ผลของการพัฒนาเครือข่ายการประเมินผู้ป่วยและกู้ชีพเบื้องต้นระดับอำเภอ

ผู้แต่ง

  • ดวงฤทัย โนวฤทธิ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาเครือข่าย, การประเมินผู้ป่วย, กู้ชีพเบื้องต้น, ระดับอำเภอ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาเครือข่ายการประเมินผู้ป่วยและกู้ชีพเบื้องต้น และเพื่อประเมินผลการพัฒนาเครือข่ายการประเมินผู้ป่วยและกู้ชีพเบื้องต้น โรงพยาบาลกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี

วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ เครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวน 117 คน และผู้ป่วย จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ได้แก่ ความรู้ การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Wilcoxon Signed Ranks Test

ผลการวิจัย: พบว่าผลการพัฒนาเครือข่ายการประเมินผู้ป่วยและกู้ชีพเบื้องต้น ได้แก่ ด้านการวางแผนโดยพัฒนาคู่มือแนวปฏิบัติการประเมินผู้ป่วยและกู้ชีพเบื้องต้น ด้านปฏิบัติการที่จุดเกิดเหตุโดยการประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินและประสานแจ้งทีมปฏิบัติการ ด้านการปฏิบัติงานกู้ชีพเบื้องต้นและด้านการส่งต่อผู้ป่วย โดยพบว่าผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการช่วยเหลือตามมาตรฐาน หลังพัฒนาเครือข่ายมีความรู้โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) มีส่วนร่วมบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และเครือข่ายมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับปานกลาง (43.44±8.92) ผลการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน พบว่า มีผู้เข้าช่วยเหลือถึงจุดเกิดเหตุภายใน 8 นาที ร้อยละ 87.5 โดยการแจ้งสายด่วน 1669 ร้อยละ 46.9 การช่วยเหลือปฐมพยาบาลเบื้องต้น ร้อยละ 25.0 การช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ ร้อยละ 9.4 ระยะเวลารักษาในห้องฉุกเฉิน 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ 81.3 ระยะเวลาแรกรับถึงส่งต่อ 30 นาทีขึ้นไป ร้อยละ 84.4

ข้อสรุป: การพัฒนาเครือข่ายการประเมินผู้ป่วยและกู้ชีพเบื้องต้นระดับอำเภอครั้งนี้ ทำให้เครือข่ายมีทักษะการปฏิบัติงานตามมาตรฐานบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพิ่มขึ้นและผู้ป่วยได้รับดูแลที่จุดเกิดเหตุใน 8 นาที

References

World Health Organization. Global status report on road safety. [Internet]. 2022. [cited 2024 April 9]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item

แจ่มจันทร์ เทศสิงห์, จีระวรรณ ศรีจันทร์ไชย, ชาติธนา ปัตตาลาโพธิ์, สมัย ทองพูล. สถานการณ์และผลกระทบของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่เทศบาลตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2565; 4(2): 241-53.

Kyle MA, Tipirneni R, Thakore N, Dave S, Ganguli I. Primary Care Access During the COVID-19 Pandemic:a Simulated Patient Study. J Gen Intern Med 2021;36(12):3766–71.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562 – 2564 (ฉบับปรับปรุงจากแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ 2560-2564). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2565.

โรงพยาบาลกู่แก้ว. ข้อมูลระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center: HDC) ปีงบประมาณ 2566. [อินเตอร์เน็ต]. 2567. [เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://udpho.moph.go.th/?tag

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2557.

พิไลวรรณ บุญล้น, สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์. แรงจูงใจการทำงานจิตอาสาตามหลักพุทธจิตวิทยาของบุคคลหลากหลายอาชีพในสังคมไทย. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ 2564;7(1): 71-86.

สมชาย กาญจนสุด. คู่มือปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลสำหรับชุดปฏิบัติการทุกระดับ. นนทบุรี: สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, 2560.

คู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 8 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงจาก: https://www.niems.go.th/1/Ebook/Detail

คู่มืออาสาชุมชน 1669. นนทบุรี:สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. [อินเตอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 8 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงจาก: https://www.niems.go.th/1/Upload/migrate

พีระศักดิ์ เลิศตระการนนท์, พนาไพร คุ้มสะดวก, สุภาวดี พุฒิหน่อย, สุจิตรพร เลอศิลป์. การพัฒนาระบบและศักยภาพของอาสาฉุกเฉินชุมชนในเขตเมืองเพื่อการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินในผู้สูงอายุ. หน่วยบริหารจัดการและส่งมอบผลลัพธ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564.

Bloom BS. What We Are Learning about Teaching and Learning: A Summary of Recent Research. Principal; 1986.

ยุภาวดี คงดา, มุมตาส มีระมาน, กัลยา ตันสกุล. การศึกษาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพัทลุง. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10, 2562: 1515-28.

Likert R. "The Method of Constructing an Attitude Scale," Reading in Attitude Theory and Measurement. edited by Martin Fishbein. New York: John Wiley & Son; 1967.

Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.; 1977.

โชคชัย ขวัญพิชิต, ประณีต ส่งวัฒนา, รวีวรรณ ชุนถนอม, วิภา แซ่เซี้ย, ลัพณา กิจรุ่งโรจน์. รายงานการวิจัยรูปแบบในการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.); 2561.

บัวบาน ปักการะโต, สหัศถญา สุขจำนงค์, อนุชิต สิ้วอินทร์, วิศรุต ศรีสว่าง, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์. การพัฒนารูปแบบการช่วยฟื้นคืนชีพแบบสัญจร โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2564; 1(2): 134-45.

สุรภา ขุนทองแก้ว, ศรีศุภรักษ์ สวนแก้ว. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ ในโรงเรียนจังหวัดราชบุรี. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2566; 3(2): 136-47.

พัชรากาญจน์ คงทวีพันธ์. โครงการการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.). เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา; 2564.

ธนกฤต จินดาภัทร์. การพัฒนาระบบการดูแลการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่ครบวงจร ในระดับตำบล ชุมชน ชาติพันธุ์พื้นที่สูง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.). เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา; 2564.

วรวุฒิ โฆวัชรกุล, หทัยกาญจน์ การกะสัง. โครงการการขยายรูปแบบพัฒนาศักยภาพชุมชนในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สยามพิมพ์นานา; 2564.

กฤตติกา แสงพันธุ์. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ชีพ-กู้ภัย ของมูลนิธิร่มไทรจังหวัดสตูล. วารสารโครงการทวิปริญญาทางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ 2564: 1-17.

Issleib M, Kromer A, Pinnschmidt HO, Süss-Havemann C, Kubitz JC. Virtual reality as a teaching method for resuscitation training in undergraduate first year medical students. Scandinavian Journal of Trauma, Resuscitation and Emergency Medicine 2021;29(27): 1-9.

ณัฐกฤษฎ์ ธรรมกวินวงศ์, สุเทพ สินกิตติยานนท์, นฤมล ปาเฉย, อรพรรณ มันตะรักษ์, ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์. การจัดบริการผู้บาดเจ็บของโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3. วารสารโรงพยาบาลพิจิตร 2563: 1-14.

ปพิชญา พิเชษฐบุญเกียรติพ. ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร 2564; 13(1): 43-57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-07