ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในการดูแลตนเองเพื่อยอมรับวิธีบำบัดทดแทนไต

ผู้แต่ง

  • รุจลินทร์ มีเพียร โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • กชณากาญ ดวงมาตย์พล โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • ภัทรศรี พิมทา โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • สุภัตรา แสนมี โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • นภชนก รักษาเคน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง, การเลือกบำบัดทดแทนไต, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, การให้คำปรึกษา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในการดูแลตนเองเพื่อยอมรับวิธีบำบัดทดแทนไต

วัสดุและวิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นไตวายเรื้อรังที่มารับการรักษาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาวิธีบำบัดทดแทนไต เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ กำหนดอำนาจทดสอบที่ 0.80 ความเชื่อมั่นที่ 0.05 จำนวน 30 คน เครื่องมือประกอบด้วย 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษาวิธีบำบัดทดแทนไต 2) คู่มือการให้คำปรึกษาวิธีบำบัดทดแทนไต 3) แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเอง และ 4) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการบำบัดทดแทนไต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบ

ผลการศึกษา: ผลการวิจัย พบว่า 1) อัตราการยอมรับวิธีบำบัดทดแทนไตของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในการดูแลตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุม 2) คะแนนเฉลี่ยความรู้กลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05         

ข้อสรุป: การให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังด้วยการเสริมแรงมีผลต่อการยอมรับบำบัดทดแทนไต ดังนั้นทีมสุขภาพควรให้คำปรึกษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังด้วยการเสริมแรงเพื่อช่วยส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการจัดการตนเองให้ดียิ่งขึ้น

References

นฤมล แก่นสาร. การพยาบาลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มี

การติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. (2558); 12(2):

– 91.

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. กรุงเทพ: กองโรคไม่

ติดต่อ กรมควบคุมโรค;2565.

เวชระเบียนโรงพยาบาลมหาสารคาม.สถิติผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต] .2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 ธันวาคม

. เข้าถึงได้จาก: https://www.mkh.go.th/it/

แสงอรุณ สื่อยรรยงศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดไตวายในระยะที่สามในผู้ป่วยเบาหวาน

โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. (2566);38(1).:105-

วสันต์ พนธารา. ผลการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ในคลินิกโรค

ไตเรื้อรัง โรงพยาบาลตากฟ้า.สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2563;17(2):43 – 51.

รัชนี ทิพย์สูงเนิน. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อการเลือกวิธีบําบัดทดแทนไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะ

สุดท้าย[อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 13 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.vachiraphuket.go.th/

วรรณา เสริมกลิ่น และชื่นฤทัย ยี่เขียน. ผลของโปรแกรมให้คำปรึกษาก่อนการบำบัดทดแทนไตต่อการ

ยอมรับการบำบัดทดแทนไตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย.

;13(2):208 – 223.

ภัทรศร นพฤทธิ์ และอารมณ์ พรหมดี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะ

สุดท้ายแบบประคับประคองโรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม.2562;16(3):

– 108.

กิติมา เศรษฐ์บุญสร้าง และประเสริฐ ประสมรักษ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตในด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา. วารสารการพัฒนา

สุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2559;4(4):486 – 503.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ และจุฑามาศ ติลภัทร. ผลของการพยาบาลแบบประคับประคองต่อคุณภาพชีวิตของ

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก.2561;20(1):226 – 235.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจ การคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยโปร

แกรวิเคราะห์อำนาจ. กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2563.

วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ. ระดับขั้นความสามารถของบลูม[อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 13 ธันวาคม2566]. เข้าถึงได้จาก: https://web.rmutp.ac.th/woravith

ศิริลักษณ ถุงทอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อ

พฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุม

ระดับน้ำตาลในเลือดได้[อินเทอร์เน็ต]. 2557. [เข้าถึงเมื่อ 13 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:

http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/9952

พัชรี สังข์สี, ยุพิน ถนัดวณิชย์, วัลภา คุณทรงเกียรติ และสายฝน ม่วงคุ้ม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการ

ตัดสินใจเลือกวิธีบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563;28(3):53 – 65.

ชนิดาภา อยู่พงษ์. ผลของการใช้โปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้และการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคไต

เรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง. รายงานวิจัย โรงพยาบาลบึงกาฬ; 2565

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-17