วารสารทางการแพทย์และบริหารจัดการระบบสุขภาพ โรงพยาบาลขอนแก่น (Journal of Medicine and Health System Management of Khon Kaen Hospital) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nso-kkh <p>วารสารทางการแพทย์และบริหารจัดการระบบสุขภาพ โรงพยาบาลขอนแก่น เป็นวารสารทางวิชาการซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลขอนแก่น จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) รายงานผู้ป่วย (Case report) บทความวิชาการ (Academic Article) บทความปริทัศน์ (Literature Review Article) ตลอดจนองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ การพยาบาลหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ แนวปฏิบัติจากงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความอื่นๆที่น่าสนใจ โดยทุกบทความได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากภายใน และภายนอกโรงพยาบาลขอนแก่น ซึ่งมีกำหนดตีพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ</p> โรงพยาบาลขอนแก่น (Khon Kean Hospital ) th-TH วารสารทางการแพทย์และบริหารจัดการระบบสุขภาพ โรงพยาบาลขอนแก่น (Journal of Medicine and Health System Management of Khon Kaen Hospital) 2822-082X <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ กลุ่มภารกิจด้านพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลขอนแก่น หรือบุคลากรในโรงพยาบาลแต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยเด็กวัยเตาะแตะโรคหืดกลุ่มควบคุมโรคไม่ได้และมีภาวะหืดกำเริบเฉียบพลัน: กรณีศึกษา 2 ราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nso-kkh/article/view/266827 ่่jiranun - pusomta Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-12 2024-03-12 1 2 35 47 การพยาบาลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้: กรณีศึกษา 2 ราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nso-kkh/article/view/268424 <p>การพยาบาลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้: กรณีศึกษา 2 ราย <br>วัลลภา เดชาเสถียร พย.ม* <br>บทคัดย่อ <br>โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางเมตาบอลิซึมที่เป็นปัญหาทางด้านสุขภาพที่สำคัญ โดยประเทศไทยพบ โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น เป็นเบาหวานชนิดที่ 1ถึงร้อยละ 75 ซึ่งโรคเบาหวานชนิดที่1 มักมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ชัดเจนและรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดและคีโตคั่ง (Diabetic Ketoacidosis, DKA) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มา โรงพยาบาล และนำมาสู่การวินิจฉัยครั้งแรกและมีเพียงร้อยละ 17 ที่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายการรักษา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อนำทฤษฎีและกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่1 2. นำแนวคิดทฤษฎีการจัดการตนเองมาปรับใช้ในการดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่1 <br>วิธีการศึกษา เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยวัยรุ่นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้จำนวน 2 ราย เก็บ รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน การสังเกต สัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล ปฏิบัติการพยาบาลโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการ จัดการตนเอง(Creer,2000) และวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการพยาบาล ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือนมีนาคม-กันยายน พ.ศ.2566 <br>ผลการศึกษา <br>พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2รายได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสมกับสภาพความ เจ็บป่วยโดยพบประเด็นปัญหาที่คล้ายคลึงกันคือขาดความมั่นใจในการดูแลตนเองโดยกรณีศึกษารายที่ 1 มีความพร้อมในการ ดูแลมากกว่าเมื่อให้ทบทวนและสนับสนุนด้านความรู้ในการดูแลตนเองตามที่ผู้ป่วยวัยรุ่นต้องการ ทำให้สามารถปรับการดูแล ตนเองเข้ากับในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ดี และระดับน้ำตาลสะสมลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทำให้ความเครียดและกังวลใน การดูแลตนเองลดลง มีความมั่นใจในการใช้ชีวิตมากขึ้น กรณีศึกษารายที่ 2 มีความเข้าใจในโรคที่ตนเป็นและมีความตั้งใจใน การฉีดอินซูลิน การนับคาร์บ แต่ยังกังวลว่าจะดูแลตนเองได้ไม่ดีเท่าที่ควรซึ่งบางครั้งไม่สามารถเลือกอาหารทานได้ และไม่ สามารถมาพบแพทย์ได้ทุกครั้งเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจแม้จะได้รับการสนับสนุนด้านอุปกรณ์และค่าเดินทาง แต่ อย่างไรก็ดีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดมีแนวโน้มที่ลดลง จึงจำเป็นต้องมีการติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป <br><br><br><br><br><br><br><br>คำสำคัญ: การพยาบาลผู้ป่วยวัยรุ่นเบาหวาน เบาหวานชนิดที่1 เบาหวานในเด็ก <br><br>*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น </p> Wallapa Daechasatain Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-12 2024-03-12 1 2 73 82 กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยที่ตรวจการทํางานของระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ กรณีศึกษา 2 ราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nso-kkh/article/view/268492 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;บทนำ </strong>&nbsp;&nbsp;การใช้สารทึบรังสีในการตรวจทางรังสีวิทยาในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยในการทำงานของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ มีโอกาสเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้สารทึบรังสี หรือบางรายอาจเสียชีวิตจากการแพ้ได้ การเฝ้าระวังติดตามอาการอย่างใกล้ชิดในทุกระยะของการตรวจ ให้การช่วยเหลือที่รวดเร็ว และปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลได้อย่างถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอนจะทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย และได้รับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>&nbsp;เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ตรวจการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา&nbsp; </strong>เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยที่ตรวจการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำจำนวน 2 ราย วิเคราะห์การใช้กระบวนการพยาบาล</p> <p><strong>ผลการศึกษา&nbsp; </strong>กรณีศึกษาทั้ง 2 รายในผู้ป่วยที่ตรวจการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการฉีดสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพและปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย พบว่ามีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่เหมือนกันทั้งหมด 6 ข้อ ในระยะก่อนตรวจ ได้แก่ 1) มีภาวะวิตกกังวลต่อวิธีการตรวจวินิจฉัยโดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดดำเนื่องจากขาดความรู้จากการตรวจวินิจฉัยด้วยสารทึบรังสี &nbsp;ในระยะตรวจ ได้แก่ 2) มีภาวะเสี่ยงต่อความรุนแรงในการแพ้สารทึบรังสี 3) มีโอกาสเกิดภาวะรั่วซึมของออกนอกหลอดเลือดดําของสารทึบรังสี และในระยะหลังตรวจ ได้แก่ 4) มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับสารทึบรังสีทางหลอดเลือดดำ 5) เสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์เกี่ยวกับไตเนื่องจากการทำงานของไตบกพร่องระยะต้น 6) ผู้ป่วยบกพร่องความรู้ในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องหลังได้รับสารทึบรังสี ส่วนการวินิจฉัยทางการพยาบาลที่แตกต่างกัน จำนวน 2 ข้อคือในระยะก่อนตรวจ ได้แก่ 1) เลื่อนการตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินปัสสาวะด้วยการฉีดสารทึบรังสีเนื่องจากการเตรียมตัวด้านร่างกายก่อนตรวจไม่ถูกต้อง ในผู้ป่วยรายที่ 1 ที่เป็นผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี ที่มีปัญหาการหลงลืมและไตวายเรื้อรัง และ 2) มีความกลัวต่อผลการตรวจวินิจฉัย ในผู้ป่วยรายที่ 2 ที่เป็นผู้ป่วยวัยแรงงานนั้นมีความกลัวต่อผลการตรวจวินิจฉัย &nbsp;ผลลัพธ์การพยาบาลพบว่าทุกปัญหาได้รับการแก้ไข ผู้ป่วยทั้ง 2 รายไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่เกี่ยวกับไต การได้รับการตรวจวินิจฉัยมีความชัดเจนแม่นยำ และสามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้</p> <p><strong>การนำไปใช้ประโยชน์ </strong>ผลการศึกษานำไปพัฒนาต่อเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาล คู่มือการเตรียมผู้ป่วยและการนิเทศทางคลินิก และการวิจัยเชิงทดลองเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพยาบาลได้</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ&nbsp; </strong>การตรวจ&nbsp;X-ray ฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous Pyelography , IVP)</p> <p>*พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลขอนแก่น</p> Ratiorn Pornkuna Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-12 2024-03-12 1 2 83 98 กรณีศึกษา การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ : กรณีศึกษา 2 ราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nso-kkh/article/view/264296 <p>ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์ที่มีความซับซ้อน และอาจส่งผลต่อภาวะสุขภาพที่รุนแรง ทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ จึงจำเป็นต้องได้รับการประเมินอาการ การดูแลอย่างใกล้ชิด และการจัดการอย่างเหมาะสม การศึกษาจากกรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย ที่มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จะทำให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจต่อพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น รวมทั้งการใช้กระบวนการพยาบาลในการวางแผนการพยาบาล นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ และแนวทางการพยาบาลสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีประสิทธิภาพต่อไป</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>&nbsp; พบว่าผู้คลอดทั้ง 2 ราย&nbsp; มีความแตกต่างด้านความรุนแรงของพยาธิสภาพ&nbsp; รายแรก เกิดภาวะล้มเหลวของระบบหัวใจและหลอดเลือด มีภาวะน้ำท่วมปอดและภาวะหัวใจล้มเหลว มีผลต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ยังน้อย จึงทำให้ทารกเสียชีวิตขณะคลอด รายที่ 2 มีการทำงานของตับผิดปกติ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; มีการแตกสลายของเม็ดเลือดแดง และมีผลต่อทารกในครรภ์ คือ มีภาวะน้ำหนักน้อย และมีความจำเป็นต้องสิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนอายุครรภ์ครบกำหนด ผู้คลอดทั้ง 2 ได้รับการดูแลจนปลอดภัย โดยการรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และโดยพยาบาลผดุงครรภ์ที่ใช้กระบวนการพยาบาลเป็นแนวทางในการดูแล ส่งผลให้ผู้คลอดและทารกปลอดภัย</p> Chaywasan Khunudom Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-12 2024-03-12 1 2 48 61 กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เข้ารับการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nso-kkh/article/view/268528 <p><strong>บทนำ: </strong>&nbsp;โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่พบมากอันดับต้นๆ ของโลก หากเกิดโรคซ้ำอีกจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ง่าย การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์นั้นสามารถวินิจฉัยได้แม่นยำรวดเร็ว แต่ในการตรวจต้องควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจไม่ให้เร็วเกิน 65 ครั้งต่อนาทีเพื่อให้การตรวจสำเร็จและต้องฉีดสารทึบรังสีด้วยความเร็วสูง จึงมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายรุนแรงได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ก่อนตรวจ ขณะตรวจ และหลังตรวจ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงรายกรณีในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โรงพยาบาลขอนแก่นศึกษาในช่วงมิถุนายน 2566 ถึง พฤศจิกายน 2566 จำนวน 2 ราย ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ประเมินภาวะสุขภาพตาม 11 แบบแผนของกอร์ดอน ให้การพยาบาลตามทฤษฎีการพยาบาล</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: กรณีศึกษาทั้ง 2 รายในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ให้การพยาบาลเป็น 3 ช่วงระยะการตรวจ คือก่อนตรวจ ขณะตรวจ และหลังตรวจ ในการพยาบาลช่วงก่อนตรวจ มีขั้นตอนการเตรียมตัวที่เหมือนกัน แต่จากการประเมินก่อนเข้าตรวจพบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 ความดันโลหิตปกติ 132/95 mmHg ชีพจร 72-88 ครั้งต่อนาทีไม่สม่ำเสมอ แพทย์ให้ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจและให้การพยาบาลตามอาการ หลังจากนั้น 30 นาที ชีพจรลดลงเป็น 65-75 ครั้งต่อนาที กรณีศึกษารายที่ 2 ความดันโลหิตสูง 168/72 mmHg ชีพจร 72 ครั้งต่อนาที ให้กินยาลดความดันที่กินเป็นประจำและให้การพยาบาลตามอาการหลังจากนั้น 30 นาที ค่าความดันโลหิตลดเป็น 140/82 mmHg ชีพจร 65 ครั้งต่อนาที ซึ่งในขั้นตอนนี้ให้การพยาบาลแตกต่างกันตามอาการที่ประเมินได้ และเมื่ออาการผู้ป่วยคงที่จึงสามารถเข้าตรวจได้ ขณะเข้าตรวจและหลังการตรวจให้การพยาบาลเหมือนกันทั้ง 2 รายกรณี ไม่มีภาวะแทรกซ้อน และได้รับการวินิจฉัยทันเวลา</p> Pitiporn Phosriwangchai Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-12 2024-03-12 1 2 62 72 กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีภาวะช็อค: กรณีศึกษา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nso-kkh/article/view/266408 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>ความเป็นมา</strong>:การตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นภาวะฉุกเฉินทางนรีเวชที่มีความเสี่ยงสูง ในสตรีวัยเจริญพันธุ์หากเกิดการแตกของท่อนำไข่จะทำให้เกิดภาวะช็อคจากการตกเลือดในช่องท้อง อาจทำให้มีอันตรายถึงชีวิตได้ จึงต้องมีการดูแลและสังเกตอาการโดยพยาบาลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องในการดูแลหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูกให้ได้ตามมาตรฐานการพยาบาล</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong>เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูก จำนวน 2 ราย</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong>เป็นกรณีศึกษาหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูก 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่นปี2565 โดยศึกษาจากประวัติการรักษาพยาบาล ข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติและเวชระเบียน ใช้แบบประเมิน 11 แบบแผนของกอร์ดอน นำมากำหนดข้อวินิจฉัยของกาพยาบาล และแก้ไขปัญหาสุขภาพโดยใช้กระบวนการพยาบาล 5 ขั้นตอนตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่าย</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong>กรณีศึกษาที่1 หญิงไทยวัยเจริญพันธุ์อายุ31ปี ตั้งครรภ์ครั้งที่4มาด้วยอาการปวดท้องน้อยด้านขวามาก หายใจไม่สะดวก อ่อนเพลีย ท้องเสีย เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลชุมชนตรวจอัลตร้าซาวด์พบการตั้งครรภ์นอกมดลูกบริเวณท่อนำไข่ข้างขวาแตกมีภาวะช็อค ใส่เครื่องช่วยหายใจแล้วส่งตัวมารักษาโรงพยาบาลขอนแก่น ได้รับการผ่าตัดด่วน หลังผ่าตัดฟื้นดี รู้ตัวดีไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆรวมระยะการรักษาตัวในโรงพยาบาล 4วัน กรณีศึกษาที่2 เป็นหญิงไทยวัยเจริญพันธุ์ อายุ36ปีตั้งครรภ์ที่3 มาด้วยอาการปวดท้องน้อยด้านซ้ายมา 3วันปวดไม่รุนแรงจึงไม่มาโรงพยาบาลต่อมามีอาการเวียนศรีษะหน้ามืดล้มกระแทกพื้น ปวดท้องน้อยรุนแรงขึ้นจึงไปโรงพยาบาลศรีนครินทร์และมีอาการช้อคร่วมด้วยให้การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะแท้งคุกคามช่วยเหลือเบื้องต้นจึงส่งตัวมารักษาต่อที่โรงพยาบาลขอนแก่น ซึ่งการพยาบาลที่สำคัญอันดับต้นในผู้ป่วยทั้ง 2 รายคือ เสี่ยงต่อการเกิด hypovolemic shock เนื่องจากภาวะตกเลือดในช่องท้องจากการแตกของถุงท้องนอกมดลูก มีโอกาสเลือดออกซ้ำในช่องท้อง ในผู้ป่วยทั้ง 2 รายต้องได้รับการผ่าตัดด่วน รายแรกมีชีพจรเร็วก่อนเกิดภาวะช็อค(shock) ในรายที่2 มีภาวะช็อค(shock)และได้รับการแก้ไข &nbsp;ซึ่งการพยาบาลที่สำคัญรองลงมาคือการพยาบาลหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยรายแรกต้องใช้เครื่องช่วยหายใจต่อเนื่อง จากเสียเลือดมากร่วมกับมีตัวนำออกซิเจนน้อย การพยาบาลจึงต้องเฝ้าระวังการแลกเปลี่ยนออกซิเจน การพยาบาลทั้ง2รายที่สำคัญในระยะนี้คือ การประเมินภาวะช็อคและความปวดเพื่อแก้ไขภาวะช็อคและบรรเทาความไม่สุขสบายจากอาการปวดให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนและกระตุ้นambulationในวันที2เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น อีกทั้งยังต้องเฝ้าระวังสัญญาณชีพ เนื่องจากมีโอกาสเกิดเลือดออกในช่องท้องซ้ำได้อีก</p> <p><strong>สรุป</strong>:หญิงตั้งครรภ์ 2 ราย มีการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่ตำแหน่งท่อนำไข่ส่วนที่เป็น Ampulla part ซึ่งรายที่1 ได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินเร่งด่วนและ รายที่2ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ทักษะความชำนาญเป็นพิเศษ ในการประเมินอาการ การประสานงานในทีม ให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและถูกต้อง รวดเร็วตามกระบวนการพยาบาลได้มาตรฐาน ประเด็นสำคัญในการพยาบาลคือ ให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะวิกฤตฉุกเฉิน ผลลัพธ์การพยาบาลคือ ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ขณะรับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong> : ท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูกแตก&nbsp;&nbsp;&nbsp; ภาวะช็อคจากการเสียเลือดหรือขาดสารน้ำ</p> <p>&nbsp;</p> lumyoun Prateepmaeung Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-12 2024-03-12 1 2 1 10 กรณีศึกษา การพยาบาลมารดาตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมีภาวะอ้วน : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nso-kkh/article/view/266435 <p><strong>การพยาบาลมารดาตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมีภาวะอ้วน</strong></p> <p><strong>: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp; </strong><em>อัจฉรา พรลักษณพิมล<sup>1</sup></em></p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>บทความวิชาการกรณีศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล มารดาตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมีภาวะอ้วน <strong>(</strong>Nursing care for pregnancys after caesarean section&nbsp; with obesity) จำนวน 2 ราย โดยรายที่ 1 มารดาตั้งครรภ์ที่ 2 เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมาก่อน ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและทำหมัน มีโรคร่วมคือภาวะอ้วน มีภาวะแทรกซ้อนมดลูกไม่หดรัดตัว และรายที่&nbsp; 2&nbsp; มารดาตั้งครรภ์ที่ 2 เคยผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมาก่อน ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้า มีโรคร่วมคือภาวะอ้วน ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพตามกรอบแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอนเป็นเครื่องมือในการศึกษาผลการศึกษาพบว่า ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่เหมือนกัน ได้แก่ 1) มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด 2) รายที่ 1 มีภาวะอ้วนระดับ 2 รายที่ 2 มีภาวะอ้วนระดับ 3 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง 3) เสี่ยงต่อภาวะมดลูกแตก 4) เสี่ยงต่อการขาดน้ำและอาหาร 5) เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดหน้าท้อง 6) ไม่สุขสบายจากการปวดแผลผ่าตัดหน้าท้อง 7) เสี่ยงต่อการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ 8) มีความวิตกกังวลเนื่องจากน้ำนมมาน้อย 9) ทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยหลังผ่าตัดจากอาการเพลียและปวดแผลผ่าตัด 10) พักผ่อนได้น้อยเนื่องจากต้องดูแลบุตร ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่แตกต่างกัน คือรายที่ 1 พบว่า 1) เสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด &nbsp;&nbsp;ส่วนในรายที่ 2 พบว่า 1) มีอาการท้องผูก การพยาบาลที่สำคัญสำหรับกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้แก่ ให้คลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด ไม่ให้แผลผ่าตัดติดเชื้อ ลดอาการปวดแผล ไม่ให้ติดเชื้อจากการใส่การใส่ Foley<sup>’</sup>s catheter ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัดจากภาวะอ้วน ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ ทำกิจวัตรประจำวันหลังผ่าตัดได้ มีน้ำนมเพียงพอสำหรับเลี้ยงบุตร ส่วนการพยาบาลที่แตกต่างนั้น ในรายที่ 1 ไม่ให้มีภาวะตกเลือดหลังคลอด ส่วนรายที่ 2 มีการขับถ่ายปกติ ข้อเสนอแนะในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ คือใช้เป็นแนวทางปฎิบัติการพยาบาล และมาตรฐานการพยาบาลมารดาตั้งครรภ์ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องและมีภาวะอ้วน</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>: </strong>การพยาบาลมารดาตั้งครรภ์, ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง,ภาวะอ้วน</p> <table> <tbody> <tr> <td width="10">&nbsp;</td> </tr> <tr> <td>&nbsp;</td> <td>&nbsp;</td> </tr> </tbody> </table> <p>&nbsp;</p> <p>&nbsp;</p> <p>พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น</p> <p>Coresponding Author Achara Pornluxanapimol, Email: <a href="mailto:[email protected]">[email protected]</a></p> <p>&nbsp;</p> achara pornluxanapimol Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-12 2024-03-12 1 2 11 20 กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่มีการติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีและได้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง: กรณีศึกษา 2 ราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nso-kkh/article/view/266472 <p class="s8"><span class="s5">ความเป็นมา</span> <span class="s4">โรคปอดอักเสบ</span><span class="s4">เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างที่เกิดจากเชื้อจุลชีพ ส่งผลให้มีการอักเสบของเนื้อปอด ทำให้ผู้ป่วยเด็กขาดออกซิเจน มีภาวะหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตตามมาได้</span></p> <p class="s8"><span class="s5">วัตถุประสงค์</span> <span class="s4">เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่ได้รับ</span><span class="s4">การ</span><span class="s4">รักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสูง</span><span class="s4"> (</span><span class="s4">Heated Humidifie</span><span class="s4">d High Flow Nasal Cannula</span><span class="s4">: </span><span class="s4">HHHFNC</span><span class="s4">)</span></p> <p class="s8"><span class="s5">วิธี</span><span class="s5">ดำเนิน</span><span class="s5">การศึกษา </span><span class="s4">เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยเด็ก</span><span class="s4">ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันว่าเป็นโรคปอดอักเสบ </span><span class="s4">ซึ่ง</span><span class="s4">ได้รับ</span><span class="s4">การ</span><span class="s4">รักษาด้วยออกซิเจนอัตราการไหลสู</span><span class="s5">ง</span><span class="s4">จำนวน 2 </span><span class="s4">ราย</span> <span class="s4">ประเมินภาวะสุขภาพตามกรอบแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน กำหนด</span> <span class="s4">ข้อวินิจฉัยการพยาบาล</span><span class="s4"> ปฏิบัติการพยาบาล </span><span class="s4">และ</span><span class="s4">ประเมินผล</span></p> <p class="s8"><span class="s5">ผลการศึกษา</span> <span class="s4">กรณีศึกษา</span><span class="s4">ทั้ง 2 </span><span class="s4">ราย</span><span class="s4"> มีข้อวินิจฉัย</span><span class="s4">การพยาบาล</span><span class="s4">ขณะอยู่รักษาในหอผู้ป่วยเด็กเล็ก ทั้งหมด 6 ข้อ </span><span class="s4">เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ 1) การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่องเนื่องจากพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง 2) แบบแผนการหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีเสมหะอุดกั้นทางเดิน</span><span class="s4">หายใจ</span><span class="s4"> 3) มีการติดเชื้อที่ปอด เนื่องจากเสมหะคั่งค้าง และ</span><span class="s4">การอักเสบของ</span><span class="s4"> &nbsp; &nbsp; &nbsp;</span><span class="s4">เนื้อปอด</span><span class="s4"> 4) ไม่สุขสบายเนื่องจากมีไข้ 5) มีโอกาสเกิดภาวะไม่สมดุลของสารน้ำในร่างกาย เนื่องจากมีไข้สูง รับประทานได้น้อย </span><span class="s4">และหายใจ</span><span class="s4">หอบ</span><span class="s4">เหนื่อย </span><span class="s4">และ</span><span class="s4">6) </span><span class="s4">บิดามารดา มีความวิตกกังวลเนื่องจากการเจ็บป่วยของบุตร </span><span class="s4">กรณีศึกษา</span><span class="s4">ทั้ง 2 </span><span class="s4">ราย</span> <span class="s4">ได้รับ</span><span class="s4"> &nbsp; &nbsp; &nbsp;</span><span class="s4">การดูแลผ่านพ้นระยะวิกฤต อาการดีขึ้น และจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้ จำนวนวันนอนในโรงพยาบาล </span><span class="s4">ราย</span><span class="s4">ที่ 1 และ 2 เท่ากับ 7 วัน และ</span> <span class="s4">8 วัน ตามลำดับ </span><span class="s4">&nbsp;</span><span class="s4"> &nbsp;</span></p> <p class="s8"><span class="s5">ข้อเสนอแนะ</span> <span class="s4">การรักษาด้วย</span><span class="s4">ออกซิเจนอัตราการไหลสูง</span><span class="s4">ในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวแบบเฉียบพลัน</span> <span class="s4">สามารถป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่และป้องกันการใส่ท่อช่วยหายใจ</span><span class="s4">ซ้ำ</span><span class="s4"> ดังนั้นพยาบาล</span><span class="s4">จำ</span><span class="s4">เป็นต้องมีความรู้ ทักษะ</span><span class="s4">ความ</span><span class="s4">ชำ</span><span class="s4">นาญ และติดตามอาการ</span><span class="s4">ผู้ป่วย</span><span class="s4">อย่างใกล้ชิด</span></p> Wilawan Juntori Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-12 2024-03-12 1 2 21 34 การพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลระดับจังหวัด ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยกสูง (STEMI) https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nso-kkh/article/view/269667 <p>บทคัดย่อ</p> <p>การพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลระดับจังหวัดสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยกสูง (STEMI) มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากโรค STEMI เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การมีเครือข่ายระดับจังหวัดจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็น รวมถึงการบูรณาการการดูแลรักษาระหว่างหน่วยบริการต่างๆ อย่างไร้รอยต่อ แม้จะมีการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย STEMI ในด้านอื่นๆ เช่น ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน แนวทางการรักษา และความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาล แต่การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลระดับจังหวัดสำหรับกลุ่มผู้ป่วยนี้โดยเฉพาะยังคงมีข้อจำกัด งานวิจัยที่มีอยู่มักจำกัดอยู่ในขอบเขตของพื้นที่ภูมิภาคหรือประเทศเท่านั้น และยังไม่ได้ครอบคลุมองค์ประกอบที่สำคัญอย่างครบถ้วน การศึกษาเชิงคุณภาพนี้ใช้วิธีการผสมผสานระหว่างการวิเคราะห์งานและการวิเคราะห์เอกสาร เพื่อศึกษาบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับพยาบาลในบริบทของการพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลระดับจังหวัดสำหรับผู้ป่วย STEMI ในจังหวัดเลย</p> <p>ผลการวิเคราะห์พบว่า การพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลระดับจังหวัดให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องมีการบูรณาการองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ระบบการจัดการความรู้ และการประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อกำหนดโครงสร้างองค์กรและระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่เหมาะสมในระดับจังหวัด เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย STEMI ได้อย่างทันท่วงทีและมีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราการรอดชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น "แบบจำลองการพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลระดับจังหวัดสำหรับผู้ป่วย STEMI" ที่นำเสนอนั้น ประกอบด้วยกรอบงานที่ครอบคลุม ตั้งแต่วิสัยทัศน์และแนวคิดทฤษฎี โครงสร้างสนับสนุน กระบวนการพัฒนา การวัดผลลัพธ์ และกลไกการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกำหนดเป้าหมายสำคัญ เช่น การสร้างเครือข่ายการดูแลที่มีคุณภาพสูง บูรณาการทุกระดับบริการอย่างไร้รอยต่อ โดยมีกระบวนการหลักที่ชัดเจน ตั้งแต่การวิเคราะห์ช่องว่าง การวางแผนพัฒนา การปฏิบัติการ การติดตามประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข สอดคล้องกับหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับองค์ประกอบสำคัญ เช่น การทบทวนและเรียนรู้จากปัญหา การเชื่อมโยงการดูแลต่อเนื่องและฟื้นฟูสมรรถภาพ และการสื่อสารข้อมูลไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิและชุมชน</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ </strong><strong>: ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (STEMI) , เครือข่ายการพยาบาลระดับจังหวัด</strong></p> Chuleeporn Khotnarin warunee Keerathikhajorn Copyright (c) 2024 กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-25 2024-03-25 1 2 99 107