@article{คล้ายสุข_เปียซื่อ_ธัญจิรา_ผาติประจักษ์_2016, title={ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการเตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วมของประชาชน ตำบลป่าตาล อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี}, volume={28}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48363}, abstractNote={<p>น้ำท่วมเป็นสาธารณภัยที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้เรื่องการ เตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วม ทัศนคติต่อการเตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วมและพฤติกรรมการเตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วม ของประชาชน และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องการเตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วม ทัศนคติต่อการ เตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วมและพฤติกรรมการเตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วมของประชาชน ตําบลป่าตาล อําเภอเมือง จังหวัดลพบุรีกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตําบลป่าตาล อําเภอเมือง จังหวัดลพบุรีจํานวน 200 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบบรรยายและสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ ของสเปียร์แมน</p><p>ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการเตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วม ทัศนคติต่อการ เตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วมและพฤติกรรมการเตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วมคิดเป็นร้อยละ 82.7, 71.8 และ 59.5 ของ คะแนนรวม ตามลําดับ โดยพบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านผลกระทบต่อสุขภาพและการจัดการเพื่อลดผลกระทบ ด้านสุขภาพค่อนข้างน้อยและมีพฤติกรรมในการเตรียมพร้อมเพื่อจัดการกับผลกระทบด้านสุขภาพไม่ดีผลการศึกษา ความสัมพันธ์พบว่า พฤติกรรมการเตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วมมีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องการเตรียมพร้อมรับภัย น้ำท่วม (r = 0.263, p-value < .01) และทัศนคติต่อการเตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = 0.154, p-value < .05) ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะในการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการเตรียมพร้อมรับภัยนํ้าท่วม โดยเฉพาะด้านผลกระทบต่อสุขภาพและการจัดการเพื่อลดผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมใน การเตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วมเพื่อป้องกันและลดผลกระทบด้านสุขภาพได้อย่างเหมาะสมอีกทั้งควรมีการส่งเสริมให้ ประชาชนเห็นประโยชน์ของการจัดเตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ยาประจําตัวและเตรียมป้องกันความเสียหายของ ทรัพย์สินที่อาจเกิดขึ้นจากภัยน้ำท่วมได้</p><p> </p><p><strong>ASSOCIATION OF KNOWLEDGE, ATTITUDE, AND FLOOD PREPAREDNESS BEHAVIORS AMONG PEOPLE IN PATAL SUBDISTRICT, MUANG DISTRICT, LOPBURI PROVINCE</strong></p><p>This descriptive correlational research aimed to describe knowledge, attitude, and behavior regarding flood preparedness, and examine correlation of the knowledge, attitude, and behavior on flood preparedness in community dwellers. Sample included 200 people residing in Patal subdistrict, Muang district, Lopburi province. Data were collected by interview from questionnaire and were then analyzed by descriptive statistics and Spearman correlation.</p>Results revealed that the score for knowledge, attitude, and behavior were at average of 82.7%, 71.8%, and 59,5%, respectively. The knowledge on health effect and management for reducing health effect were rather low. The flood preparedness behavior was found to be correlated with knowledge (r = 0.263, p-value < .01) and attitude (r = 0.154, p-value < .05). Results suggested that knowledge should be provided by addressing health effect and management so that people have appropriate flood preparedness behavior.}, number={3}, journal={Journal of Public Health Nursing}, author={คล้ายสุข อังศณา and เปียซื่อ นพวรรณ and ธัญจิรา สุดาพรรณ and ผาติประจักษ์ สุภามาศ}, year={2016}, month={Feb.}, pages={41–55} }