วารสารโรงพยาบาลนครพนม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9 <p>วารสารโรงพยาบาลนครพนม เป็นวารสารทางด้านแพทย์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ เผยแพร่บทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านการแพทย์ในด้านต่างๆไปสู่บุคลากรด้านสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป เพื่อที่จะนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยหรือดูแลตนเองได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น</p> th-TH <ol> <li>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม</li> <li>ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ</li> </ol> [email protected] (แพทย์หญิงนทวรรณ หุ่นพยนต์) [email protected] (พรสวรรค์ สาหล้า) Thu, 11 Apr 2024 09:37:23 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การรื้อเครื่องมือขยายคลองรากฟันชนิดนิกเกิลไทเทเนียมไฟล์ที่หมุนด้วยเครื่อง ที่หักค้างในคลองรากฟันรายงานผู้ป่วย 2 ราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/268562 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การรักษาคลองรากฟันมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันและรักษาการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบปลายรากที่เกิดจากการติดเชื้อ การกำจัดเชื้อในระบบคลองรากฟันเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ การเกิดเครื่องมือขยายคลองรากฟันหัก ส่งผลในการกีดขวางหรือลดประสิทธิภาพการเข้าไปทำความสะอาดในคลองราก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จของการรักษา ก่อให้เกิดภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อปริทันต์รอบปลายรากฟันซ้ำได้ รายงานผู้ป่วยฉบับนี้นำเสนอวิธีการรื้อเครื่องมือขยายคลองรากฟันที่หักในคลองราก โดยกล่าวถึงการตรวจวินิจฉัย การวางแผนการรักษาและขั้นตอนรายละเอียดในการรักษา ผลจากการติดตามอาการเป็นเวลา 3 เดือน ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆ ภาพรังสีรอบปลายรากฟันแสดงให้เห็นถึงขนาดของรอยโรคที่ลดลง</p> สุนทรี บุญนาดี Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/268562 Mon, 29 Jan 2024 00:00:00 +0700 ความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ของไทยต่อการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่: ข้อมูลเชิงลึกจากการสนทนากลุ่ม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/267974 <p><strong>ความเป็นมา: </strong>ความลังเลในการฉีดวัคซีนในหมู่บุคลากรทางการแพทย์เป็นความท้าทายที่สำคัญในการป้องกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ บุคลากรทางการแพทย์ที่ลังเลเรื่องวัคซีนมักไม่แนะนำการฉีดวัคซีนแก่ผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจถึงความลังเลในการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของบุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งศึกษาถึงการรับรู้และความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนและโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีผลกับความลังเลใจในการรับวัคซีน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้การสนทนากลุ่ม ใช้แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างในบุคลากรทางการแพทย์ 72 คนจากโรงพยาบาลจังหวัด 4 แห่งที่คัดเลือกโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยในเดือนสิงหาคม 2562 มีการใช้เทปบันทึกเสียง บันทึกเสียงภาคสนาม และการสังเกต นำมาใช้วิเคราะห์เพื่อสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกรอบงานความลังเลใจเกี่ยวกับวัคซีน เช่น ความเชื่อมั่น ความพึงพอใจ และความสะดวก&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>จากการสนทนากลุ่มในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 72 คน ครอบคลุมงานทุกประเภทในโรงพยาบาล วัฒนธรรมองค์กร บริบททางสังคม และบรรทัดฐานที่หลากหลาย ผลการวิจัยพบว่า มีความลังเลในการฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลทุกแห่งในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ทุกประเภท ปัจจัยสำคัญของความลังเลใจในการรับวัคซีน คือ ความกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากวัคซีน แม้ว่าบุคลากรทางการแพทย์จะมีการแสดงความมั่นใจในการฉีดวัคซีนสูงแต่ก็มีความรู้สึกไม่แน่นอนอย่างมากถึงความตรงกันของสายพันธุ์ไรวัสที่เป็นองค์ประกอบของวัคซีนและสายพันธุ์ที่ก่อโรคในขณะนั้น ขาดการสื่อสารเกี่ยวกับคุณประโยชน์และความเสี่ยงของวัคซีนในบุคลากรที่ไม่ได้ให้บริการผู้ป่วย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับความต้องการหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สูงในกลุ่มที่ให้บริการผู้ป่วยโดยตรง สิ่งที่น่าสนใจคือความเป็นวิชาชีพด้านสุขภาพแสดงออกอย่างสูงในบุคลากรทางการแพทย์บางคน ที่สนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ยอมรับวัคซีนถือว่าเป็นความรับผิดชอบในการปกป้องผู้ป่วยและคนอื่นๆ ประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ ความกลัวเข็มฉีดยา ข้อจำกัดด้านเวลา และการจัดหาวัคซีนไม่เพียงพอ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p> <p><strong>สรุป:</strong> ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับวัคซีนและไข้หวัดใหญ่ควรได้รับการสื่อสารอย่างมีกลยุทธ์ไปยังบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในประสิทธิผลของวัคซีน และเข้าใจถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของวัคซีน การส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ให้ตระหนักถึงหน้าที่ทางวิชาชีพในการปกป้องผู้ป่วยจากไข้หวัดใหญ่และบรรเทาการแพร่กระจายของไข้หวัดใหญ่จากบุคลากรทางการแพทย์อาจช่วยลดความลังเลในการฉีดวัคซีนในบุคลากรทางการแพทย์ได้</p> เกรียงไกร ประเสริฐ, ปราบดา ประภาศิริ, สุริยา เนาศรี, ณัฎฐ์ฎาพร ศรีประดิษฐ์, กัลยา ศรวงค์, รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ, สุทธิชัย นักผูก Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/267974 Thu, 04 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกวาร์ฟารินของผู้ป่วยในโรงพยาบาลปลาปาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/267977 <p>วัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ได้รับยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลปลาปาก และ (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของงานบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกวาร์ฟารินสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ได้รับยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลปลาปาก</p> <p>วัสดุและวิธีการศึกษา เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนาที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงกึ่งการทดลองด้วยแบบสอบถามจำนวน 3 ครั้งในระยะเวลาการศึกษา 3 เดือน ซึ่งมีประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ใช้บริการงานบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกวาร์ฟาริน ณ โรงพยาบาลปลาปากจำนวน 78 ราย และทำการคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็นแบบเฉพาะเจาะจงที่มีการประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อค้นหาสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานที่อาศัยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ การพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมด้วยการเพิ่มขั้นตอนที่ให้เภสัชกรทำการบริบาลผู้ป่วยก่อนและหลังพบแพทย์</p> <p>ผลการศึกษา พบว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาวาร์ฟารินช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.000, 0.001 และ 0.000 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟารินอย่างถูกต้องเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 60.0, 76.0 และ 89.0 ตามลำดับ ในขณะที่พฤติกรรมของผู้ป่วยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.000, 0.005 และ 0.000 ตามลำดับเช่นเดียวกัน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีความสามารถในการควบคุมค่า TTR ให้อยู่ในช่วงเป้าหมายที่เหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 56.0, 68.0 และ 75.0 ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่า TTR ของผู้ป่วยไม่อยู่ในช่วงเป้าหมายคือ ผู้ป่วยชอบลืมหรือมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ครบตามคำสั่งแพทย์หรือไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด ตามลำดับ</p> <p>ข้อสรุป การพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.005, 0.000 และ 0.001 ตามลำดับ กล่าวได้ว่าการพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมด้วยกระบวนการด้วยการเพิ่มขั้นตอนที่ให้เภสัชกรทำการบริบาลผู้ป่วยก่อน และหลังพบแพทย์เป็นวิธีการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ได้รับยาวาร์ฟารินมีความปลอดภัย และมีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษาเพิ่มมากขึ้น&nbsp; เพราะฉะนั้นการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับยาวาร์ฟาริน และการปรับปรุงพฤติกรรมของผู้ป่วยให้มีความเหมาะสมจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการใช้ยาที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีค่า TTR อยู่ในเป้าหมายที่กำหนด</p> นพดล กิตติถาวร Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/267977 Thu, 04 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (Basic Life Support) วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/269295 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (Basic Life Support) วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นแกนนำครู นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จำนวน 77 คน สุ่มเลือกอย่างง่าย จำนวนนักศึกษา 9 แผนก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ ที่มีค่าอำนาจจำแนก 0.41 - 0.73 ค่าความยากง่าย 0.56 - 0.78 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) 0.78 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Cronbach's alpha) 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired Simple t-test&nbsp;</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>: </strong>ผลการวิจัย พบว่ากระบวนการพัฒนาประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์บริบทพื้นที่ 2) การวางแผนเชิงปฏิบัติการ 3) ปฏิบัติตามหลักสูตร 4) ประเมินผล 5) สรุปผลและถอดบทเรียน เกิดหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ คือ 1) การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน 2) การปฐมพยาบาลฉุกเฉินภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้น 3) การปฐมพยาบาลฉุกเฉินกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 4) การปฐมพยาบาลฉุกเฉินการปฐมพยาบาลฉุกเฉินภาวะชัก ผลการดำเนินงานทำให้กลุ่มตัวอย่าง มีระดับความรู้ ทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ&nbsp; เพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนดำเนินกิจกรรมพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; 0.05) ส่วนระดับความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะการวิจัย ควรดำเนินการวัดความรู้และทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพเพิ่มเติมเมื่อหลังจากให้ความรู้เสร็จแล้ว 6 เดือน เพื่อเป็นการตรวจสอบระยะเวลาการคงอยู่ของความรู้และทักษะเพื่อพัฒนาหลักสูตรการสอนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น</p> <p><strong>ข้อสรุป </strong>: กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ ทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ เพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนดำเนินกิจกรรมพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; 0.05) ส่วนระดับความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก</p> แพงศรี ประภากรพิไล , ปิยวรรณ หาญเวช, วัทธิกร นาถประนิล Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/269295 Thu, 29 Feb 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาโปรแกรม Rx OPD เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลนครพนม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/269460 <p><strong>บทคัดย่อ</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มารับบริการที่โรงพยาบาลนครพนม ซึ่งบางครั้งไม่ได้นำยามาด้วย ทำให้ไม่ทราบว่ารับประทานยาตัวใดอยู่บ้าง จึงทำให้การรักษาขาดความต่อเนื่อง ฝ่ายเภสัชกรรมจึงได้มีการพัฒนาระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ Rx OPD เพื่อสร้างระบบการประสานรายการยาผู้ป่วยนอก ลดความคลาดเคลื่อนทางยาจากการสั่งใช้ยาในช่วงรอยต่อของการรักษา และเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาที่สมควรได้รับอย่างต่อเนื่องเหมาะสม</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> ประเมินผลการดำเนินประสานรายการยา โดยวัดผลจากความคลาดเคลื่อน</p> <p>ทางยาร้อยละเป็นค่าเฉลี่ย และประเมินระดับความรุนแรงของความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดจากการขาดประสานรายการยา</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong>:งานวิจัยและพัฒนานี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ศึกษาลักษณะและขนาดของปัญหาการสั่งใช้ยาที่ผู้ป่วยไม่สมควรได้รับในโรงพยาบาลนครพนม โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากฐาน ข้อมูลการใช้ยา ระหว่างวันที่ มกราคม 2564- กันยายน 2564 2) พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันปัญหาการประสานรายการยาและนำมาใช้ในเดือนกันยายน 2564 และ 3) ศึกษาผลของการใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันปัญหาการประสานรายการยา ประเมินก่อนเริ่มใช้โปรแกรมตั้งแต่เดือน มกราคม 2564- กันยายน 2564 และหลังใช้โปรแกรมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – เมษายน 2565</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>จากการทบทวนความคลาดเคลื่อนทางยาพบว่าอันดับแรก คือ ไม่ได้ยาที่คนไข้ได้รับยา คิดเป็นร้อยละ 47.14 เมื่อมีการพัฒนาโปรแกรม Rx OPD แผนกห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก ประเมินจากการคลาดเคลื่อนทางยาการประสานรายการยาพบว่า ประเภทของความคลาดเคลื่อนทางยาก่อนและหลังติดโปรแกรม พบว่าความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบคือ ไม่ได้ยาที่คนไข้ได้รับยา คิดเป็นร้อยละ 47.14 และ 35.15 ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P&lt;0.001)</p> <p><strong>ข้อสรุป</strong>: โปรแกรม Rx OPD ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งต่อให้แพทย์พิจารณาสั่งใช้ยา และเภสัชกรติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย จะสามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาด้านย ที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ป่วย ซึ่งหากแพทย์และเภสัชกรได้พิจารณาดูประวัติยาเดิมของผู้ป่วยนอกที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลนครพนม จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> จิราวรรณ จิราวรรณ สันติเสวี Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/269460 Mon, 11 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาและตรวจสอบเครื่องมือการสำรวจความลังเลใจต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในบุคลากร ทางการแพทย์ไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/268144 <p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>: </strong>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบเครื่องมือการสำรวจเพื่อวัดความลังเลใจต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> เครื่องมือสำรวจในการศึกษานี้ได้รับการพัฒนาหลังจากการทบทวนวรรณกรรมโดยใช้เมทริกซ์ปัจจัยกำหนดความลังเลต่อวัคซีนที่ปรับปรุงจากการสนทนากลุ่ม การตรวจสอบเครื่องมือ ประกอบด้วยการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ มีการทดสอบนำร่องเพื่อประเมินความเป็นไปได้ การยอมรับ และความตรงตามที่เห็น และทำการสำรวจขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือและความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง วัดความถูกต้องของโครงสร้างโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และความสอดคล้องภายในโดยใช้สถิติทดสอบความเชื่อมั่นของครอนบาค</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> มีผู้เข้าร่วมประเมินกังวลเรื่องรูปแบบและความยาวของแบบสอบถาม แต่โดยร่วมการยอมรับแบบสอบถามอยู่ในระดับดี โดยร่วมความตรงตามที่เห็นและความถูกต้องของเนื้อหาถือว่าดี การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ มีโครงสร้างของปัจจัยอยู่สามองค์ประกอบซึ่งสอดคล้องกับปัจจัยกำหนดกว้างๆ สามประการ ได้แก่ ปัจจัยเชิงบริบท ปัจจัยเฉพาะของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และอิทธิพลของแต่ละบุคคล/กลุ่ม โครงสร้างปัจจัยกำหนด 15 ตัวสามารถอธิบายความแปรปรวนทั้งหมดได้ร้อยละ 53 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคสำหรับชุดโครงสร้างสามปัจจัยองค์ประกอบมีค่าอยู่ในช่วง 0.77-0.80</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> สามารถพัฒนาเครื่องมือสำรวจที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เพื่อใช้ในบุคลากรทางการแพทย์ของไทยในการวัดความลังเลต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง</p> สุทธิชัย นักผูก, เกรียงไกร ประเสริฐ, สุริยา เนาศรี, ณัฎฐ์ฎาพร ศรีประดิษฐ์, กัลยา ศรวงค์, รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/268144 Thu, 04 Jan 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/269948 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก โดยใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ (Soukup, SM. 2000) และปรับจากแนวคิด 3P (P=Purpose ,P=Process, P=Performance) การศึกษามี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลฯที่สืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 16 เรื่อง ร่วมกับการวิเคราะห์บริบท นำข้อมูลจากการสืบค้น และ วิเคราะห์มาพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ประกอบด้วยการควบคุมด้านอาหาร การออกกำลังกาย การประเมินความเครียดซึ่งเป็นแบบบันทึกประเมินพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ประเมินด้านผู้ป่วย และ ด้านพยาบาลวิชาชีพ โดยด้านผู้ป่วย มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก จำนวน 30 คน โดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อเปรียบเทียบหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ กับก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก มีคะแนนพฤติกรรมด้านการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ มีคะแนนการประเมินความเครียดที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 รวมถึงระดับน้ำตาลในเลือด หลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯระดับน้ำตาลในเลือดก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 202.2 มิลลิกรัม/เดซิลิตร</p> <p>ผลของความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลฯต่อการประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยมีความพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 90.00 ด้านความพึงพอใจต่อการประเมินความเครียดที่ท่านได้รับ มีความพอใจมากคิดเป็นร้อยละ 83.33 ด้านความพึงพอใจต่อการประเมินกิจกรรมด้านการออกกำลังกายมีความพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 90.00 ด้านความพึงพอใจต่อคำแนะนำด้านโภชนการที่ท่านได้รับ มีความพอใจมา คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านความพึงพอใจต่อคำแนะนำด้านการจัดการความเครียดที่ท่านได้รับ มีความพอใจมากคิดเป็นร้อยละ 93.33 <br>ด้านความพึงพอใจต่อคำแนะนำด้านกิจกรรมการออกกำลังกายที่ท่านได้รับมีความพอใจมากคิดเป็นร้อยละ100</p> <p>ด้านพยาบาลวิชาชีพมีกลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ 4 คน ผลการศึกษาพบว่าผลของความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลฯ ด้านการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้ได้จริงในการทำงาน พบว่ามีความพึงพอใจระดับมากคิดเป็นร้อยละ 75.00 ด้านประโยชน์กับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก มีความพึงพอใจระดับมากคิดเป็นร้อยละ 100&nbsp; ด้านการช่วยให้การปฏิบัติงานดีขึ้นกว่าวิธีเดิมที่ปฏิบัติ มีความพึงพอใจระดับมากคิดเป็นร้อยละ 75.00 ส่วนใหญ่ ร้อยละ 100 คิดว่าไม่ควรมีการปรับแก้ไขแนวปฏิบัติการพยาบาล และร้อยละ 75 คิดว่าสมควรใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลนี้ต่อไป</p> ศิริจรรยา สาระขันธ์ Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/269948 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 สภาวะโรคฟันผุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฟันผุในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย อายุ 3-5 ปี ในคลินิกธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลนครพนม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/268220 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะโรคฟันผุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ ได้แก่ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม การดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย อายุ 3-5 ปี ในคลินิกคลินิกธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลนครพนม โดยศึกษาแบบ Cross-sectional analysis รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพช่องปาก ค่าเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์และการมีผิวเคลือบฟันที่สร้างไม่สมบูรณ์ (Enamel hypoplasia) ของผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมีย จำนวน 60 คนและการสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กเกี่ยวกับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม การดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Chi-square, Multivariable logistic regression, odds ratio (OR), Wilcoxon rank sum test และ <em>t</em>-test ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียมีสภาวะโรคฟันผุร้อยละ 75 ค่าเฉลี่ยฟันผุอุดถอน (dmft) 9.67 (<u>+</u>5.93) ซี่/คน ค่าเฉลี่ยคราบจุลินทรีย์ 0.98 (<u>+</u>0.75) และมี enamel hypoplasia ร้อยละ 5 การวิเคราะห์ด้วย Chi-square analysis พบการทำความสะอาดช่องปากโดยเด็กแปรงฟันเอง ค่าเฉลี่ยการมีคราบจุลินทรีย์(DS) &gt;1 และการมี Enamel hypoplasia มีความสัมพันธ์กับการเกิดฟันผุในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิเคราะห์ด้วย Multivariable logistic regression พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับการศึกษา ค่าเฉลี่ยการมีคราบจุลินทรีย์&gt;1และการทำความสะอาดช่องปากโดยเด็กแปรงฟันเองตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ด้วย Wilcoxon rank sum test พบความสัมพันธ์ของทัศนคติของผู้ดูแลเด็กกับการเกิดฟันผุในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้พบความสัมพันธ์ของการศึกษาของผู้ปกครอง (OR 0.04, 95% CI 0.003-0.51), ค่าเฉลี่ยการมีคราบจุลินทรีย์ &gt;1(OR 68.88, 95% CI 2.32-2042.66) และการทำความสะอาดช่องปากโดยเด็กแปรงฟันเอง (OR 38.11, 95% CI 1.14-1275.63) กับการเกิดฟันผุในผู้ป่วยเด็กธาลัสซีเมียอายุ 3-5 ปี โรงพยาบาลนครพนม</p> ภาราณี สกุลคู Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/268220 Mon, 08 Jan 2024 00:00:00 +0700 ผลของกลยุทธ์หลากหลายวิธีต่ออุบัติการณ์และการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ต้านจุลชีพหลายขนานของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครพนม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/269958 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อเปรียบเทียบสัดส่วนการปฏิบัติที่ถูกต้องของพยาบาลวิชาชีพ และอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในผู้ป่วยระหว่างก่อนและหลังการใช้กลยุทธ์หลากหลายวิธี</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong>: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบหนึ่งกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest design) ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม&nbsp; โรงพยาบาลนครพนม ดำเนินการศึกษาวิจัยตั้งแต่เดือนเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 รวมระยะเวลา 8 เดือน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม ทั้งหมด 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินวิจัยประกอบด้วย แผนการให้ความรู้และคู่มือเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนาน บอร์ดและจดหมายปิดผนึกในการให้ข้อมูลย้อนกลับ และโปสเตอร์เตือนการทำความสะอาดมือ ระบบแจ้งเตือนในแอพพลิเคชั่นไลน์และหน้าจอคอมพิวเตอร์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปสำหรับพยาบาล แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติของพยาบาล และแบบบันทึกการเฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเชื่อมั่นแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบสัดส่วนของการปฏิบัติที่ถูกต้องระหว่างก่อนและหลังโดยใช้สถิติไคสแควร์และการทดสอบของฟิชเชอร์ ส่วนอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานเปรียบเทียบโดยคำนวณหาค่าลดลงของความเสี่ยง (risk reduction)</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> ภายหลังการใช้กลยุทธ์หลากหลายวิธี พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีสัดส่วนการปฏิบัติที่ถูกต้องในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 65.94 เป็นร้อยละ 83.47 โดยเพิ่มขึ้นในทุกหมวดกิจกรรม (p&lt;.001) และอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานลดลงจาก 3.12 ครั้ง เป็น 1.53 ครั้งต่อ 1,000 วันนอนหรืออัตราความเสี่ยงลดลงร้อยละ 50.96<strong>&nbsp; &nbsp;</strong></p> <p><strong>ข้อสรุป </strong><strong>: </strong>การใช้กลยุทธ์หลายวิธีสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมการปฏิบัติที่ถูกต้องเพิ่มได้ และอุบัติการณ์การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานมีแนวโน้มลดลง ดังนั้นโรงพยาบาลควรนำวิธีการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการปฏิบัติด้านอื่นต่อไป</p> นริสา ศรีลาชัย Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/269958 Tue, 26 Mar 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส ในโรงพยาบาลมุกดาหาร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/268471 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสในโรงพยาบาลมุกดาหาร</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา:</strong> เป็นการศึกษาแบบ Retrospective study ในกลุ่มผู้ป่วยอายุรกรรม อายุมากกว่า15 ปีขึ้นไป ที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลมุกดาหารด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส (confirmed case) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ถึง 31 ธันวาคม &nbsp;2565&nbsp; โดยศึกษาข้อมูลด้าน อายุ เพศ อาชีพ เดือนที่ป่วย โรคประจำตัวที่เป็นอยู่เดิม ลักษณะอาการทางคลินิก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการรักษาและอัตราการเสียชีวิต วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>พบผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสในโรงพยาบาลมุกดาหาร จำนวน 93 ราย พบเพศชายมากที่สุด &nbsp;ร้อยละ 84.90 อายุระหว่าง 41-60 ปี มากที่สุด ร้อยละ 48.40 ผลการรักษาพบว่าอาการดีขึ้น ร้อยละ 90.30 อัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 9.70 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสอย่างมีนัยสำคัญ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ทางสถิติ คือ อายุ (p=0.04) ระบบหายใจล้มเหลวได้ใช้เครื่องช่วยหายใจ (p=0.00) ภาวะ shock (p=0.00) ระดับ hemoglobin (p=0.01) และ pulmonary hemorrhage (p=0.00) การวิเคราะห์โดย multiple linear regression analysis พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.583 ความสามารถร่วมกันพยากรณ์ผลการรักษาได้ ร้อยละ 34.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยปัจจัยที่นำมาใช้พยากรณ์ผลการรักษาของผู้ป่วย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ (p=0.04) ระบบหายใจล้มเหลวได้ใช้เครื่องช่วยหายใจ (p=0.00) และ pulmonary hemorrhage (p=0.04)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การทราบปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลการรักษาตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยโรคและนำข้อมูลไปปรับใช้เพื่อเฝ้าระวังและรักษาจะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสได้</p> อลงกต สุพร Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/268471 Wed, 17 Jan 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้ยาแอสไพรินสำหรับการป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษในสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงปานกลาง-สูง ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/264014 <p style="font-weight: 400;"><strong>วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาผลของการใช้ยาแอสไพรินสำหรับการป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษในสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงปานกลาง-สูง ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>วิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษารูปแบบ retrospective cohort study โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อสภาวะครรภ์เป็นพิษ ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2565 ใช้สูตรคำนวณขนาดตัวอย่าง ประมาณค่าสัดส่วน 2 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ aspirin และไม่ใช้ aspirin กลุ่มละ 141 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวน และร้อยละ สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ ได้แก่ chi-square test&nbsp; หรือ fisher exact และสถิติindependent t-test วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัย Risk Regression Models รายงานค่า RRและช่วงความเชื่อมั่น 95% CI</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>: </strong>จากการศึกษาสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงปานกลาง-สูง ในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 290 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้ใช้ยา aspirin จำนวน 145 ราย และไม่ได้ใช้ยา aspirin จำนวน 145 ราย กลุ่มที่ได้รับ Aspirin มีภาวะครรภ์เป็นพิษ 9 ราย ร้อยละ 6.20 ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับ Aspirin มีภาวะครรภ์เป็นพิษมากกว่าคือ 12 ราย คิดเป็นร้อยละ20.68 เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลผลการตั้งครรภ์ในกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยา aspirin และพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ได้รับยา aspirin พบความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 35.17 ความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์ร้อยละ 40.00 คลอดแบบผ่าตัดทางหน้าท้อง ร้อยละ 77.93&nbsp; นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยา aspirin อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ร้อยละ 21.38 น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2500 กรัมร้อยละ 15.17&nbsp; Apgar score 1 min ≤ 7 ร้อยละ 11.03 คลอดผ่านช่องคลอด ร้อยละ 20.69 ทารกแรกเกิดมีภาวะวิกฤต ร้อยละ 1.38 และมารดามีภาวะตกเลือดหลังคลอดร้อยละ 2.07 อย่างไรก็ตามพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มที่ได้รับยา aspirin เมื่อวิเคราะห์พหุหลายระดับพบว่าการไม่ได้รับแอสไพรินช่วยเพิ่มการเกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (relative risk 2.02, 95%CI; 1.17-3.45, p=0.01)</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>ข้อสรุป </strong><strong>: </strong>&nbsp;ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ดังนั้นการใช้ยาแอสไพรินสามารถช่วยลดการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษในหญิงตั้งครรภ์ได้</p> วิภา ศันติวิชยะ Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/264014 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาบริการด้านศัลยกรรมตามนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบเครือข่ายเดียว ของจังหวัดนครพนม: กรณีศึกษาโรงพยาบาลศรีสงคราม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/268828 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> : เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาบริการด้านศัลยกรรมตามนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบเครือข่ายเดียวของจังหวัดนครพนมในโรงพยาบาลศรีสงคราม</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong>: การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ดำเนินการศึกษาในโรงพยาบาลศรีสงครามโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาคุณภาพแบบต่อเนื่อง ทำการศึกษาในผู้ป่วยทุกรายที่มารับบริการด้านศัลยกรรมตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566 โดยมีศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลนครพนมออกให้บริการตรวจรักษาและผ่าตัดสัปดาห์ละ 1 วัน จำนวน 1 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบเก็บข้อมูลที่พัฒนาขึ้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินนโยบาย</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> : ในการศึกษานี้พบว่าในช่วงเพียง 1.5 เดือน มีผู้มารับตรวจรักษาบริการศัลยกรรม จำนวน 174 คน เป็นผู้ป่วยนอก จำนวน 156 คน (89.66%) &nbsp;และรับการผ่าตัด จำนวน 18 คน (10.34%) &nbsp;โดยผ่าตัดไส้เลื่อน จำนวน 6 คน (33.33 %) และผ่าตัดก้อนที่เต้านม จำนวน 5 คน (27.78%) มีการให้บริการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบด้วยการฉีดยาชาระงับปวดในผู้ป่วยจำนวน 3 คน ซึ่งเป็นการผ่าตัดครั้งแรกในโรงพยาบาลศรีสงคราม มีการประเมินและเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดผ่านทาง Telemedicine ร่วมกับศัลยแพทย์โรงพยาบาลนครพนม ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จ คือ ปัจจัยด้านบริหาร ได้แก่ นโยบายที่ชัดเจน ผู้บริหารให้ความสำคัญและความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยด้านบริการ ได้แก่ ความพร้อมและ&nbsp;&nbsp;&nbsp; ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์และเครื่องมือที่เพียงพอ และผู้ป่วยได้รับบริการที่มีคุณภาพ สะดวก และรวดเร็ว</p> <p><strong>ข้อสรุป</strong> : การพัฒนาบริการด้านศัลยกรรมตามนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบเครือข่ายเดียว ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการด้านการผ่าตัดที่มีคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญในระดับอำเภอ ประหยัด สะดวก รวดเร็ว และลดความแออัดของผู้รับบริการในโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการขยายโรงพยาบาลเครือข่ายเดียวต่อไป</p> สุภวุฒิ ภูมี Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/268828 Mon, 05 Feb 2024 00:00:00 +0700 บทบรรณาธิการ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/267985 นทวรรณ หุ่นพยนต์ Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลนครพนม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/267985 Thu, 04 Jan 2024 00:00:00 +0700