วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck <p><strong>วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี</strong></p> <p><strong>ISSN 2985-0150 (Online) </strong></p> <p> </p> <p> </p> th-TH <p>เนื้อหาและข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความโดยตรง บทความ เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารนี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารฯ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องอ้างอิงวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี ทุกครั้ง</p> [email protected] (อ.ดร.จุไรรัตน์ ดวงจันทร์) [email protected] (อ.ดร.จินตนา ทองเพชร) Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนในสถานอนามัยเด็กกลาง จังหวัดนนทบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/266626 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสถานพัฒนาเด็กเล็ก การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ขั้นเตรียมการ และพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแบบมีส่วนร่วม 2) การลงมือปฏิบัติ และ 3) การประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มผู้ให้บริการ คือ ผู้บริหาร ครู และทันตแพทย์ จำนวน 18 คน กลุ่มผู้รับบริการ คือ คู่ผู้ปกครองและเด็ก จำนวน 87 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกการตรวจฟันและคราบจุลินทรีย์ในเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การพัฒนาศักยภาพครูและผู้ปกครอง 2) การกระตุ้นพฤติกรรมและให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ 3) การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการแปรงฟัน และ 4) การพัฒนาระบบคัดกรองฟันผุและส่งต่อเพื่อรับการรักษา การประเมินผลลัพธ์การส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยการสังเกต การสัมภาษณ์ครูและผู้ปกครองพบว่า มีความตระหนักและมีทักษะในการดูแลสุขภาพฟันของเด็กที่ดีขึ้น ครูสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ให้เด็กได้ และจำนวนฟันผุและคราบจุลินทรีย์ในช่องปากของเด็กภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> <p>รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้น สามารถใช้ในการดำเนินกิจกรรมแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปาก และพัฒนาเป็นต้นแบบไปสู่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในพื้นที่อื่นได้</p> สิทธิเดช สุขแสง, อารยา เชียงของ, สุภาวิตา ภคเอกภัทร Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/266626 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจในกลุ่มวัยทำงาน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/266291 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความรอบรู้เรื่องโรคหลอดเลือดหัวใจของประชากรกลุ่มวัยทำงาน เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจกลุ่มวัยแรงงานอาศัยอยู่ในชุมชนจังหวัดนครปฐม จำนวน 153 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณลักษณะส่วนบุคคล และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับ เท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (<em>M</em> = 97.75, <em>SD</em> = 19.22) และด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (<em>M</em> = 13.29, <em>SD</em> = 4.38) การวิเคราะห์สมการถดถอย พบว่า รายได้ของครอบครัว จำนวนปีที่เรียน อายุ สถานภาพสมรส จำนวนสมาชิกในครอบครัว และ จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป สามารถร่วมกันทำนายความรอบรู้ด้านสุขภาพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>F</em> = 10.16, <em>p</em> &lt;.001) โดยร่วมกันทำนายได้ ร้อยละ 30</p> <p>พยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ควรพัฒนาแนวปฏิบัติในการส่งเสริมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล</p> วันเพ็ญ แวววีรคุปต์, ทัศนีย์ ตริศายลักษณ์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/266291 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ ต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา และระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดซีดีโฟร์ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดสมุทรสาคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/267966 <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา และระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดซีดีโฟร์ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าติดเชื้อไวรัสเอชไอวีรายใหม่ที่มารับบริการที่คลินิกรับยาต้านไวรัส โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดสมุทรสาคร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ที่พัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคของโรเจอร์ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .98 และ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติการทดสอบที การทดสอบวิลคอกซัน และแมน–วิทนีย์ ยู</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความร่วมมือในการรักษา และระดับเม็ดเลือดขาวชนิดซีดีโฟร์ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</p> <p>บุคลากรทางการแพทย์ควรนำโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์รายใหม่ของโรงพยาบาล หรือนำไปใช้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา หรือมารับการรักษาล่าช้า</p> ศศธร ศรีคำ, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/267966 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/266608 <p>การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรอบรู้ทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในชุมชนพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหญ้าปล้อง ในปี พ.ศ.2566 จาก 3 หมู่บ้าน จำนวน 120 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพและแบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .91 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ทางสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง (<em>M</em> = 60.46, <em>SD</em> = 10.52) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง (<em>M</em> = 93.35, <em>SD</em> = 10.56) ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมและผู้สูงอายุที่ไม่ได้เป็นสมาชิกชมรม มีความรอบรู้ทางสุขภาพ และคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน (x<sup>2</sup> = 1.25, .68, <em>p</em> &gt; .05) ความรอบรู้ทางสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>r</em> = .49, <em>p</em> &lt; .001)</p> <p>ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพในด้านทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ</p> ยุทธนา เก้าลิ้ม, อังสินี กันสุขเจริญ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/266608 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นการฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก ต่อความรู้ ทักษะทางการพยาบาล และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/261772 <p>การเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติมีความสำคัญต่อนักศึกษาพยาบาล เพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ พัฒนาทักษะทางการพยาบาล และส่งเสริมให้เกิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การวิจัยกึ่งทดลองวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก ต่อความรู้ ทักษะทางการพยาบาลและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 จำนวน 70 คน คัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ในการฝึกปฏิบัติ แบบประเมินทักษะทางการพยาบาล และแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบวิลคอกซัน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ นักศึกษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทักษะทางการพยาบาล และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน สูงกว่าก่อนทดลอง (<em>Z</em> = 7.29, 7.27 และ 6.61 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt;.001)</p> <p>จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติในหอผู้ป่วยวิกฤตทารกและเด็ก เพื่อเพิ่มความรู้ พัฒนาทักษะทางการพยาบาลและส่งเสริมให้นักศึกษารับรู้สมรรถนะแห่งตน</p> รัสวรรณ แสนคำหมื่น , ชนิกานต์ เกษมราช, วิรัลพัชร สกุลสันติพร เศลล์, สมรัก ครองยุทธ, วิศริยาพรรณ สืบศิรินุกูล, กตกร ประสารวรณ์, เรืองฤทธิ์ โทรพันธ์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/261772 Thu, 11 Apr 2024 00:00:00 +0700 อัตรารอดชีพของผู้บาดเจ็บภาวะคุกคามชีวิต ที่นำส่งโดยชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูงของหน่วยแพทย์กู้ชีวิต https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/267545 <p>การวิจัยแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตรารอดชีพของผู้บาดเจ็บภาวะคุกคามชีวิตที่นำส่งโดยชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูงของหน่วยแพทย์กู้ชีวิต โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บาดเจ็บที่มีภาวะคุกคามชีวิต จำนวน 146 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้บาดเจ็บจากแบบบันทึกปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง ศูนย์เอราวันกรุงเทพมหานคร และฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ.2562-31 ธันวาคม พ.ศ.2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตการวิเคราะห์อัตรารอดชีพ ผลการศึกษาพบว่า</p> <p>1. ผู้บาดเจ็บรอดชีพ จำนวน 107 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีค่ามัธยฐานของอายุ เท่ากับ 39 ปี วิเคราะห์อัตรารอดชีพในระยะติดตามตลอดการศึกษา 180 วัน โดยวิธี Kaplan-Meier พบว่าอัตรารอดชีพ 30, 60, 90 และ 120 วัน เท่ากับร้อยละ 63.06 และอัตรารอดชีพ 150 และ 180 วัน เท่ากับร้อยละ 31.53 มีค่ามัธยฐานของระยะเวลารอดชีพเท่ากับ 120.79 วัน (95% CI: 65.20 - 176.38)</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรอดชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนี้ 1) คุณลักษณะ และอาการทางคลินิกของผู้บาดเจ็บ ได้แก่ คะแนนกลาสโกว์ โคมา สเกล การตอบสนองต่อแสงของรูม่านตา ขนาดของรูม่านตาทั้งสองข้าง ความดันโลหิตซิสโตลิก ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือด คะแนนความรุนแรงของการบาดเจ็บ ระดับความฉุกเฉินวิกฤต และความเข้มข้นเม็ดเลือดแดง 2) กระบวนการดูแลก่อนถึงโรงพยาบาล ได้แก่ เวลาการตอบสนองเหตุ เวลารักษา ณ จุดเกิดเหตุ เวลาตั้งแต่รับแจ้งเหตุจนถึงนำส่งโรงพยาบาล การจัดการทางเดินหายใจ การใส่เฝือกดามคอ และ 3) กระบวนการรักษาในโรงพยาบาล ได้แก่ การกระตุ้นช่องทางด่วนอุบัติเหตุ การได้รับเลือด และส่วนประกอบของเลือดปริมาณมาก การได้รับกรดทรานเอกซามิก และการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก</span></p> <p>บุคลากรทางสุขภาพสามารถนำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรอดชีพไปพัฒนาการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งในและนอกโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มอัตรารอดชีพแก่ผู้รับบริการ</p> อัศนัย แจ่มจันทร์, อารยา เชียงของ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/267545 Mon, 15 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบริการพยาบาลผู้คลอดความดันโลหิตสูงในภาวะวิกฤต กลุ่มงานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/264111 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้คลอดความดันโลหิตสูงในภาวะวิกฤต กลุ่มงานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์บริการพยาบาลผู้คลอดความดันโลหิตสูงในภาวะวิกฤต 2) พัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้คลอด 3 วงล้อ ตามแนวคิดกระบวนการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานเฉพาะโรค/ เฉพาะระบบของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และ 3) ประเมินผลลัพธ์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ งานห้องคลอด โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาและโรงพยาบาลเครือข่าย จำนวน 30 คน และผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรู้ และแบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลผู้คลอดความดันโลหิตสูงในภาวะวิกฤต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ระบบบริการพยาบาลผู้คลอดความดันโลหิตสูงในภาวะวิกฤต ประกอบด้วย 1) กระบวนการดูแลผู้คลอดความดันโลหิตสูงในภาวะวิกฤต 2) แนวทางการประเมินความเสี่ยง/ ความรุนแรง 3) แนวทางบริหารยาแมกนีเซียมซัลเฟต 4) การจัดระบบการรับ-ส่งต่อแบบไร้รอยต่อ และ 5) การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลห้องคลอดตามแนวคิดการโค้ช ผลลัพธ์การนำระบบบริการพยาบาลผู้คลอดความดันโลหิตสูงในภาวะวิกฤตไปใช้ พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ และสมรรถนะเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> &lt; .01) และไม่พบอุบัติการณ์หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ชักขณะนำส่ง/ ส่งต่อจากโรงพยาบาลเครือข่าย ชักขณะนำส่งมาห้องคลอด ผู้คลอดย้ายเข้าไอซียูโดยไม่ได้วางแผน และการช่วยฟื้นคืนชีพโดยไม่ได้วางแผน</p> <p>การพัฒนาบริการพยาบาลผู้คลอดความดันโลหิตสูงในภาวะวิกฤต จำเป็นต้องมีการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลตามแนวคิดการโค้ช ช่วยให้พยาบาลที่มีประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน มีความมั่นใจสามารถให้การพยาบาลได้เป็นอย่างดี ช่วยลดอุบัติการณ์ ความเสี่ยงที่ไม่พึงประสงค์ได้</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> สายชล พฤกษ์ขจร, พรพิมล พลอยประเสริฐ, สมคิด ตรีราภี, สาวิตรี แจ่มถาวร, จิรวรรณ โชติวิชชา Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/264111 Mon, 15 Apr 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ประสบการณ์การหกล้ม ระยะเวลาเจ็บป่วย และภาวะซึมเศร้า กับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/266650 <p>การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความกลัวการหกล้มและความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ประสบการณ์การหกล้ม ระยะเวลาเจ็บป่วย และภาวะซึมเศร้ากับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันที่มาตรวจตามนัดที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี จำนวน 133 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบประเมินความกลัวการหกล้ม ซึ่งค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .85 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุโรคพาร์กินสันมีความกลัวการหกล้มอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 98.50 (<em>M </em>= 46.51, <em>SD</em> = 7.08) ภาวะซึมเศร้า ประสบการณ์การหกล้ม ระยะเวลาเจ็บป่วย และอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (<em>r</em> = .57, 52, 48 และ .40 ตามลำดับ)</p> <p>บุคคลากรทางด้านสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยไปพัฒนาโปรแกรมในการส่งเสริมความมั่นใจในตนเอง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม และลดความกลัวการหกล้มในผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน</p> คมกริช สุทธศรี, ลลิดา ปักเขมายัง, รุ่งจิต ตามสีวัน Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/266650 Tue, 16 Apr 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดฝุ่นหิน ของพนักงานโรงงานแต่งแร่ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/266745 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดฝุ่นหิน และ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ตามความเชื่อด้านสุขภาพโรคปอดฝุ่นหินกับพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดฝุ่นหินของพนักงานโรงงานแต่งแร่ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานในโรงงานแต่งแร่ 3 แห่ง จำนวน 86 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้ตามความเชื่อด้านสุขภาพโรคปอดฝุ่นหิน และแบบวัดระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดฝุ่นหิน เครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .91 และ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. พนักงานโรงงานแต่งแร่ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม มีระยะเวลาการทำงานเฉลี่ย 3.78 ปี (</span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 1.25) จำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาต่อสัปดาห์ 7.63 ชั่วโมง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 2.61) พฤติกรรมการป้องกันโรคปอดฝุ่นหินของพนักงานในโรงงานแต่งแร่โดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> =2.71, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .89) และการรับรู้ตามความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 3.05, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .55)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ระยะเวลาการทำงานและจำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาต่อสัปดาห์ มีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดฝุ่นหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">r </em><span style="font-size: 0.875rem;">= -.33, -.39) การรับรู้ตามความเชื่อด้านสุขภาพในด้านการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการปฏิบัติ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">r</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .47) การรับรู้ความรุนแรงของโรคปอดฝุ่นหิน และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดฝุ่นหินมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันโรคปอดฝุ่นหิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">r</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .33, .31 ตามลำดับ)</span></p> <p>ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการควรทำแผนการฝึกอบรมพนักงานให้ทราบถึงประโยชน์และอุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคปอดฝุ่นหิน ความรุนแรงของโรคปอดฝุ่นหิน และโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดฝุ่นหิน เพื่อความปลอดภัยจากโรคปอดฝุ่นหิน</p> กรรณิกา สุวัตถิกุล Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/266745 Thu, 18 Apr 2024 00:00:00 +0700