การดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในหญิงคลอดปกติครบกำหนดทางช่องคลอด โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างปี พ.ศ. 2560-2565

ผู้แต่ง

  • จิตรลดา ผลาพฤกษ์ โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

การใช้ยาอย่างสมเหตุผล, การใช้ยาปฏิชีวนะ, หญิงคลอดปกติครบกำหนดทางช่องคลอด

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรงพยาบาลนครพนมได้ดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในหญิงคลอดปกติครบกำหนดทางช่องคลอด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) ที่ได้รับนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้การประยุกต์ใช้กระบวนการ PAOR เป็น กรอบแนวคิดในการดำเนินการ ทั้งหมด 3 วงรอบ ระหว่างปี 2560-2565 

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของกระทรวงสาธารณสุขต่อปริมาณการใช้ ยาปฏิชีวนะในหญิงคลอดปกติฯ โรงพยาบาลนครพนม

ระเบียบวิธีศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ระยะเวลาในการทำการวิจัย ดำเนินการ 3 วงรอบ ระหว่างปี 2560-2565 นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณาเป็นจำนวน ร้อยละ เปรียบเทียบอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะก่อนและหลังการพัฒนาการดำเนินงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแจงนับ (Categorical data) ที่เป็นอิสระต่อกันจะใช้สถิติ Chi-Square

 ผลการศึกษา การไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนาที่มีการไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเพียงร้อยละ 2.2 ในปี พ.ศ. 2559 ค่อยๆเพิ่มเป็นร้อยละ 49.3 , 73.7 , 90.2 , 88.2, 98.2  จากปี พ.ศ. 2560 ถึงปี พ.ศ. 2564 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบในแต่วงรอบของกระบวนการ PAOR พบว่าการไม่ใช้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8  เมื่อเปรียบเทียบวงรอบที่ 1 กับวงรอบที่ 2 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.54 เมื่อเปรียบเทียบวงรอบที่ 2 กับวงรอบที่ 3; p<0.001)   และเมื่อเปรียบเทียบภาพรวมก่อนดำเนินการในปี 2559 และหลังดำเนินการ ปี 2560-2564 พบว่าการไม่ใช้ยาปฏิชีวนะจากเดิมก่อนการดำเนินการที่มีเพียงร้อยละ 2.22  เพิ่มเป็น ร้อยละ83.54 เปอร์เซนต์ โดยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)

สรุปและข้อเสนอแนะ การดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้การผสมผสานกระบวนการต่างๆร่วมกัน และการประยุกต์ใช้กระบวนการ PAOR model สามารถลดการใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงคลอดปกติฯ ได้จริง โดยข้อมูลที่ได้จะสามารถใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน การแก้ปัญหา อุปสรรค และการพัฒนาการดำเนินงานการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในยาตัวอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

References

World Health Organization. WHO Recommendations for Prevention and Treatment of Maternal Peripartum Infections [Internet]. 2015 [cited 2023 Aug 6]. Available from: https:// www.who.int/ publications/i/item/9789241549363

Trasande L, Blustein J, Liu M, Corwin E, Cox LM, Blaser MJ. Infant antibiotic exposures and early-life body mass. Int J Obes. 2013 Jan;37(1):16–23.

Yamamoto-Hanada K, Yang L, Narita M, Saito H, Ohya Y. Influence of antibiotic use in early childhood on asthma and allergic diseases at age 5. Ann Allergy Asthma Immunol Off Publ Am Coll Allergy Asthma Immunol. 2017 Jul;119(1):54–8.

กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ. service-plan-RDU.pdf [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 6 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://mrd-hss.moph.go.th/mrd1_hss/wp-content/uploads/2019/04/service-plan-RDU.pdf

จิราพรรณ เรืองรอง, ยศ ตีระวัฒนานนท์, อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส. การศึกษามาตรการส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุสมผลในโรงพยาบาลในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP); 2552 Sep [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/2858

ธนิสา กฤษฎาธาร, จีรติการณ์ พิทาคํา, วีรวิทย์ ปิยะมงคล. การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในหญิงคลอดปกติครบกําหนดทางช่องคลอด ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่เวชสาร 2562; 58: 233-243.

โสภาพรรณ พวงบุญมี, พรศรี ดิสรเตติวัฒน์, สมมาตร บำรุงพืช, นิตยา โรจนนิรันดร์กิจ. ผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้ยาปฏิชีวนะในสตรีคลอดทางช่องคลอดในโรงพยาบาลรามาธิบดี. Rama Med J. 2019; 42: 12-23.

ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, พิริยา ติยาภักดิ์, สุภาพร สุภาทวีวัฒน์, ศราวุธ มิทะลา, สุรศักดิ์ ไชยสงค์. ผลการดำเนินงานตามนโยบายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในหญิงคลอดปกติ โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2562; 13: 261-270.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University Press; 1992

สัญชัย ปลื้มสุด, ยอดพร โพธิดอกไม้, ทวีวุฒิ ประธานราษฎร์, บัณฑิต พิทักษ์. ประสิทธิผลของการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ในโรงพยาบาลชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565; 31 Suppl 1:S127–34.

นพคุณ ธรรมธัชอารี, นุชรินทร์ โตมาชา, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. การขับเคลื่อนนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2565; 16: 281-288.

Ranji SR, Steinman MA, Shojania KG, Gonzales R. Interventions to reduce unnecessary antibiotic prescribing: a systematic review and quantitative analysis. Med Care. 2008 Aug;46(8):847–62.

Zhen L, Jin C, Xu H nan. The impact of prescriptions audit and feedback for antibiotic use in rural clinics: interrupted time series with segmented regression analysis. BMC Health Serv Res. 2018 Oct 16;18(1):777.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-13