ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ตามแนววิถีชีวิตใหม่ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ไอโอดีน, หญิงตั้งครรภ์, แนววิถีชีวิตใหม่บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental research design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ตามแนววิถีชีวิตใหม่ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
วัสดุและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 60 คน จำแนกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้ตามแนววิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วยการให้ความรู้โดยใช้สื่อวิดิทัศน์ การแจ้งเตือนการรับประทานยาโดย Application line และติดตามเยี่ยม 3 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความรู้เกี่ยวกับไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ แบบประเมินพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค (Cronbach’s alpha coeffecient) มีค่าความเชื่อมันทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ Paired t-test
ผลการศึกษา : ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้โปรแกรมความรู้ตามแนววิถีชีวิตใหม่ในการป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีน ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันในทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.000) พฤติกรรมการปฏิบัติตัวป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันในทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.000) ส่วนความรู้เกี่ยวกับไอโอดีน พฤติกรรมการปฏิบัติตัวป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ และระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ของทารกแรก เฉลี่ยของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันในทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.00)
ข้อสรุป : โปรแกรมการให้ความรู้ตามแนววิถีชีวิตใหม่ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน สูงขึ้น แตกต่างกันในทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (P<0.00) ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
References
บรรณานุกรม
มณฑาทิพย์ ไชยศักดิ์ และคณะ. (2554). การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาขาดสารไอโอดีน กรณีศึกษา
จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.
นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล. (2562). รายงานการศึกษาผลของการให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนต่อภาวะ
โภชนาการไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์,สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิชย์.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานการดำเนินงานโครงการควบคุมและป้องกัน
โรคขาดสารไอโอดีน (พฤษภาคม 2561 – มิถุนายน 2563). กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.
เฉลิมพร ถิตย์ผาด และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2555). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทาน
อาหารในสตรีตั้งครรภ์ต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ขณะตั้งครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลตติยภูมิจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 27(4) : 347-353.
ปรีย์กมล รัชนกุล. (2546). การพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้สุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธ์
สำหรับวัยรุ่นไทยตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชลลดา ทานาลาด และวิพร เสนารักษ์. (2557). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และส่งเสริมการรับรู้
สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาล
และการดูแลสุขภาพ, 32(2) : 123-129.
สุรางรัตน์ โฆษิตธนสาร, นงลักษณ์ แสนกิจตะและอาภัสรา มาประจักษ์. (2562). ผลของโปรแกรมการ
สอนโรงเรียนพ่อแม่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในหญิงตั้งครรภ์แรกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ศูนย์อนามัยที่ 7ขอนแก่น. ค้นเมื่อ17 กุมภาพันธ์ 2564. จากhttp://203.157.71.148/hpc7data/Res/ResFile/2562001901.pdf.
ธีราภรณ์ บุณยประภาพันธ์, ศริวรรณ แสงอินทร์และสุพิศ ศิริอรุณรัตน์. (2561). ผลของโปรแกรมการสนับสนุน
และให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับฮีมาโตคริตในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(4) : 40-50.
แจ่มศรี เสมาเพชร และวิพร เสนารักษ์. (2557). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการ
ดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 32(2) : 131-139.
ภัสพร สมภาร,มานพ คณะโต และภัสสร์วัลย์ รังสิปราการ. (2556). พฤติกรรมป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีน
ของหญิงตั้งครรภ์กับระดับฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ของทารกแรกเกิดในอำเภอนาวังและ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(3) : 117-130.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ