https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/issue/feed
วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
2024-08-19T00:00:00+07:00
อ.ดร.จุไรรัตน์ ดวงจันทร์
journal@pckpb.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี</strong></p> <p><strong>ISSN 2985-0150 (Online) </strong></p> <p> </p> <p> </p>
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/271150
บทบาทพยาบาลกับการสื่อสารด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย
2024-06-11T11:53:56+07:00
ณัฐยา เชิงฉลาด ชูพรม
natthaya.cc.work@gmail.com
ทัศนีย์ ตริศายลักษณ์
thasanee@webmail.npru.ac.th
ณัฐธยาน์ อังคประเสริฐกุล
an.nuttaya@webmail.npru.ac.th
วาร์ธินีย์ แสนยศ
vatinee@webmail.npru.ac.th
<p>บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ทักษะสื่อสารสุขภาพเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพของเด็กปฐมวัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการวางรากฐานสำหรับการพัฒนาให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าเป็นพลเมืองคุณภาพของประเทศไทย สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2566-2559 ที่มีเป้าหมายให้เด็กและเยาวชนได้รับโอกาสและการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ทั้งด้านสุขภาวะร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการ เนื่องจากการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยส่งผลต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต</p> <p>ปัญหาสุขภาพของเด็กปฐมวัยที่พบบ่อย ได้แก่ พัฒนาการล่าช้า ภาวะทุพโภชนาการ ปัญหาฟันผุ โรคติดต่อ และด้านความปลอดภัยและการได้รับอุบัติเหตุ การดำเนินงานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีความเชื่อมโยงกับหลายหน่วยงาน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะครอบครัวและชุมชนในการบูรณาการดำเนินงานร่วมกัน พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพมีบทบาทสำคัญในการใช้การสื่อสารด้านสุขภาพตามบริบทของชุมชน ตามประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิตของชุมชนเป็นเครื่องมือ กลไก และสื่อกลางในการนำข้อมูลการสร้างเสริมสุขภาพของเด็กปฐมวัยไปสู่ครอบครัวและชุมชน รวมถึงภาคีเครือข่ายสุขภาพที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจ เกิดความร่วมมือ และเกิดการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและยั่งยืนในการดูแลสุขภาพของเด็กปฐมวัยในพื้นที่ต่อไป</p>
2024-08-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/267097
ประสบการณ์ของญาติด้านความปลอดภัยผู้ป่วยที่มารับบริการและการส่งต่อ ของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งจังหวัดสุรินทร์
2024-06-29T14:53:32+07:00
จิรพงษ์ สายบุตร
jirapong3289@gmail.com
บุญทิพย์ สิริธรังศรี
boontip@gmail.com
จารุวรรณ ธาดาเดช
charuwan.tad@mahidol.ac.th
<p>การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสบการณ์ของญาติด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยที่มารับบริการและการส่งต่อผู้ป่วย และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลด้านความปลอดภัยและส่งต่อผู้ป่วยของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ ผู้ให้ข้อมูล คือ ญาติผู้ป่วยที่ไปกับรถพยาบาล จำนวน 10 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ญาติของผู้ป่วยที่ยังมีชีวิตอยู่ 6 คน และญาติของผู้ป่วยเสียชีวิต 4 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับประสบการณ์ด้านความปลอดภัยของผู้รับบริการที่ได้รับการส่งต่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ประสบการณ์ของญาติด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยที่มารับบริการและการส่งต่อผู้ป่วย แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ก่อนการส่งต่อ ญาติได้รับข้อมูลเพียงพอ ทั้งเหตุผล และการเตรียมตัวในการส่งต่อ 2) ขณะการส่งต่อ ความพร้อมและความปลอดภัยในการส่งต่อ พบว่า ญาติมีความพึงใจในอุปกรณ์และพนักงานขับรถ พยาบาลที่ให้การดูแล และ 3) หลังการส่งต่อ ญาติรับทราบขั้นตอนการเตรียมตัวภายหลังการส่งต่อ ได้รับการดูแล และการให้บริการโดยเฉพาะพยาบาลหลังการส่งต่อเป็นไปตามที่คาดหวัง</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลตามรูปแบบของโดนาบีเดียน ประกอบด้วย 3 มิติ ได้แก่ 1) โครงสร้าง มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน โดยเฉพาะจำนวนพยาบาลที่ไปกับรถพยาบาล 2) กระบวนการ มีการเน้นย้ำให้ผู้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยและส่งต่อ และ 3) ผลลัพธ์ คือ ความปลอดภัยและความพึงพอใจของญาติและผู้ป่วย รวมทั้ง ลดความเสี่ยงด้านการฟ้องร้องโรงพยาบาล</span></p> <p>การดำเนินการด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยที่มารับบริการและการส่งต่อผู้ป่วยในระยะก่อนการส่งต่อ ขณะการส่งต่อ และหลังการส่งต่อ สิ่งสำคัญ คือ การทำความเข้าใจกับญาติแต่ละขั้นตอนเพื่อลดความวิตกกังวลและการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล</p>
2024-08-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/266177
การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลัน ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
2023-11-28T07:35:48+07:00
บุปผา ไตรวุฒานนท์
bubphaflower.ksc@gmail.com
นิศมา ภุชคนิตย์
nissamapoochakhanit@gmail.com
<p>การวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลัน ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี และประเมินผลของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 12 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในกลุ่มหลอดเลือดสมองตีบตันแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบวัดความรู้และทักษะเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันของพยาบาลวิชาชีพ มีค่าความเชื่อมั่นคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ .75 และ.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลัน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ประกอบด้วย 1) คัดกรองเข้าช่องทางด่วน 2) ประเมินและวินิจฉัย 3) การพยาบาลเบื้องต้นและเฉพาะเจาะจง 4) การเรียกทีมช่วยเหลือ 5) เตรียมการส่งต่อทางทะเลและทางบก 6) เข้าระบบดูแลผู้ป่วยแบบเคลื่อนที่ และ7) ติดตามผลหลังส่งต่อ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. </span><span style="font-size: 0.875rem;">พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลัน หลังการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลัน เพิ่มสูงขึ้น มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 3.49, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .032; </span><em style="font-size: 0.875rem;">t </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 5.16, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p</em><span style="font-size: 0.875rem;"> <.001)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลัน มีระยะเวลาในการเข้าถึงหน่วยเคลื่อนที่สำหรับรักษาโรคหลอดเลือดสมอง และระยะเวลาในการเข้าถึงการรักษาโรคหลอดเลือดสมองแบบเร่งด่วน ภายหลังการทดลองใช้รูปแบบ เร็วกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 1.30, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .003; </span><em style="font-size: 0.875rem;">t</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 1.13, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p</em><span style="font-size: 0.875rem;"> < .001)</span></p> <p>ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลันที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้พัฒนาประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันระยะเฉียบพลันส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ปลอดภัยและผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมาย</p>
2024-08-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/270484
ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในยุควิถีใหม่ของสตรีกลุ่มเสี่ยง
2024-05-16T10:09:51+07:00
ชุติมา ทองบ้านทุ่ม
chutimathongbantum@gmail.com
กนกพร นทีธนสมบัติ
nkanokporn@hotmail.com
ชฎาภา ประเสริฐทรง
chadapa@yahoo.com
<p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในยุควิถีใหม่ของสตรีกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีกลุ่มเสี่ยงซึ่งไม่เคยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกภายใน 2 ปี มีอายุระหว่าง 30-60 ปี ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโนนเหม่า จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และแบบสอบถามความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก ทัศนคติ การตัดสินใจและการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีค่าดัชนีความสอดคล้องข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ .95 และสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า สตรีกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก ทัศนคติในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (<em>t</em> = 6.12, <em>p</em> < .001) และเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 100.00) ในขณะที่กลุ่มควบคุมเข้ารับบริการเพียงร้อยละ 33.33</p> <p>ผลการวิจัยช้ให้เห็นว่า พยาบาลและบุคลากรด้านสุขภาพ ควรนำโปรแกรมส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในยุควิถีใหม่ไปใช้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงในความรับผิดชอบ โดยควรมุ่งเน้นการให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนทัศนคติเชิงบวก เพื่อสนับสนุนการวัดการตัดสินใจเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก</p>
2024-08-19T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/271535
ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ สำหรับมารดาหลังคลอด เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี
2024-06-10T13:35:49+07:00
ศิริวดี ชุ่มจิต
siriwadeechumjit@gmail.com
<p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพสำหรับมารดาหลังคลอด ต่อความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอด ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 46 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพสำหรับมารดาหลังคลอด เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของทารกแรกเกิด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบที</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองภายหลังเข้าโปรแกรม มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพในการดูแลทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเพิ่มขึ้น (<em>M</em> = 77.52, <em>SD</em> = 4.03) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (<em>M</em> = 65.98, <em>SD</em> = 2.34) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (<em>M</em> = 65.78, <em>SD</em> = 3.56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em> = 20.27, 14.80; <em>p</em> < .01) และมีพฤติกรรมการดูแลทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเพิ่มขึ้น (<em>M</em> = 4.63, <em>SD</em> = 0.35) สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรม (<em>M</em> = 3.35, <em>SD</em> = .28) และสูงกว่ากลุ่มควบคุม (<em>M</em> = 3.32, <em>SD</em> = .15) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em> = 17.64, 24.09; <em>p</em> < .01) </p> <p>ควรเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ให้มารดาหลังคลอด เพื่อสามารถนำไปป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของทารกแรกเกิดได้อย่างเหมาะสม</p>
2024-08-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/271149
พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของรัฐ
2024-07-15T09:11:02+07:00
สุรางค์ เชื้อวณิชชากร
surang.ch@ssru.ac.th
พูนสุข ช่วยทอง
poonsook.sh@ssru.ac.th
<p>การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านชีวสังคม และด้านจิตวิทยา กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลในมหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลในมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 260 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความสุข และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .95, .93, และ .90 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .83 .89 และ .77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ระดับปานกลาง (<em>M</em> = 79.63,<em> SD</em> = 9.93) มีความสุขในระดับสูง (<em>M</em> = 4.45, <em>SD </em>= .52) และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง (<em>M </em>= 84.9, <em>SD</em> = 10.37) ปัจจัยด้านชีวสังคม ได้แก่ ดัชนีมวลกาย และความพอเพียงของค่าใช้จ่ายต่อเดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (x<em><sup>2</sup></em><em> =</em> 11.55, 16.90;<em> p</em> < .05) ปัจจัยด้านจิตวิทยา ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และความสุข มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (<em>r</em> = .18, และ .27 ตามลำดับ)</p> <p>ผู้บริหารสถาบันการศึกษาด้านพยาบาลศาสตร์ และผู้เกี่ยวข้อง ควรมีนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้ง การออกแบบกิจกรรมการสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และความสุขให้แก่นักศึกษาพยาบาล</p>
2024-08-23T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/267752
ผลของโปรแกรมการจัดการความรู้ต่อพฤติกรรมการให้คำปรึกษา เรื่อง การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ช่วงหลังของการระบาดทั่วโลกของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดนครปฐม
2024-01-23T09:08:42+07:00
ปุณปวีร์ กิตติกุล
kunnoknommae@gmail.com
ดวงพร ผาสุวรรณ
duangporn@webmail.npru.ac.th
วันเพ็ญ แวววีรคุปต์
wanpenw@webmail.npru.ac.th
<p>การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความรู้ต่อระดับพฤติกรรมพฤติกรรมการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ช่วงหลังของการระบาดทั่วโลกของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่เข้าฝึกปฏิบัติในหน่วยบริการด้านการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดการความรู้ด้านการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบวัดระดับพฤติกรรมการให้คำปรึกษา มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .86 และหาความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. นักศึกษาพยาบาลศาสตร์กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการให้คำปรึกษาหลังทดลอง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 3.63, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .67) มากกว่าก่อนทดลอง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 2.72, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .64) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 6.93, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p</em><span style="font-size: 0.875rem;"> < .001)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ระหว่างกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา ภายหลังใช้โปรแกรมการจัดการความรู้ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 3.63, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .67) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 2.72, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .64) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 6.92, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p</em><span style="font-size: 0.875rem;"> < .001)</span></p> <p>ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมการจัดการความรู้สามารถนำไปพัฒนาพฤติกรรมการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ได้ และควรมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง</p>
2024-08-24T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/272764
ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยแอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรม การป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในสตรีตั้งครรภ์แรก
2024-08-04T15:19:56+07:00
เสาวนีย์ อินทรเนตร
ntaranate@gmail.com
รพีพรรณ นาคบุบผา
rapeepan@pckpb.ac.th
<p>การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยแอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีตั้งครรภ์แรก อายุครรภ์ 24-34 สัปดาห์ จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยแอปพลิเคชันไลน์ จำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด มีค่าความความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .97 และมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .77 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด สูงกว่ากลุ่มควบคุม และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (<em>t</em> = 3.05, 2.99; <em>p</em> < .01)</p> <p>ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยแอปพลิเคชันไลน์ ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด สามารถนำไปใช้เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดได้</p>
2024-08-25T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี