https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/issue/feed
วารสารโรงพยาบาลนครพนม
2024-12-20T12:49:11+07:00
แพทย์หญิงนทวรรณ หุ่นพยนต์
nkpjournal_9@hotmail.com
Open Journal Systems
<p>วารสารโรงพยาบาลนครพนม เป็นวารสารทางด้านแพทย์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ เผยแพร่บทความวิจัย (Research articles) บทความวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้านการแพทย์ในด้านต่างๆไปสู่บุคลากรด้านสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป เพื่อที่จะนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยหรือดูแลตนเองได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น</p>
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/274282
การดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในหญิงคลอดปกติครบกำหนดทางช่องคลอด โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2565
2024-10-04T09:49:05+07:00
จิตรลดา ผลาพฤกษ์
kay5756@gmail.com
<p><strong>ความเป็นมา</strong><strong>:</strong> โรงพยาบาลนครพนมได้ดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในหญิงคลอดปกติครบกำหนดทางช่องคลอด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) ที่ได้รับนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้การประยุกต์ใช้กระบวนการ PAOR เป็น กรอบแนวคิดในการดำเนินการ ทั้งหมด 3 วงรอบ ระหว่างปี 2560-2565 </p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของกระทรวงสาธารณสุขต่อปริมาณการใช้ ยาปฏิชีวนะในหญิงคลอดปกติฯ โรงพยาบาลนครพนม</p> <p><strong>ระเบียบวิธีศึกษา</strong><strong>: </strong>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ระยะเวลาในการทำการวิจัย ดำเนินการ 3 วงรอบ ระหว่างปี 2560-2565 นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาเป็นจำนวน ร้อยละ เปรียบเทียบอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะก่อนและหลังการพัฒนาการดำเนินงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแจงนับ (Categorical data) ที่เป็นอิสระต่อกันจะใช้สถิติ Chi-Square</p> <p> <strong>ผลการศึกษา </strong>การไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนาที่มีการไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเพียงร้อยละ 2.2 ในปี พ.ศ. 2559 ค่อยๆเพิ่มเป็นร้อยละ 49.3 , 73.7 , 90.2 , 88.2, 98.2 จากปี พ.ศ. 2560 ถึงปี พ.ศ. 2564 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบในแต่วงรอบของกระบวนการ PAOR พบว่าการไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 เมื่อเปรียบเทียบวงรอบที่ 1 กับวงรอบที่ 2 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.54 เมื่อเปรียบเทียบวงรอบที่ 2 กับวงรอบที่ 3; p<0.001) และเมื่อเปรียบเทียบภาพรวมก่อนดำเนินการในปี 2559 และหลังดำเนินการ ปี 2560-2564 พบว่าการไม่ใช้ยาปฏิชีวนะจากเดิมก่อนการดำเนินการที่มีเพียงร้อยละ 2.22 เพิ่มเป็น ร้อยละ83.54 เปอร์เซนต์ โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong> การดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้การผสมผสานกระบวนการต่างๆร่วมกัน และการประยุกต์ใช้กระบวนการ PAOR model สามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงคลอดปกติฯ ได้จริง โดยข้อมูลที่ได้จะสามารถใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน การแก้ปัญหา อุปสรรค และการพัฒนาการดำเนินงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในยาตัวอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป</p>
2024-12-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/274287
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
2024-10-04T10:10:36+07:00
หทัย ธาตุทำเล
angkanapoom@hotmail.com
<p><strong>ความสำคัญ: </strong>การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ต้องมีการประสานเชื่อมโยงกันอย่างครบวงจร ให้สามารถจัดการระบบ stroke fast track และบริหารยา rt-PA ให้ผู้ป่วยได้เป็นผลสำเร็จ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร เปรียบเทียบศักยภาพของเครือข่าย และผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ: </strong>เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรเครือข่าย จำนวน 88 คน และผู้ป่วย จำนวน 37 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย และแบบสอบถามเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา t-test และ prevalence ratio</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>พบว่าผลของการพัฒนาคู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA มีดังนี้ pre-hospital โดยการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย in-hospital โดย case meeting เป็น individual case, stroke mobile team, inter-hospital ได้แก่ พัฒนาระบบ consult ในโรงพยาบาลและเครือข่าย ระบบสื่อสาร group line ช่องทางด่วนในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง และ post-hospital คือ วางแผนจำหน่าย หลังพัฒนาเครือข่ายมีศักยภาพการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD= -17.591, p<0.001) ผู้ป่วยมีผลการรักษาดีขึ้น ร้อยละ 70.3 มีภาวะทุพพลภาพหลงเหลือในวันจำหน่าย ร้อยละ 24.3 และไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ความชุกสัมพัทธ์ที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ จำนวนวันนอน (PR=3.37) น้ำตาลในเลือด (PR=3.64) ความดันโลหิต (PR=5.87) ระยะเวลารับบริการผ่านเกณฑ์ชี้วัด ได้แก่ ระยะรอผลตรวจเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์สมอง <30 นาที ร้อยละ 83.8 ระยะได้รับยาละลายลิ่มเลือด <60 นาที ร้อยละ 91.9 ระยะเริ่มมีอาการถึงได้รับยาละลายลิ่มเลือด ≤4.5 ชั่วโมง ร้อยละ 94.6 การติดตามผู้ป่วยหลังพัฒนา 3 เดือน อาการทางระบบประสาทดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD=-21.648, p-value<0.001)</p> <p><strong>ข้อสรุป: </strong>การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร เครือข่ายบริการ โรงพยาบาลหนองหาน ให้บริการผ่านเกณฑ์เป้าหมาย และเกิดผลลัพธ์ที่ดีแก่ผู้ป่วย</p>
2024-10-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/266397
ค่า Monocyte distribution width (MDW) สำหรับทำนายการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมุกดาหาร
2023-10-04T14:34:13+07:00
ยุทธพล มั่นคง
training1016nkp@gmail.com
พนิดา กัณณิกาภรณ์
training1016nkp@gmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาค่า Monocyte distribution width (MDW) สำหรับทำนายการติดเชื้อแบคทีเรีย ในกระแสเลือดในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมุกดาหาร</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาย้อนหลังเชิงวิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจเพาะเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดและข้อมูลทางโลหิตวิทยาตรวจด้วยเครื่องวิเคราะห์เม็ดเลือดอัตโนมัติ Beckman Coulter<sup>®</sup> DxH 800 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด กลุ่มผู้ป่วยผลตรวจเพาะเชื้อแบคทีเรียในเลือดเป็นลบ และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 76, 433, 140 ราย ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Median, Independent T-test, Mann-Whitney U test, Receiver Operating Characteristic curve</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> พบว่าผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดมีสัดส่วนเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 59.2 และ 40.8 ตามลำดับ อายุเฉลี่ย 61.8±16.5 ปี ส่วนใหญ่ติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบมากถึงร้อยละ 73.7 สามอันดับแรกของแบคทีเรียแกรมลบคือเชื้อ <em>Escherichia coli</em>, <em>Burkholderia pseudomallei</em> และ<em> Klebsiella pneumoniae</em> คิดเป็นร้อยละ 19.7, 15.8 และ 11.8 ตามลำดับ มีค่า Monocyte distribution width (MDW), Mean Monocyte volume (MMoV) และ Monocyte Sepsis Index (MoSI) เฉลี่ย, 28.5±5.8, 190.1±15.9 และ 54.6±13.3 สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.001) เชื้อ <em>Burkholderia pseudomallei</em> มีค่า MDW เฉลี่ย 28.4±5.6 เมื่อพิจารณาระหว่างกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดกับกลุ่มควบคุม พบว่าค่า Cut off ของ MDW, MMoV, MoSI ที่ 24.2, 181.5, 41.7มีความไวในการทำนายการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ร้อยละ 78.9, 72.4, 85.5 และความจำเพาะ ร้อยละ 96.4, 96.4, 95.0 พื้นที่ใต้เส้นโค้ง 0.956, 0.909, 0.964 ตามลำดับ</p> <p><strong>ข้อสรุป:</strong> การพิจารณาค่า Cut off ของ MDW, MMoV, MoSI ที่เหมาะสมประกอบกับข้อมูลทางคลินิกจะช่วยทำนายการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดได้ โดยค่า MDW และ MoSI มีประสิทธิภาพทำนายการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดได้ดีกว่าค่า MMoV</p>
2024-12-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/271798
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสงขลา
2024-06-14T15:25:19+07:00
ศรัณยู สุวรรณสะอาด
s.saranyoo@gmail.com
<p style="font-weight: 400;"><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p style="font-weight: 400;"><strong>บทนำ</strong><strong>:</strong>การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสงขลา เป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการเข้าถึงการรักษาที่รวดเร็วได้มาตรฐาน รวมถึงเพิ่มความพึงพอใจในการรับบริการ</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสงขลา ประเมินผลการดำเนินการทางด้านการรักษาและความรวดเร็วในการเข้าถึงการตรวจรักษา รวมถึงความพึงพอใจในการรับบริการ</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>วิธีการศึกษา</strong>: เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสงขลา ตั้งแต่1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>ผลการศึกษา</strong>: ประชากรในการศึกษานี้จำนวนทั้งสิ้น 386 คน พบว่า ระยะเวลารอคอยในการเข้ารับการรักษาอยู่ในระดับเดียวกับเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลาในการอคอยของประเทศออสเตรเลีย แต่ในผู้ป่วยทั่วไป(ขาว)พบว่าการให้บริการตามรูปแบบนี้มีระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.00) , อัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินระดับที่ 1 ที่รับบริการในโรงพยาบาลในช่วง 24 ชั่วโมงแรกมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับ 6 เดือนก่อนเริ่มทำโครงการ (p-value=0.11), ความพึงพอใจต่อการบริการในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากในทุกด้าน โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในทุกด้านของการให้บริการคือ โรงพยาบาลที่รับบริการ(p-value=0.00) ระยะเวลารอคอย(p-value=0.00) และการรู้จักการแพทย์ฉุกเฉิน(p-value=0.00)</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>สรุป</strong>: การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสงขลาสามารถลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินระดับที่ 1 ที่รับบริการในโรงพยาบาลในช่วง 24 ชั่วโมงแรกได้ โดยมีระยะเวลารอคอยตรวจที่ได้มาตรฐาน และมีความพึงพอในการรับบริการห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสงขลาที่ดีมาก</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>คำสำคัญ</strong>: การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน, โรงพยาบาลชุมชน, สงขลา</p>
2024-12-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/275895
ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในหน่วยเคมีบำบัด
2024-12-12T12:27:13+07:00
เมตตา ศิลา
Chaisurametta@gmail.com
<p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>: เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตและเปรียบเทียบผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ตามแนวทางการปฏิบัติเดิมก่อนที่ได้รับการดูแล และหลังดำเนินการดูแลตามแนวทางปฏิบัติใหม่ ในรูปแบบ Palliative Chemotherapy ร่วมกับ Palliative care</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการศึกษา</strong> : การวิจัย health intervention study รูปแบบ Prospective before and after design ศึกษาที่หน่วยงานเคมีบำบัด โรงพยาบาลนครพม ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 ถึง มีนาคม 2567 ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจำนวน 11 ราย ก่อนการได้รับ intervention ที่เป็นการดูแลตามแนวทางปฏิบัติเดิม และ หลังได้รับ intervention ที่เป็นการดูแลตามแนวทางปฏิบัติใหม่</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> : กลุ่มศึกษาเป็นมะเร็งลำไส้ 5 คน ร้อยละ 45.4 มะเร็งเต้านม 6 คน ร้อยละ 54.6 ผลของการเปลี่ยนแปลงค่าคะแนนผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองก่อนและหลังไม่แตกต่างกัน แต่การเพิ่มขึ้นของระดับคะแนนคุณภาพชีวิตต่อวัน ในวันที่ 1 วันที่ 7 และวันที่ 30 หลังได้รับ intervention (0.14; 95%CI 0.10, 0.17) แตกต่างจากก่อนได้รับ intervention (-0.05; 95%CI -0.09, -0.01) ที่ ระดับนัยสำคัญ p < 0.001 ส่วนคะแนนการประเมินตนเองคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม การเพิ่มขึ้นของคะแนน ก่อน (-0.02; 95%CI -0.16, 0.11) และ หลัง (0.07; -0.06, 0.20) ไม่แตกต่างกัน p = 0.179</p> <p><strong>ข้อสรุป </strong><strong>: </strong>ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ตามแนวทางการปฏิบัติเดิมก่อนที่ได้รับการดูแล และ หลังดำเนินการดูแลตามแนวทางปฏิบัติใหม่ ไม่แตกต่างกัน แต่การเพิ่มขึ้นของระดับคะแนนคุณภาพชีวิตหลังการใช้ แบบ Palliative Chemotherapy เพิ่มขึ้น ส่วนคะแนนการประเมินตนเองคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม ไม่แตกต่างกัน</p>
2024-12-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/273869
ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย
2024-09-15T01:53:58+07:00
เนติลักษณ์ ศิลาอุดมกิจ
silaudomkit.netiluck2023@gmail.com
สุปราณี ยอดรักษ์
silaudomkit.netiluck2023@gmail.com
<p class="whitespace-pre-wrap"><strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">วัตถุประสงค์:</span></strong><span lang="TH" style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;"> เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย <br><strong>แบบวิจัย:</strong> การวิจัยแบบภาคตัดขวาง <br><strong><span style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">วัสดุและวิธีการ:</span></strong> กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน </span><span style="font-size: 16.0pt; font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">368 <span lang="TH">คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการถดถอยโลจิสติกทวิ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ </span>0.05 <br><strong><span lang="TH" style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">ผลการศึกษา:</span></strong><span lang="TH"> พบความชุกของภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุร้อยละ </span>21.20 <span lang="TH">ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศหญิง (</span>AOR=4.42,95%CI=1.96-9.98), <span lang="TH">ความไม่เพียงพอของรายได้ (</span>AOR=0.47,95%CI=0.23-0.97) <span lang="TH">และภาวะซึมเศร้า (</span>AOR=2.88,95%CI=1.36-6.10) <span lang="TH"><br><strong><span style="font-family: 'TH SarabunPSK',sans-serif;">สรุป:</span></strong> พบความชุกภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุค่อนข้างสูง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ เพศ ความเพียงพอของรายได้ และการมีภาวะซึมเศร้า ควรเฝ้าระวังและจัดการปัจจัยเสี่ยงเพื่อส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับในผู้สูงอายุกลุ่มนี้</span></span></p>
2024-12-16T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/274281
ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครพนม
2024-10-04T09:02:48+07:00
นิตยา ฉายฉันท์
Nitaya.c@ku.th
พัสกร องอาจ
passakorn.on@ku.th
อนันต์ อีฟติคาร
Nitaya.c@ku.th
<p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong> :</strong> เพื่อศึกษาประสิทธิผลของประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครพนม</p> <p><strong>วิธีการศึกษา </strong><strong>:</strong> เป็นการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออกที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้ Paired Sample t-test</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong><strong>:</strong> พบว่า หลังให้โปรแกรมสุขศึกษา ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ทัศนคติ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. 2ส. มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนให้<br>โปรแกรมสุขศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p><strong>สรุป</strong><strong> :</strong> ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในส่งเสริมสุขภาพ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ต่อไป</p>
2024-12-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/274357
บทบรรณาธิการ
2024-10-07T14:16:52+07:00
นทวรรณ หุ่นพยนต์
training1016nkp@gmail.com
2024-10-07T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/274128
กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
2024-09-27T14:05:10+07:00
เมธาพร เมธาพิศาล
methaporn252883@gmail.com
<p>โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคระบบทางประสาทที่พบได้บ่อย สาเหตุอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต หรือความพิการอันส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย จึงเน้นการดูแลผู้ป่วยให้มีผลรับการดูแลที่ดีขึ้น ลดภาวะพึ่งพิง ดูแลผู้ป่วยโดยยึดผู้ป่วยเป็นสำคัญ เน้นการทำงานโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการและได้รับการดูแลต่อเนื่อง</p>
2024-12-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม