การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก

ผู้แต่ง

  • ศิริจรรยา สาระขันธ์

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก โดยใช้รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ (Soukup, SM. 2000) และปรับจากแนวคิด 3P (P=Purpose ,P=Process, P=Performance) การศึกษามี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลฯที่สืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 16 เรื่อง ร่วมกับการวิเคราะห์บริบท นำข้อมูลจากการสืบค้น และ วิเคราะห์มาพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ประกอบด้วยการควบคุมด้านอาหาร การออกกำลังกาย การประเมินความเครียดซึ่งเป็นแบบบันทึกประเมินพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน

          ระยะที่ 2 การศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ประเมินด้านผู้ป่วย และ ด้านพยาบาลวิชาชีพ โดยด้านผู้ป่วย มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก จำนวน 30 คน โดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิเคราะห์พบว่า เมื่อเปรียบเทียบหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ กับก่อนการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก มีคะแนนพฤติกรรมด้านการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ มีคะแนนการประเมินความเครียดที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 รวมถึงระดับน้ำตาลในเลือด หลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯระดับน้ำตาลในเลือดก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลฯมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 202.2 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ผลของความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลฯต่อการประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยมีความพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 90.00 ด้านความพึงพอใจต่อการประเมินความเครียดที่ท่านได้รับ มีความพอใจมากคิดเป็นร้อยละ 83.33 ด้านความพึงพอใจต่อการประเมินกิจกรรมด้านการออกกำลังกายมีความพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 90.00 ด้านความพึงพอใจต่อคำแนะนำด้านโภชนการที่ท่านได้รับ มีความพอใจมา คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านความพึงพอใจต่อคำแนะนำด้านการจัดการความเครียดที่ท่านได้รับ มีความพอใจมากคิดเป็นร้อยละ 93.33
ด้านความพึงพอใจต่อคำแนะนำด้านกิจกรรมการออกกำลังกายที่ท่านได้รับมีความพอใจมากคิดเป็นร้อยละ100

ด้านพยาบาลวิชาชีพมีกลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ 4 คน ผลการศึกษาพบว่าผลของความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลฯ ด้านการนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้ได้จริงในการทำงาน พบว่ามีความพึงพอใจระดับมากคิดเป็นร้อยละ 75.00 ด้านประโยชน์กับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลปลาปาก มีความพึงพอใจระดับมากคิดเป็นร้อยละ 100  ด้านการช่วยให้การปฏิบัติงานดีขึ้นกว่าวิธีเดิมที่ปฏิบัติ มีความพึงพอใจระดับมากคิดเป็นร้อยละ 75.00 ส่วนใหญ่ ร้อยละ 100 คิดว่าไม่ควรมีการปรับแก้ไขแนวปฏิบัติการพยาบาล และร้อยละ 75 คิดว่าสมควรใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลนี้ต่อไป

References

ชลธิดาวรรณ เด่นไชยรัตน์,กนกพร นทีธนสมบัติ และ ทวีศักดิ์ กสิผล. (2563). การพัฒนาแนวปฏิบัติการ

พยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ในชุมชน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน

ชนิดที่2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข.

ธีรศักดิ์ พาจันทร์, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, บุญสัน อนารัตน์ และ นิรันดร์ ถาละคร. (2565). ปัจจัยที่มี

ความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปี

นวพร ทุมแถว. (2564). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบลขอนแป้น ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นันทวัน ยิ้มประเสริฐ, ชฎาภา ประเสริฐทรง, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. (2558). การพัฒนาแนวปฏิบัติการ

พยาบาลเพื่อ การจัดการพฤติกรรมด้านอาหารและการออกกำลังลังกาย ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารเกษมบัณฑิต 2558.

ปฐมพร ศิรประภาศิริ และ คณะ. (2563). คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่ แบบ

ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน). สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหราผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประชุมพร กวีกรณ์ , ประเสริฐ ประสมรักษ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแล

ตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประธาน ศรีจุลฮาด. (2563). การพัฒนารูปแบบแบบการจัดบริการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลร่อง

คำจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ.

มยุรี เที่ยงสกุล และ สมคิด ปานประเสริฐ. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข.

มลธนัฎ มาปุก. (2553). แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ หลักสูตร

พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูงมหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ยุฑามาส วันดาว,ทิพมาส ชิณวงศ์,ดมรัตน์ ชโลธร และ อรุณี ทิพย์วงศ์. (2561). ประสบการณ์การจัดการ

ตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์.

เรืองหทัย ปัณณราช. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยา

ที่บ้านในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. งานวิจัย (แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว).

วรรณวลี บุญค้ำชู. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวาน

ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองผักบุ้ง ตำบลกลางดง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย. R2R นำเสนอในการประชุมวิชาการสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 2.

วัชรี พันธ์เถร,วรพจน์ พรหมสัตยพรต,จตุพร เหลืองอุบล. (2566). การพัฒนาระบบบริการคลินิกเบาหวาน

ความดันโลหิตสูง แบบวิถีใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพิ่มสุข อำเภอผาขาว จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน.

ฤทธิรงค์ บูรพันธ์ และนิรมล เมืองโสม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของ

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

และ สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย. (2566). บริษัทศรีเมืองการพิมพ์จำกัด.

สลิดา รันนันท์ และพาพร เหล่าสีนาท. (2562). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล เพื่อ ส่งเสริมการ

จัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม.

สิรารักษ์ เจริญศรีเมือง,ปัทมา สุพรรณกุล และ จารุณีย์ เงินแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการควบคุม

ระดับน้ำตาลในเลือดของ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข.

อภิชาติ กตะศิลา, สุกัญญา ลีทองดี, ประเสริฐ ประสม รักษ์. (2560). ผลของโปรแกรมการใช้สมุดบันทึกทาง

คลินิกร่วม กับแรงสนับสนุนจากเพื่อนเบาหวานต่อพฤติกรรมการ ดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอมหาชนะชัย จังหวัด ยโสธร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี.

อัจฉราภรณ์ จำรัส,ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์. (2563). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการจัดการทางการ

พยาบาล สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลปง จังหวัดพะเยา. พยาบาลสาร.

อุดมพร พรหมดวง. (2558). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลบ้านตาขุน.

วารสารวิชาการ แพทย์เขต 11.

Soukup SM. The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nures Clin North Am 2000;35(2) : 301-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-25