ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคองในหน่วยเคมีบำบัด

ผู้แต่ง

  • เมตตา ศิลา โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต,ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย, การดูแลด้วยยาเคมีบำบัดแบบประคับประคอง, คะแนนผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง, เคมีบำบัด, chemotherapy

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตและเปรียบเทียบผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ตามแนวทางการปฏิบัติเดิมก่อนที่ได้รับการดูแล และหลังดำเนินการดูแลตามแนวทางปฏิบัติใหม่ ในรูปแบบ Palliative Chemotherapy ร่วมกับ Palliative care

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัย health intervention study รูปแบบ Prospective before and after design ศึกษาที่หน่วยงานเคมีบำบัด โรงพยาบาลนครพม ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 ถึง มีนาคม 2567  ในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจำนวน 11 ราย ก่อนการได้รับ intervention ที่เป็นการดูแลตามแนวทางปฏิบัติเดิม และ หลังได้รับ intervention ที่เป็นการดูแลตามแนวทางปฏิบัติใหม่

ผลการศึกษา : กลุ่มศึกษาเป็นมะเร็งลำไส้ 5 คน ร้อยละ 45.4 มะเร็งเต้านม 6 คน ร้อยละ  54.6 ผลของการเปลี่ยนแปลงค่าคะแนนผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองก่อนและหลังไม่แตกต่างกัน แต่การเพิ่มขึ้นของระดับคะแนนคุณภาพชีวิตต่อวัน ในวันที่ 1 วันที่ 7 และวันที่ 30 หลังได้รับ intervention (0.14; 95%CI 0.10, 0.17) แตกต่างจากก่อนได้รับ intervention (-0.05; 95%CI -0.09, -0.01) ที่ ระดับนัยสำคัญ p < 0.001 ส่วนคะแนนการประเมินตนเองคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม การเพิ่มขึ้นของคะแนน ก่อน         (-0.02; 95%CI -0.16, 0.11) และ หลัง (0.07; -0.06, 0.20) ไม่แตกต่างกัน p = 0.179

ข้อสรุป : ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ตามแนวทางการปฏิบัติเดิมก่อนที่ได้รับการดูแล และ หลังดำเนินการดูแลตามแนวทางปฏิบัติใหม่ ไม่แตกต่างกัน แต่การเพิ่มขึ้นของระดับคะแนนคุณภาพชีวิตหลังการใช้ แบบ Palliative Chemotherapy เพิ่มขึ้น ส่วนคะแนนการประเมินตนเองคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม ไม่แตกต่างกัน

References

World Health Organization (WHO). 2020. definition of palliative care. Available from: https://www.who.int/ news-room/fact-sheets/detail/palliative-care

สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2561กองยุทธศาสตร์และแผน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

หน่วยงานPalliative care โรงพยาบาลนครพนม.รายงานสถิติผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ปีงบประมาณ 2564-2566.นครพนม:โรงพยาบาลนครพนม;2566

วารุณี มีเจริญ. (2014). ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง:การปรับตัวต่อบทบาทและการส่งเสริมคุณภาพชีวิต. Ramathibodi Nursing Journal, 20(1), 10-22.

ลดารัตน์ สาภินันท์.(2556).คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง.ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์,วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล ,วนิดา พุ่มไพศาลชัย และคณะ.เครื่องมือชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย.2545.

ชุติมา จันทร์สมคอย, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และวัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์.(ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยพื้นฐานบางประการความรุนแรงของอาการพฤติกรรมการดูแลตนเองแบบประคับประคองกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งระยะลุกลามที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด.. ....

วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19(ฉบับพิเศษ): 108-117.ม

วิภาดา พึ่งสุข,พิษณุรักษ์ กันทวี,ภัทรพล มากมี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองในระยะสุดท้าย จังหวัดเชียงราย. ว.พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562; 29(2):116-128.

เข็มทอง ตรีเนตรไพบูลย์,เอมอร ส่วยสม และอนัญญา ลาลุน..ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. Udonthani Hospital Medical Journal 2023;31(2):251-261.U

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13