@article{ศรีหมื่นไวย_เอื้อมณีกูล_ลาภวงศ์วัฒนา_เผ่าวัฒนา_2017, title={ผลของโปรแกรมการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก}, volume={31}, url={https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/105023}, abstractNote={<p>เด็กก่อนวัยเรียน เป็นวัยพื้นฐานสำคัญ ซึ่งพบว่าเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ ได้รับการดูแลโดยครูผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาครูผู้แลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 60 คน ที่ได้รับการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบ่งเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน มีระยะเวลา 7 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองของแบนดูรา เป็นกิจกรรมเสริมความรู้ผ่านการสอน การบรรยาย อภิปรายกลุ่ม และการนำเสนอตัวแบบ โดยจัดกิจกรรม 2 สัปดาห์ ติดตามเยี่ยม 1 สัปดาห์ และติดตามผลอีก 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนของครูผู้ดูแลเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Repeated Measures one way ANOVA และ Independent t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05</p> <p>            ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนของครูผู้ดูแลเด็กสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) ส่วนพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนของครูผู้ดูแลเด็ก พบว่าภายในกลุ่มไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001)</p> <p>            จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การจัดโปรแกรมการพัฒนาครูผู้แลเด็ก สามารถช่วยพัฒนาความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนของครูผู้ดูแลเด็กได้ โดยพยาบาลสาธารณสุข สามารถนำไปเป็นแนวทางในการให้ความรู้ นิเทศ ติดตามการดำเนินกิจกรรมของครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน </p> <p><strong>The Effects of Teacher Development Program for Child Development among Preschool Children In Child Care Centers </strong></p> <p>quasi-experimental research is designed to study the effect of child care teacher developmental program for promoting child development among preschool children in child ca people had been sampling by simple random sampling method and assigned into an experim child care centers visiting and follow- -administered question on personal characteristics, knowledge, self-efficacy and behavioral preschool children development capacity among teachers in way ANOVA and Independent t-test, with p- he study results revealed that after experiment and follow-up, the experimental group showed significantly higher scores of knowledge and self-efficacy in promoting the development of preschool children than prior to experimentation and higher than those of - -value effects of teacher development program could develop knowledge, self-efficacy of the development of preschool children teachers in child care supervision and monitoring for</p>}, number={2}, journal={Journal of Public Health Nursing}, author={ศรีหมื่นไวย ประดับ and เอื้อมณีกูล นฤมล and ลาภวงศ์วัฒนา ปัญญรัตน์ and เผ่าวัฒนา อาภาพร}, year={2017}, month={Dec.}, pages={127–144} }