ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยการบริหารสายตาต่อความล้า ของสายตาในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์

ผู้แต่ง

  • ทิศมะลี ประสบกิตติคุณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุรสิงห์ สมบัติ สุรนาถวัชวงศ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความล้าของสายตา, โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยการบริหารสายตา

บทคัดย่อ

 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  1. 1. เพื่อศึกษาอาการล้าของสายตาในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  2. เพื่อเปรียบเทียบความล้าของสายตาในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยการบริหารสายตา

 

วัสดุและวิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (one-group pretest-posttest design) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยการบริหารสายตาต่อความล้าของสายตาในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยศึกษากับบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ทั้งหมด 15 แผนก ที่ทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าสองชั่วโมงต่อวัน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (convenience sampling) จำนวน 53 คน และใช้รูปแบบวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้รับการสอนหนึ่งครั้งเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับการดูแลถนอมสายตา ฝึกบริหารสายตา และร่วมกับนักวิจัยจัดสิ่งแวดล้อมรอบโต๊ะทำงาน จากนั้นให้ฝึกดูแลตนเอง 3 สัปดาห์ ตามที่กำหนดในโปรแกรมโดยใช้แนวคิดระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบประเมินอาการล้าของสายตาของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการทดสอบแมคนีมาร์       

 

ผลการศึกษา: พบว่า คะแนนเฉลี่ยความล้าของสายตาภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม ( = 2.08, SD = 0.70) ลดลงจากก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ( = 2.59, SD = 0.74) อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 ( = 0.50, SD = 1.01, 95% CI [0.22, 0.79], p-value = 0.001) นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง 16 คนจาก 53 คน (ร้อยละ 30.2) มีอาการล้าของสายตาก่อนเข้าร่วมโปรแกรม แต่พบเพียง 3 คนจาก 16 คน (ร้อยละ 18.8) ที่ยังคงมีอาการล้าของสายตาภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม ส่วนกลุ่มตัวอย่าง 37 คน (ร้อยละ 69.8) ที่ไม่มีอาการล้าของสายตาก่อนเข้าร่วมโปรแกรม พบว่ามีเพียง 4 คน (ร้อยละ 10.8) ที่มีอาการตาล้าภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยสรุป พบว่ามีกลุ่มตัวอย่าง 7 คนจาก 53 คน (ร้อยละ 12.5) ที่มีอาการล้าของสายตาภายหลังสิ้นสุดโปรแกรม ผลการทดสอบด้วยแมคนีมาร์ พบว่า สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการล้าของสายตาก่อนเข้าร่วมโปรแกรมลดลงอย่างมีนัยสำคัญภายหลังเข้าร่วมโปรแกรม (p = 0.049)

ข้อสรุป : โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยการบริหารสายตาต่อความล้าของสายตาในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ พบว่าภายหลังการใช้รูปแบบโปรแกรมมีกลุ่มตัวอย่างมีอาการล้าของสายตาลดลง

References

กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

และสภาพแวดล้อมในการทํางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553. (9 กรกฎาคม 2553). ราชกิจจานุเบกษา.

เล่ม 127 ตอนที่ 43 ก หน้า 15-17.

ความชื้นในอากาศที่เหมาะสมกับร่างกาย. (2559). เลกะทูล. https://legatool.com/wp/10833/

จรูญ ชิดนายี, วิรงค์รอง จารุชาต และศศิธร ชิดนายี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความล้าของสายตากับ

การตรวจสมรรถภาพทางสายตาในกลุ่มผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยทาง

วิทยาศาสตร์สุขภาพ, 7(2), 47-56.

จามรี สอนบุตร, พิชญา พรรคทองสุข และสุภาภรณ์ เต็งไตรสรณ์. (2552). ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อ

ความล้าของสายตาในผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร, 27(2), 91-104.

จารุวรรณ ทูลธรรม และกิตติ ทูลธรรม. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบสาธิต เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนทักษะทางการปฏิบัติในเรื่องการใช้งานออสซิลโลสโคป ระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรม

คอมพิวเตอร์.วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 45-54.

จิตตาภรณ์ มงคลแก่นทราย, จิรานุวัฒน์ จันทา, รอฮีมะห์ โอ๊ะหลำ และอรอุมา วิมลเมือง. (2560,

กรกฎาคม). ความชุกของความเมื่อยล้าสายตาในกลุ่มบุคลากรสำนักงาน สำนักงานอธิการบดี

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ [เอกสารนำเสนอในที่ประชุม]. การประชุมวิชาการและการนําเสนอ

ผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง

มั่งคั่ง และยั่งยืน, มหาวิทยาลัยราชธานี.

จุฑาไล ตันเทอดธรรม และวชร โอนพรัตน์วิบูล. (2554). โรคตาจากการทำงาน. ใน อดุลย์ บัณฑุกุล (บ.ก.),

ตำราอาชีวเวชศาสตร์. (น. 599-634). โรงพิมพ์ราชทัณฑ์.

ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล. (2558). ความรู้ทั่วไปในการฝึกปฏิบัติงานอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและ

เออร์โกโนมิกส์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นรากร พลหาญ, สมสมร เรืองวรบูรณ์, โกมล บุญแก้ว และอนุพงษ์ ศรีวิรัตน์. (2557). กลุ่มอาการที่เกิดต่อ

ร่างกายจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยนครพนม.

วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 6(12), 26-38.

นลัท ชำนาญช่าง. (2563). รายงายผลการตรวจสุขภาพประจำปี/ ตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงของลักษณะ

การทำงานบุคลากรคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ปี พ.ศ. 2560, ปี พ.ศ. 2561 และปี พ.ศ.

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปณิตา ปรีชากรกนกกุล. (17 มีนาคม 2554). การเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสาธิตและสาธิตย้อนกลับ.

สำนักวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยนครราชสีมา. http://research.nmc.ac.th/index.php?option=

com_content&view=article&id=69:2011-03-17-07-06-58&catid=30:km-&Itemid=88

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง. (21 กุมภาพันธ์ 2561).

ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 39 ง หน้า 15.

ปาจรา โพธิหัง, พรพรรณ ศรีโสภา และอโนชา ทัศนาธนชัย. (2559). ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการจอภาพ

คอมพิวเตอร์ของบุคลากรสายการสอนในมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา,

(2), 104–119.

ภัคจิรา ภูสมศรี. (2561). โรคคอมพิวเตอร์วิชันซิโดรมหรือโรคซีวีเอส ปัญหาสุขภาพใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 12(2), 137-143.

รังสิมา พัสระ. (17 กันยายน 2563). พยาบาลกับงานอาชีวอนามัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

http://www.elnurse.ssru.ac.th

ลักษณาพร กรุงไกรเพชร. (2556). โรคตาจากการทำงาน. บูรพาเวชสาร, 1(1), 42-51.

วรรณา จงจิตรไพศาล และนุจรีย์ ปอประสิทธิ์. (2554). การตรวจคัดกรองด้านอาชีวเวชศาสตร์อาชีวอนามัย

สำหรับพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี.

วารุณี ติ๊บปะละ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ และคนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล. (2565). ผลของโปรแกรมการให้

ความรู้เสริมสร้างแรงจูงใจ และฝึกทักษะการใช้ยาสูดโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการควบคุมทางคลินิก

ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 40(1), 112-127.

ศศิธร ชิดนายี. (2560). กลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์หรือความล้าของสายตา. ราชาวดีสาร วิทยาลัย

พยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 7(2), 47-58.

สมสงวน อัษญคุณ. (21 ตุลาคม 2558). โรคตาแห้งอันตรายอย่างไร. ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://w1.med.cmu.ac.th/eye/index.php?option= com_

content&view=article&id=331:2015-10-21-07-27-51&catid=17&Itemid=394

Chitnayee, J., Charuchart, W., & Chitnayee, S. (2013). The relationship between visual

fatigue and occupational vision test among computer users in Uttaradit hospital.

Journal of Health Science Research, 7(2), 47-56.

Chow, S.C., Shao, J., Wang, H., (2003). Sample Size Calculations in Clinical Research

(2nd ed.). Chapman & Hall/CRC.

Ide, T., Toda, I., Miki, E., & Tsubota, K. (2015). Effect of blue light-reducing eye glasses on

critical flicker frequency. The Asia-Pacific Journal of Ophthalmology (Phila), 4(2),

-85.

Orem, D. E. (2001). Nursing concepts practice (6th ed.). St. Louis: Mosby year book.

Priyanka, S., Pranil, M. S. P., & Om, K. M. (2020). Computer Vision Syndrome among Patients

Attending the Outpatient Department of Ophthalmology in a Tertiary Care Centre:

A Descriptive Cross-sectional Study. JNMA J Nepal Med Assoc, 58(230), 721-724.

Rosenfield, M. (2011). Computer vision syndrome: a review of ocular causes and potential

treatments. Ophthalmic & Physiological Optics, 31(5), 502–515.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-20