ผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบจัดการปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ระบบจัดการปัญหาด้านยา, คลินิกโรคความดันโลหิตสูง, ทีมสหสาขาวิชาชีพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบปัญหาด้านยาและการจัดการแก้ไขปัญหาด้านยาก่อนและหลังการพัฒนาระบบการจัดการปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง
โรงพยาบาลเสิงสาง และ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ก่อนและหลังการพัฒนาระบบการจัดการปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเสิงสาง
วัสดุและวิธีการศึกษา เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจำนวน 2 ครั้งในระยะเวลาการศึกษา 4 เดือน และเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากโปรแกรม HOSxP จำนวน 2 ครั้งในระยะเวลาการศึกษา 4 เดือน รวมเป็นระยะเวลา 8 เดือน ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเสิงสาง จำนวน 380 ราย โดยใช้สมการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีใช้ตารางเลขสุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา เป็นความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงเปรียบเทียบข้อมูลค่าความดันโลหิต ปัญหาด้านยาและการจัดการปัญหา ก่อนและหลังการพัฒนาระบบโดยใช้สถิติ paired sample t-test
ผลการศึกษา พบว่าหลังการพัฒนาระบบจัดการปัญหาด้านยา ปัญหาด้านยาถูกค้นพบและจัดการแก้ไขเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.031) ผลลัพธ์ทางคลินิกดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 380 ราย มีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตซิสโทลิกลดลง 4.46 มม.ปรอท (p <0.001) ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตไดแอสโทลิกลดลง 3.16 มม.ปรอท (p <0.001) และจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง (ระดับความดันโลหิตซิสโทลิก ≥ 140 มม.ปรอท และ/หรือความดันโลหิตไดแอสโทลิก ≥ 90 มม.ปรอท) ที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ มีจำนวนลดลงหลังการพัฒนาระบบการจัดการปัญหาด้านยาจำนวน 34 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.19 (p = 0.002)
ข้อสรุป การพัฒนาระบบจัดการปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพช่วยทำให้ปัญหาด้านยาได้รับการค้นพบและจัดการแก้ไขเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.031) ผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางคลินิกดีขึ้นโดยค่าความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) และจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.002) กล่าวได้ว่าการพัฒนาระบบจัดการปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพด้วยการเพิ่มขั้นต้นการค้นหาปัญหาเชิงรุกโดยเภสัชกร การเตรียมแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อแจ้งแพทย์ หรือเสนอแนวทางการแก้ปัญหากับแพทย์โดยเภสัชกร การส่งต่อข้อมูลปัญหาด้านยาร่วมกันระหว่างแพทย์ พยาบาล และเภสัชกร ช่วยให้การจัดการปัญหาด้านยาในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประสบความสำเร็จเพิ่มมากขึ้น
References
เอกสารอ้างอิง
วณีนุช วราชุน. ระบบการจัดการด้านยาในโรงพยาบาลคุณภาพ. (อินเตอร์เน็ต). 2560. (เข้าถึงเมื่อ
มีนาคม 2567). เข้าถึงได้จาก : https://ccpe.pharmacycouncil.org/showfile.php?file=309.
Strand LM, Morley PC, Cipolle RJ, Ruthanne RS, lamsam GD. Drug-related problems:
Their structure and function. The annals of Pharmacotherapy 1990;24:1093-7. 3. สุภัณลินี ปรีชากุล. ผลการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกต่อความร่วมมือในการรักษาของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลสุโขทัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่, 2544.
ณัฎจิรา จันทรคณา. การประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยใช้รูปแบบความร่วมมือการ บริหารการรักษาทางยาระหว่างแพทย์และเภสัชกรในศูนย์สุขภาพชุมชน อำเภอสะเมิง จังหวัด เชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่, 2550.
ภัทร์ธนพร วงษ์เส และ พรทิพย์ กีระพงษ์. ผลของรูปแบบการให้คำปรึกษาผู้ป่วยเพื่อความร่วมมือในการใช้ ยาลดความดันโลหิต. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9. 1811- 1824.
วิลาสินี มากจุ้ย. ผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบจัดการปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ
ในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. (อินเตอร์เน็ต). 10 สิงหาคม 2566 (เข้าถึงเมื่อ 9 มีนาคม 2567). เข้าถึงได้จาก: http://www.tako.moph.go.th/librarybook/web/files/ed8dee4935366e74392e2ae53e43 8547.pdf.
สุรชัย อัญเชิญ. การใช้ยาอย่างปลอดภัย: โอสถสาระ2000. จุลสารรวมสาระเรื่องยาเพื่อส่งเสริมบทบาท เภสัชกร. 2543. 1(3), 1-12.
วริศรา ปั่นทองหลาง, ปานจิต นามพลกรัง, วินัฐ ดวงแสนจันทร์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561;38(4):1-14.
American Heart Association. Facts About High Blood Pressure. (Internet). 2024 (cited 2024 June 4). Available from: https://www.heart.org/en/health-topics/high-blood-pressure.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ