วารสารโรงพยาบาลนครพนม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9
<p>วารสารโรงพยาบาลนครพนม เป็นวารสารทางด้านแพทย์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ เผยแพร่บทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านการแพทย์ในด้านต่างๆไปสู่บุคลากรด้านสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป เพื่อที่จะนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยหรือดูแลตนเองได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น</p>
โรงพยาบาลนครพนม (Nakhonphanom Hospital)
th-TH
วารสารโรงพยาบาลนครพนม
<ol> <li>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม</li> <li>ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ</li> </ol>
-
ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยการบริหารสายตาต่อความล้า ของสายตาในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/273245
<p><strong> วัตถุประสงค์ของการวิจัย</strong></p> <ol> <li class="show">1. เพื่อศึกษาอาการล้าของสายตาในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา</li> <li class="show">เพื่อเปรียบเทียบความล้าของสายตาในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการบริหารสายตา</li> </ol> <p><strong> </strong></p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (one-group pretest-posttest design) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยการบริหารสายตาต่อความล้าของสายตาในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยศึกษากับบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ทั้งหมด 15 แผนก ที่ทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าสองชั่วโมงต่อวัน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (convenience sampling) จำนวน 53 คน และใช้รูปแบบวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้รับการสอนหนึ่งครั้งเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับการดูแลถนอมสายตา ฝึกบริหารสายตา และร่วมกับนักวิจัยจัดสิ่งแวดล้อมรอบโต๊ะทำงาน จากนั้นให้ฝึกดูแลตนเอง 3 สัปดาห์ ตามที่กำหนดในโปรแกรมโดยใช้แนวคิดระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบประเมินอาการล้าของสายตาของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการทดสอบแมคนีมาร์ </p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> พบว่า คะแนนเฉลี่ยความล้าของสายตาภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม ( = 2.08, SD = 0.70) ลดลงจากก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ( = 2.59, SD = 0.74) อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ( = 0.50, SD = 1.01, 95% CI [0.22, 0.79], p-value = 0.001) นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง 16 คนจาก 53 คน (ร้อยละ 30.2) มีอาการล้าของสายตาก่อนเข้าร่วมโปรแกรม แต่พบเพียง 3 คนจาก 16 คน (ร้อยละ 18.8) ที่ยังคงมีอาการล้าของสายตาภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม ส่วนกลุ่มตัวอย่าง 37 คน (ร้อยละ 69.8) ที่ไม่มีอาการล้าของสายตาก่อนเข้าร่วมโปรแกรม พบว่ามีเพียง 4 คน (ร้อยละ 10.8) ที่มีอาการตาล้าภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยสรุป พบว่ามีกลุ่มตัวอย่าง 7 คนจาก 53 คน (ร้อยละ 12.5) ที่มีอาการล้าของสายตาภายหลังสิ้นสุดโปรแกรม ผลการทดสอบด้วยแมคนีมาร์ พบว่า สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการล้าของสายตาก่อนเข้าร่วมโปรแกรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม (p = 0.049)</p> <p>ข้อสรุป : โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยการบริหารสายตาต่อความล้าของสายตาในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ พบว่าภายหลังการใช้รูปแบบโปรแกรมมีกลุ่มตัวอย่างมีอาการล้าของสายตาลดลง</p>
ทิศมะลี ประสบกิตติคุณ
สุรสิงห์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-20
2024-08-20
11 2
E273245
E273245
-
ผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบจัดการปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/273246
<p><strong>วัตถุประสงค์</strong> (1) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาด้านยาและการจัดการแก้ไขปัญหาด้านยาก่อนและหลังการพัฒนาระบบการจัดการปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง</p> <p>โรงพยาบาลเสิงสาง และ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ก่อนและหลังการพัฒนาระบบการจัดการปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเสิงสาง</p> <p>วัสดุและวิธีการศึกษา เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจำนวน 2 ครั้งในระยะเวลาการศึกษา 4 เดือน และเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากโปรแกรม HOSxP จำนวน 2 ครั้งในระยะเวลาการศึกษา 4 เดือน รวมเป็นระยะเวลา 8 เดือน ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเสิงสาง จำนวน 380 ราย โดยใช้สมการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีใช้ตารางเลขสุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เป็นความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงเปรียบเทียบข้อมูลค่าความดันโลหิต ปัญหาด้านยาและการจัดการปัญหา ก่อนและหลังการพัฒนาระบบโดยใช้สถิติ paired sample t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่าหลังการพัฒนาระบบจัดการปัญหาด้านยา ปัญหาด้านยาถูกค้นพบและจัดการแก้ไขเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.031) ผลลัพธ์ทางคลินิกดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 380 ราย มีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสโทลิกลดลง 4.46 มม.ปรอท (p <0.001) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตไดแอสโทลิกลดลง 3.16 มม.ปรอท (p <0.001) และจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง (ระดับความดันโลหิตซิสโทลิก ≥ 140 มม.ปรอท และ/หรือความดันโลหิตไดแอสโทลิก ≥ 90 มม.ปรอท) ที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ มีจำนวนลดลงหลังการพัฒนาระบบการจัดการปัญหาด้านยาจำนวน 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.19 (p = 0.002)</p> <p> <strong>ข้อสรุป</strong> การพัฒนาระบบจัดการปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพช่วยทำให้ปัญหาด้านยาได้รับการค้นพบและจัดการแก้ไขเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.031) ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางคลินิกดีขึ้นโดยค่าความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) และจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.002) กล่าวได้ว่าการพัฒนาระบบจัดการปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพด้วยการเพิ่มขั้นต้นการค้นหาปัญหาเชิงรุกโดยเภสัชกร การเตรียมแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อแจ้งแพทย์ หรือเสนอแนวทางการแก้ปัญหากับแพทย์โดยเภสัชกร การส่งต่อข้อมูลปัญหาด้านยาร่วมกันระหว่างแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร ช่วยให้การจัดการปัญหาด้านยาในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประสบความสำเร็จเพิ่มมากขึ้น</p> <p> </p>
วิภาวรรณ การค้า
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-08-28
2024-08-28
11 2
E273246
E273246
-
ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการด้านการยศาสตร์ต่อความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ของอาชีพช่างผม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/273248
<p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการด้านการยศาสตร์ต่อความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของอาชีพช่างผม</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเภทกึ่งการทดลอง โดยคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง กรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว วัดผลก่อนและหลัง และคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 34 คน ใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุงวิธีการทำงานของช่างผม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเจ็บปวดของระบบกล้ามเนื้อของ Nordic Musculoskeletal Questionnaire (NMQ) และการวิเคราะห์ท่าทางการทำงาน (Posture analysis) ประกอบการวิเคราะห์ความเสี่ยงของท่าทางการทำงานทั้งร่างกายโดยใช้เทคนิค Rapid Entire Body Assessment (REBA) จากการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired sample t-test และ Wilcoxon signed rank test <br><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผลการใช้โปรแกรมการจัดการด้านการยศาสตร์ต่อความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของอาชีพช่างผม ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนของร่างกาย ประกอบด้วยบ่า/ไหล่ข้างขวา, ข้อศอกข้างขวา, มือและข้อมือทั้งสองข้าง, หลังด้านบน, เข่าข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง มีค่าเฉลี่ยอันดับที่ของค่าเฉลี่ยลำดับที่ของความปวดของกล้ามเนื้อลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05)</p> <p><strong>ข้อสรุป: </strong>การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงสภาพงานผ่านกระบวนการประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ตามลักษณะการของอาชีพช่างผม สามารถลดคะแนนต่อความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการต่อยอดด้านการประยุกต์ใช้โปรแกรมการจัดการด้านการยศาสตร์ต่อความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์แก่อาชีพอื่น ๆ ต่อไป</p>
สุรสิงห์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์
อโณทัย อโณทัย จัตุพร
บุญเลี้ยง สุพิมพ์
ภาสิต ศิริเทศ
สิทธิศักดิ์ ติคำ
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-13
2024-09-13
11 2
E273248
E273248
-
ปัจจัยทางคลินิกและปริมาณรังสีที่มีผลต่อความเป็นพิษทางโลหิตวิทยาในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคสามมิติในโรงพยาบาลขอนแก่น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/273842
<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong></p> <p>เพื่อศึกษาปัจจัยทางคลินิกและปัจจัยด้านรังสีที่มีผลต่อการเกิดความเป็นพิษทางโลหิตวิทยาตั้งแต่ระดับสองขึ้นไปในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคสามมิติ</p> <p><strong>รูปแบบและวิธีวิจัย:</strong></p> <p>เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study)</p> <p>ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยการฉายรังสีร่วมกับให้ยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลขอนแก่น ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563-31 ธันวาคม 2565 คำนวนขนาดตัวอย่างทั้งหมด 84 ราย แบ่งเป็นกลุ่ม ผู้ที่เกิดความเป็นพิษทางโลหิตวิทยา (Toxicity≥G2) จำนวน 42 ราย และกลุ่มไม่เกิด (Toxicity<G2) จำนวน 42 ราย สุ่มเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย และเก็บข้อมูลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ภาพการฉายรังสี และข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติถดถอยพหุลอจิสติก (logistic regression)</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong></p> <p>ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกทั้งหมด 84 ราย แบ่งเป็น Toxicity<G2 42 ราย และ Toxicity≥G2 42 ราย พบปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดความเป็นพิษทางโลหิตวิทยาในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคสามมิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในตัวแบบสุดท้าย ได้แก่ V10 of Bony Pelvis (%) ที่ 97.9±0.29 (Adj. OR=1.34; 95%CI: 1.04-1.72), Hemoglobin pretreatment value ที่ 11.3±0.2 (Adj. OR=0.49; 95%CI: 0.31-0.78)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong></p> <p>ผู้ป่วยที่มีค่า V10 of Bony Pelvis (%) ที่ 97.9±0.29 และ Hemoglobin pretreatment value ที่ 11.3±0.2 มีความเสี่ยงในการเกิดความเป็นพิษทางโลหิตวิทยาตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป เมื่อได้รับยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีด้วยเทคนิคสามมิติ ดังนั้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงอาจได้รับประโยชน์ในการพิจารณาปรับเทคนิคการฉายรังสีเป็นแบบปรับความเข้ม เพื่อลดโอกาสเกิดความเป็นพิษทางโลหิตวิทยาได้ในอนาคต</p>
เขษมพร มโนคุ้น
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-16
2024-09-16
11 2
E273842
E273842
-
ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ตามแนววิถีชีวิตใหม่ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/273896
<p><strong> วัตถุประสงค์ </strong><strong>: </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental research design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ตามแนววิถีชีวิตใหม่ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา </strong><strong>: </strong>กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 คน จำแนกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้ตามแนววิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วยการให้ความรู้โดยใช้สื่อวิดิทัศน์ การแจ้งเตือนการรับประทานยาโดย Application line และติดตามเยี่ยม 3 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรู้เกี่ยวกับไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ แบบประเมินพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค (Cronbach’s alpha coeffecient) มีค่าความเชื่อมันทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ Paired t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>: </strong>ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้โปรแกรมความรู้ตามแนววิถีชีวิตใหม่ในการป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีน ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันในทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.000) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันในทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.000) ส่วนความรู้เกี่ยวกับไอโอดีน พฤติกรรมการปฏิบัติตัวป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ และระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ของทารกแรก เฉลี่ยของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันในทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.00)</p> <p><strong>ข้อสรุป </strong>: โปรแกรมการให้ความรู้ตามแนววิถีชีวิตใหม่ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน สูงขึ้น แตกต่างกันในทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.00) ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง</p>
ปิยวรรณ หาญเวช
วัทธิกร วัทธิกร นาถประนิล
ทศพล อุทก
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-26
2024-09-26
11 2
E273896
E273896
-
การศึกษาความสัมพันธ์ของผลตรวจทางห้องปฏิบัติการกับการการเกิดโรคไตในผู้ป่วยเบาหวานที่มาตรวจติดตามที่โรงพยาบาลนครพนม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/273901
<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong> วัตถุประสงค์ : </strong>เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลตรวจทางห้องปฏิบัติการกับการเกิดโรคไตในผู้ป่วยเบาหวานที่มาตรวจติดตามที่โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม</p> <p> <strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong><strong> :</strong>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลัง (retrospective study) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือผู้ป่วยเบาหวานมาตรวจติดตามที่โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนมตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2566 อายุมากกว่า 18 ปี จำนวน 1459 คน</p> <p> <strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong>กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงร้อยละ 67.6 มีค่ามัธยฐานของระยะเวลาที่ป่วยโรคเบาหวานเท่ากับ 7 ปี มีอุบัติการณ์การเกิดโรคแทรกซ้อนที่ไตปีที่ 1, 2 และ 3 ร้อยละ 36.2, 41.4 และ 44.8 ตามลำดับ เมื่อเวลาผ่านไปพบว่าค่าการทำงานของไตลดลง (eGFR) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.0001) การตรวจวัดระดับ HbA<sub>1</sub>c ที่วัด 1 ครั้งต่อปีกับระดับ HbA<sub>1</sub>c ที่วัดมากกว่า 1 ครั้งต่อปีไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคแทรกซ้อนที่ไตในผู้ป่วยโรคเบาหวาน (<em>p</em> =0.104) พบค่าผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ใช้ตรวจสุขภาพประจำปีที่มีความสัมพันธ์กับค่า Creatinine ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ Male Age Duration of DM Fasting plasma glucose (FBS) และ HbA<sub>1</sub>c ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ใช้ตรวจสุขภาพประจำปีที่มีความสัมพันธ์กับค่า eGFR ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ Age และ Duration of DM ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ใช้ตรวจสุขภาพประจำปีที่มีความสัมพันธ์กับค่า Microalbumin ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ Male และ การตรวจวัด HbA<sub>1</sub>c และจากการศึกษาครั้งนี้เราสามารถคำนวณ predicted HbA<sub>1</sub>c = 4.499+(0.025XFBS ในผู้ป่วยรายที่ไม่สามารถตรวจวัด HbA<sub>1</sub>c ด้วยวิธีมาตรฐานได้และพบว่า predicted HbA<sub>1</sub>c มีความสัมพันธ์กับ HbA<sub>1</sub>c ที่วัดด้วยวิธี POCT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับค่า Hemoglobin glycated index (HGI) มีความสัมพันธ์ที่ต่ำมากกับค่าการทำงานของไต</p> <p><strong>ข้อสรุป </strong><strong>: </strong>แต่อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปต่อยอดสำหรับการทำนายโรคแทรกซ้อนที่ไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งปัจจัยที่สำคัญและการตรวจวิเคราะห์ที่มีข้อจำกัด</p>
วันเพ็ญ เขตขงขวาง
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-26
2024-09-26
11 2
E273901
E273901
-
ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในการดูแลตนเองเพื่อยอมรับวิธีบำบัดทดแทนไต
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/271690
<p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>ศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในการดูแลตนเองเพื่อยอมรับวิธีบำบัดทดแทนไต</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา:</strong> การวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นไตวายเรื้อรังที่มารับการรักษาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาวิธีบำบัดทดแทนไต เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ กำหนดอำนาจทดสอบที่ 0.80 ความเชื่อมั่นที่ 0.05 จำนวน 30 คน เครื่องมือประกอบด้วย 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษาวิธีบำบัดทดแทนไต 2) คู่มือการให้คำปรึกษาวิธีบำบัดทดแทนไต 3) แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเอง และ 4) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการบำบัดทดแทนไต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบ</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ผลการวิจัย พบว่า 1) อัตราการยอมรับวิธีบำบัดทดแทนไตของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในการดูแลตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุม 2) คะแนนเฉลี่ยความรู้กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<strong> </strong></p> <p><strong>ข้อสรุป</strong><strong>:</strong> การให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังด้วยการเสริมแรงมีผลต่อการยอมรับบำบัดทดแทนไต ดังนั้นทีมสุขภาพควรให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังด้วยการเสริมแรงเพื่อช่วยส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการจัดการตนเองให้ดียิ่งขึ้น</p>
รุจลินทร์ มีเพียร
กชณากาญ ดวงมาตย์พล
ภัทรศรี พิมทา
สุภัตรา แสนมี
นภชนก รักษาเคน
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-17
2024-06-17
11 2
E271690
E271690
-
ผลของการพัฒนาเครือข่ายการประเมินผู้ป่วยและกู้ชีพเบื้องต้นระดับอำเภอ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/274189
<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อพัฒนาเครือข่ายการประเมินผู้ป่วยและกู้ชีพเบื้องต้น และเพื่อประเมินผลการพัฒนาเครือข่ายการประเมินผู้ป่วยและกู้ชีพเบื้องต้น โรงพยาบาลกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ: </strong>เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ เครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวน 117 คน และผู้ป่วย จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ได้แก่ ความรู้ การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Wilcoxon Signed Ranks Test</p> <p><strong>ผลการวิจัย:</strong> พบว่าผลการพัฒนาเครือข่ายการประเมินผู้ป่วยและกู้ชีพเบื้องต้น ได้แก่ ด้านการวางแผนโดยพัฒนาคู่มือแนวปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยและกู้ชีพเบื้องต้น ด้านปฏิบัติการที่จุดเกิดเหตุโดยการประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินและประสานแจ้งทีมปฏิบัติการ ด้านการปฏิบัติงานกู้ชีพเบื้องต้นและด้านการส่งต่อผู้ป่วย โดยพบว่าผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการช่วยเหลือตามมาตรฐาน หลังพัฒนาเครือข่ายมีความรู้โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) มีส่วนร่วมบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และเครือข่ายมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับปานกลาง (43.44±8.92) ผลการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน พบว่า มีผู้เข้าช่วยเหลือถึงจุดเกิดเหตุภายใน 8 นาที ร้อยละ 87.5 โดยการแจ้งสายด่วน 1669 ร้อยละ 46.9 การช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้น ร้อยละ 25.0 การช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ ร้อยละ 9.4 ระยะเวลารักษาในห้องฉุกเฉิน 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ 81.3 ระยะเวลาแรกรับถึงส่งต่อ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ 84.4</p> <p><strong>ข้อสรุป</strong><strong>:</strong> การพัฒนาเครือข่ายการประเมินผู้ป่วยและกู้ชีพเบื้องต้นระดับอำเภอครั้งนี้ ทำให้เครือข่ายมีทักษะการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นและผู้ป่วยได้รับดูแลที่จุดเกิดเหตุใน 8 นาที</p>
ดวงฤทัย โนวฤทธิ์
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-07
2024-10-07
11 2
274189
274189
-
การเปรียบเทียบกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบร่วมกับการติดเชื้อในกระแสเลือดที่ใช้ท่อช่วยหายใจ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/271180
<p> กลุ่มผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะปอดอักเสบร่วมกับติดเชื้อในกระแสเลือด ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาร่วมกับการใส่ท่อหลอดลมคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และลดอัตราการเสียชีวิตลงได้</p> <p> การศึกษาครั้งนี้นำกรอบแนวคิดทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็มมาประยุกต์ใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะปอดอักเสบร่วมกับติดเชื้อในกระแสเลือด ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาร่วมกับการใส่ท่อหลอดลมคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยใช้ทฤษฎีระบบการพยาบาล 3 ระยะ คือ 1) ระยะทดแทนทั้งหมด 2) ระยะทดแทนบางส่วน และ 3) ระยะการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้โดยนำมาใช้ในการดูแล กรณีศึกษา 2 ราย เพศชาย อายุ 74 ปี และ อายุ 96 ปี ได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวะภาวะปอดอักเสบร่วมกับติดเชื้อในกระแสเลือด ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล 19 วัน และ 22 วัน ตามลำดับ ปัญหาทางการพยาบาลแบ่งเป็น ระยะแรกรับไว้ในโรงพยาบาลแบ่งเป็นหอผู้ป่วยในทั่วไป ระยะวิกฤตในช่วงการได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ การหย่า เครื่องช่วยหายใจ หลังหย่าเครื่องช่วยหายใจ และส่งต่อไปรับการรักษา อย่างต่อเนื่องเพื่อวางแผนจำหน่าย ผลลัพธ์ภายหลังการดูแลผู้ป่วยรายแรกได้รับการดูแลระยะแรกด้วยระบบการพยาบาลแบบทดแทนบางส่วน ต่อมาอาการแย่ลงอยู่ในขั้นวิกฤตได้รับการดูแลด้วยระบบการพยาบาลทดแทนทั้งหมด และเสียชีวิตอย่างสงบเนื่องจากมีการดำเนินของโรคที่แย่ลงจากภาวะติดเชื้อดื้อยา ส่วนรายที่สอง พบว่า ผู้ป่วยสามารถผ่านภาวะวิกฤตได้อย่างปลอดภัย ไม่เกิด ภาวะแทรกซ้อนขณะรับการรักษาและฟื้นหายจากภาวะเจ็บป่วย สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้</p>
สุชาดา เดชพิทักษ์
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-09-20
2024-09-20
11 2
E271180
E271180
-
บทบรรณาธิการ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/271682
พญ.นทวรรณ หุ่นพยนต์
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-06-11
2024-06-11
11 2
e271682
e271682