@article{อินวันนา_จิระพงษ์สุวรรณ_กลัมพากร_2016, title={ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากฝุ่นของคนงานโรงสีข้าวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง}, volume={29}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48545}, abstractNote={<p class="Default">การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากฝุ่นของ คนงานโรงสีข้าว กลุ่มตัวอย่างเป็นคนงานโรงสีข้าว ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 146 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยประยุกต์ขึ้นตามกรอบแนวคิด PRECEDE-PROCEED ได้แก่ แบบวัดความรู้ในการป้องกันฝุ่น ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ โดยใช้สูตร KR – 20 ได้ 0.74 สำหรับแบบวัดการรับรู้ แบบวัดปัจจัยเอื้อ แบบวัด ปัจจัยเสริม และแบบวัดพฤติกรรมการป้องกันฝุ่น ใช้การวิเคราะห์ความสอดคล้องภายใน ของ Cronbach’s Coefficient Alpha ได้ 0.82, 0.79, 0.93 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p><p class="Default">ผลการวิจัยพบว่า คนงานโรงสีข้าวส่วนมากมีอายุระหว่าง 31 - 40 ปี จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มากที่สุด ร้อยละ 43.8 สูบบุหรี่ ร้อยละ 30.1 มีพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากฝุ่นระดับปานกลาง โดยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายฝุ่นของคนงานโรงสีข้าว (p-value < .05) ประกอบด้วย ปัจจัยด้านคุณลักษณะประชากร ได้แก่ ระดับการศึกษา ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ในการป้องกันอันตรายจากฝุ่น การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดอันตรายจากฝุ่น การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการเกิดอันตรายจากฝุ่น การรับรู้ อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากฝุ่น และชนิดของเครื่องจักรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันอันตรายจากฝุ่นของคนงานโรงสีข้าว ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพ ปัจจัยเสริม ได้แก่การสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนร่วมงาน นายจ้าง และบุคลากรทาง สาธารณสุข ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า การสนับสนุนทางสังคมจากนายจ้าง การจัดให้มีข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพ และระดับการศึกษา สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากฝุ่นของ คนงานโรงสีข้าวได้ร้อยละ 38.9</p><p class="Default">จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการสนับสนุนทางสังคมจากนายจ้าง โดยการจัดให้มีข้อมูลข่าวสาร ทางสุขภาพ เช่น โรงสีข้าวจัดป้ายให้ความรู้ มีหนังสือ หรือแผ่นพับ โดยเน้นในกลุ่มผู้ที่มีการศึกษาน้อย เพื่อส่งเสริม ให้คนงานโรงสีข้าวมีการทำงานอย่างปลอดภัย อันจะส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p><p class="Default"> </p><p><strong>PREDICTIVE FACTORS OF PREVENTIVE BEHAVIORS TOWARD DUST AMONG RICE MILL WORKERS IN LOWER NORTHEAST REGION OF THAILAND</strong></p><p>This cross - sectional study aimed to examine factors associated with preventive behaviors toward dust among rice mill workers. Through cluster random sampling, samples included 146 rice mill workers. Data were collected by interview using the questionnaires based on PRECEDE-PROCEED Framework including questionnaire for knowledge about dust prevention was calculated by kr-20, resulting in the value of 0.74. for questionnaire for perception, enabling factors, reinforcing factors, and dust preventive behaviors were analyzed for its internal consistency by Cronbach’s Coefficient Alpha, resulting in the values of 0.82, 0.79, 0.93, and 0.86, respectively. Pearson’s product moment correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis were used.</p><p>Results demonstrated that most of the samples aged between 31–40 years old, completed primary education (43.8 %), and 30.1% of the samples smoke. About half of the respondents had the moderate level preventive behaviors toward dust. It was also found that factors associated with preventive behaviors toward dust (p-value < .05) were; demographic factors (i.e., level of education), predisposing factors (i.e., knowledge about hazard from dust, perceived severity of dust exposure, perceived benefits of preventive behaviors toward dust, perceived barriers of preventive behaviors toward dust and type of machine), enabling factors (i.e.,work environment and providing health information), reinforcing factors (i.e., social support from coworkers, employers and healthcare providers). Multiple regression analysis revealed that social support from employers, providing health information, and education level explained 38.9% of variance preventive behaviors toward dust.</p><p>The findings suggest that social support for preventive behaviors toward dust from employers should be enhanced. Health information should also be provided through boards, books, pamphlets, especially for those with less education to promote work safety resulting in quality of life among rice mill workers.</p>}, number={2}, journal={Journal of Public Health Nursing}, author={อินวันนา บุณฑริกา and จิระพงษ์สุวรรณ แอนน์ and กลัมพากร สุรินธร}, year={2016}, month={Feb.}, pages={15–28} }