ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการด้านการยศาสตร์ต่อความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ของอาชีพช่างผม

ผู้แต่ง

  • สุรสิงห์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อโณทัย อโณทัย จัตุพร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • บุญเลี้ยง สุพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เลย ประเทศไทย
  • ภาสิต ศิริเทศ คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพชรบุรี ประเทศไทย
  • สิทธิศักดิ์ ติคำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ประเทศไทย

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการด้านการยศาสตร์, ความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, อาชีพช่างผม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการด้านการยศาสตร์ต่อความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของอาชีพช่างผม

วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเภทกึ่งการทดลอง โดยคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง กรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว วัดผลก่อนและหลัง และคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 34 คน ใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ เปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุงวิธีการทำงานของช่างผม  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความเจ็บปวดของระบบกล้ามเนื้อของ Nordic Musculoskeletal Questionnaire (NMQ) และการวิเคราะห์ท่าทางการทำงาน (Posture analysis) ประกอบการวิเคราะห์ความเสี่ยงของท่าทางการทำงานทั้งร่างกายโดยใช้เทคนิค Rapid Entire Body Assessment (REBA) จากการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired sample t-test และ Wilcoxon signed rank test           
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ผลการใช้โปรแกรมการจัดการด้านการยศาสตร์ต่อความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของอาชีพช่างผม ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนของร่างกาย ประกอบด้วยบ่า/ไหล่ข้างขวา, ข้อศอกข้างขวา, มือและข้อมือทั้งสองข้าง, หลังด้านบน, เข่าข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง มีค่าเฉลี่ยอันดับที่ของค่าเฉลี่ยลำดับที่ของความปวดของกล้ามเนื้อลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05)

ข้อสรุป: การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงสภาพงานผ่านกระบวนการประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์ตามลักษณะการของอาชีพช่างผม สามารถลดคะแนนต่อความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการต่อยอดด้านการประยุกต์ใช้โปรแกรมการจัดการด้านการยศาสตร์ต่อความปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์แก่อาชีพอื่น ๆ ต่อไป

References

เอกสารอ้างอิง

สำนักส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. สรุปผลการศึกษาวิจัยธุรกิจเสริมสวย [อินเตอร์เน็ต]. 2545 [เข้าถึงเมื่อ 15 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก www.dbd.go.th/download/doc/1beauty%20salon.doc

กลุ่มมาตรฐานสถิติ สำนักบริหารจัดการระบบสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การจัดประเภทอาชีพตามมาตรฐานสากล ฉบับแปลจาก International Standard Classification of Occupation: ISCO - 08 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2553. หน้า 296 – 297.

เทศบาลเมืองแสนสุข. สถิติจำนวนประชากร เทศบาลเมืองแสนสุข ปี พ.ศ. 2543 – 2561. [เข้าถึงเมื่อ 18 มิ.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.saensukcity.go.th/news/population-statistics.html

กลุ่มมาตรฐานสถิติ สำนักบริหารจัดการระบบสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การจัดประเภทอาชีพตามมาตรฐานสากล ฉบับแปลจาก International Standard Classification of Occupation: ISCO - 08 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2553. หน้า 296 – 297.

สมจิต พฤกษะริตานนท์. บทนำอาชีวอนามัย. 2554 [Cited 2023 June 17]. Available from:https://med.mahidol.ac.th/fammed/sites/default/files/public/pdf/introductionOM_2011.pdf

European Agency for Safety and Health at Work. (n.d.). Physical factors. Occupational health and safety in the hairdressing sector [Internet]. [cited 2023 Jun 18]:5. Available from: https://osha.europa.eu/en/tools-and publications/publications/literature_reviews/occupational-health-and-safety-in-the-hairdressing-sector.

Miet Verhamme. Ergonomics for start-up hairdressers: Translational ESF project. Ghent,Belgium: Mangrove Productions; 2015. p.6-9.

Aweto HA, Tella BA, Johnson OY. Prevalence of work-related musculoskeletal disorders among hairdressers. Int J Occup Med Environ Health 2015;28(3):545-55

Jantra J, Thanomchat C, Sakdumrongkul P, Deewiset W, Intasiri A, Sing A, Meepadit P. The factors related with the fatigue among beauty salon workers in Seansuk Municipality, Chonburi Province. Proceedings Thailand National Ergonomics Conference 2016. 14, 15-17th December. ERGOCON 2016. p.203-211.

Arokaski, J.P., Nevala-Puranen, N., Danner, R., Halonen, M., Tikkanen, R., (1998). Occupationally oriented medical rehabilitation and hairdressers’ work techniques-a one-and a-half year follow up. In. J. Occup. Saf. Ergon. 4, 43-56.

ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง : การประยุกต์ใช้ในงานวิจัยเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2561.

Chow S. C., Shao, J. & Wang, H. (2003). Sample size calculation in Clinic Research (2nd ed). Champman & Hall/CRC.Cyprus Council of Hairdressers and Barbers Registrar

Kuorinka I, Jonsson B, Kilbom A et al. Standardised nordic questionnaires for the analysis of musculoskeletal symptoms. Appl Ergon 1987; 18:233–237.

ปวีณา มีประดิษฐ์. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์ จำกัด; 2559.

Tantanatip A, Chang KV. Myofascial Pain Syndrome. [Updated 2023 Jul 4]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK499882/.

L. Bradshaw, J. Harris-Roberts, J. Bowen, S. Rahman, D. Fishwick, Self-reported work-related symptoms in hairdressers, Occupational Medicine, Volume 61, Issue 5, August 2011, Pages 328–334, https://doi.org/10.1093/occmed/kqr089.

Kaj Bo Veiersted, Kristian Schulerud Gould, Nina Østerås, Gert-Åke Hansson, Effect of an intervention addressing working technique on the biomechanical load of the neck and shoulders among hairdressers, Applied Ergonomics 2008;39(2): 183-190

Mishra A, Singh R., Tandon P., Ergonomics Risk Factors among Hairdressers Working in India: A Case Study2020 Ergonomics International Journal, Volume 4 Issue 4 Received Date: July 20, 2020 Published Date: August 10, 2020 DOI: 10.23880/eoij-16000252

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-13