวัฒน์ ภูดิท and พงษ์พาณิชย์ บุญชอบ}, year={2016}, month={Aug.}, pages={1–18} }