การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (Basic Life Support) วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • แพงศรี ประภากรพิไล
  • ปิยวรรณ หาญเวช
  • วัทธิกร นาถประนิล

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ, วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (Basic Life Support) วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

วัสดุและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นแกนนำครู นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จำนวน 77 คน สุ่มเลือกอย่างง่าย จำนวนนักศึกษา 9 แผนก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ ที่มีค่าอำนาจจำแนก 0.41 - 0.73 ค่าความยากง่าย 0.56 - 0.78 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20) 0.78 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Cronbach's alpha) 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired Simple t-test 

ผลการศึกษา : ผลการวิจัย พบว่ากระบวนการพัฒนาประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์บริบทพื้นที่ 2) การวางแผนเชิงปฏิบัติการ 3) ปฏิบัติตามหลักสูตร 4) ประเมินผล 5) สรุปผลและถอดบทเรียน เกิดหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ คือ 1) การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน 2) การปฐมพยาบาลฉุกเฉินภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้น 3) การปฐมพยาบาลฉุกเฉินกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 4) การปฐมพยาบาลฉุกเฉินการปฐมพยาบาลฉุกเฉินภาวะชัก ผลการดำเนินงานทำให้กลุ่มตัวอย่าง มีระดับความรู้ ทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ  เพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนดำเนินกิจกรรมพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ส่วนระดับความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะการวิจัย ควรดำเนินการวัดความรู้และทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพเพิ่มเติมเมื่อหลังจากให้ความรู้เสร็จแล้ว 6 เดือน เพื่อเป็นการตรวจสอบระยะเวลาการคงอยู่ของความรู้และทักษะเพื่อพัฒนาหลักสูตรการสอนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ข้อสรุป : กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ ทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ เพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนดำเนินกิจกรรมพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ส่วนระดับความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก

References

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน

(ระดับโลกและประเทศไทย) [เอกสารประกอบการสอน]. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

เพ็ญพักตร์ ไชยสงเมือง, และชัจคเณค์ แพรขาว. (2559). ผลของโปรแกรมการสอนการช่วยเหลือขั้นพื้นฐานภาวะหัวใจหยุดเต้นในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, ม.ป.ป., 118-31.

วรวุฒิ โฆวัชรกุล, และหทัยกาญจน์ การกะสัง. (2564). โครงการการขยายรูปแบบพัฒนาศักยภาพชุมชนในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ:บริษัทสยามพิมพ์นานา จากัด.

Kemmis S. and R. McTaggart. (1988). The Action Research Planner. (Victoria, Ed.)

(3rd ed.). Australia: Deaken University Press.

กีระติ เวียงนาค. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กลไกคณะกรรมการ

พัฒนาคุณภาพชีวิต อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร, 1(1) : 49-55.

เพ็ญพักตร์ ไชยสงเมือง, อรทัย บุญชูวงศ์, ณัฐนันท์ คำพิริยะพงศ์, และฉันทวรรณ วิชัยพล. (2566). ผลของโปรแกรมสอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานต่อการคงอยู่ของความรู้และทักษะในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน:กรณีศึกษาตำบลหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 33(1), 1-13.

จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี, วิดาพร ทับทิมศรี, และปัญจศิลป์ สมบูรณ. (2564). ผลของการให้ความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(1), 180-190.

วรวุฒิ โฆวัชรกุล, และหทัยกาญจน์ การกะสัง. (2564). โครงการการขยายรูปแบบพัฒนาศักยภาพชุมชนในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ:บริษัทสยามพิมพ์นานา จากัด.

นิษฐกานต์ แก่นจำปา, วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา, และสนใจ ไชยบุญเรือง. (2563). การพัฒนาโปรแกรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลโสกนกเต็น อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 414-420.

วัทธิกร นาถประนิล, สุมัทนา กลางคารและกษมา วงษ์ประชุม. (2565). การพัฒนารูปแบบการมี

ส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพเพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์

ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 4(2). 177-192.

เบญจมาภรณ์ นาคามดีล, วรรณภรณ์ วีระพงษ์และอัญชลี รุ่งฉาย. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

และความพึงพอใจต่อการสอนแบบศูนย์การเรียนรู้ ในการเรียนวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 80 ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 22(2) : 79-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29