การพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกวาร์ฟารินของผู้ป่วยในโรงพยาบาลปลาปาก

ผู้แต่ง

  • นพดล กิตติถาวร

คำสำคัญ:

งานบริบาลทางเภสัชกรรม, คลินิกวาร์ฟาริน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนากระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ได้รับยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลปลาปาก และ (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของงานบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกวาร์ฟารินสำหรับดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ได้รับยาวาร์ฟารินในโรงพยาบาลปลาปาก

วัสดุและวิธีการศึกษา เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนาที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงกึ่งการทดลองด้วยแบบสอบถามจำนวน 3 ครั้งในระยะเวลาการศึกษา 3 เดือน ซึ่งมีประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ใช้บริการงานบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกวาร์ฟาริน ณ โรงพยาบาลปลาปากจำนวน 78 ราย และทำการคัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้หลักความน่าจะเป็นแบบเฉพาะเจาะจงที่มีการประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อค้นหาสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานที่อาศัยเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ การพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมด้วยการเพิ่มขั้นตอนที่ให้เภสัชกรทำการบริบาลผู้ป่วยก่อนและหลังพบแพทย์

ผลการศึกษา พบว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาวาร์ฟารินช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.000, 0.001 และ 0.000 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาวาร์ฟารินอย่างถูกต้องเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 60.0, 76.0 และ 89.0 ตามลำดับ ในขณะที่พฤติกรรมของผู้ป่วยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.000, 0.005 และ 0.000 ตามลำดับเช่นเดียวกัน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีความสามารถในการควบคุมค่า TTR ให้อยู่ในช่วงเป้าหมายที่เหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 56.0, 68.0 และ 75.0 ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่า TTR ของผู้ป่วยไม่อยู่ในช่วงเป้าหมายคือ ผู้ป่วยชอบลืมหรือมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ครบตามคำสั่งแพทย์หรือไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด ตามลำดับ

ข้อสรุป การพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.005, 0.000 และ 0.001 ตามลำดับ กล่าวได้ว่าการพัฒนางานบริบาลทางเภสัชกรรมด้วยกระบวนการด้วยการเพิ่มขั้นตอนที่ให้เภสัชกรทำการบริบาลผู้ป่วยก่อน และหลังพบแพทย์เป็นวิธีการรักษาที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ได้รับยาวาร์ฟารินมีความปลอดภัย และมีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษาเพิ่มมากขึ้น  เพราะฉะนั้นการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับยาวาร์ฟาริน และการปรับปรุงพฤติกรรมของผู้ป่วยให้มีความเหมาะสมจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการใช้ยาที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีค่า TTR อยู่ในเป้าหมายที่กำหนด

References

กาญจนา บุตรจันทร์. ความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ในผู้สูงอายุโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542.

จเด็จ ธรรมธัชอารี. ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทดีไซด์จำกัด; 2544.

จันทกานต์ อภิสิทธิ์ศักดิ์. (2559). การติดตามเยี่ยมบ้านร่วมกับการให้บริบาลทางเภสัชกรรมโรงพยาบาลในกลุ่มผู้ป่วยเริ่มใช้ยาวาร์ฟาริน ในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์. การพัฒนาเภสัชกรรมปฐมภูมิ FCPL.98-116.

ชยุดา จินดาทจักร์ และสุชาติ เปี่ยมปรีชา. ผลการพัฒนาระบบงานบริบาลเภสัชกรรมในวาร์ฟารินคลินิก (Warfarin Clinic) โรงพยาบาลท่าสองยาง.(อินเทอร์เน็ต). 2562. (เข้าถึงเมื่อ 2 มิถุนายน 2566). เข้าถึงได้จาก http://203.157.71.172/academic/web/files/2563/r2r/MA2563.pdf.

ปฐวี โลหะรัตนากร, พลอยไพลิน ฤทธิบุญ, ยุวธิดา หงส์ริญญา, มณีพิมาย ไชยชุน, สุเทพ ทักษิณาเจนกิจ และวีรวรรณ อุชายภิชาติ. ความรู้ในการใช้ยาวาร์ฟารินและการควบคุมค่า International Normalized Ratio เป้าหมายของผู้ป่วยนอกศูนย์หัวใจสิริกิติ์. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2559.. 31(3), 257-265.

ภิญญารัตน์ รัตนจามิตร. การควบคุมระดับการแข็งตัวของเลือดและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยนอกที่ได้รับการักษาด้วยยาวาร์ฟารินหลังการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียมแบบโลหะโรงพยาบาลศูนย์ยะลา. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.

พรนลัท ทองสมบูรณ์. การบริการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟาริน. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร์บัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

พีระพงศ์ ภูบาล. การศึกษาสถานการณ์ปัญหาการใช้ยาวาร์ฟารินและการพัฒนาระบบการติดตามดูแลความปลอดภัยจากการใช้ยาวาร์ฟารินในระดับปฐมภูมิ. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2563.

เพ็ญพักตร์ หระดี. เปรียบเทียบผลการให้ความรู้เรื่องยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. ประชุมวิชาการ “นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ Innovation of Health Promotion”. 2559. 84-91.

สุรชัย อัญเชิญ. การใช้ยาอย่างปลอดภัย: โอสถสาระ2000. จุลสารรวมสาระเรื่องยาเพื่อส่งเสริมบทบาทเภสัชกร. 2543. 1(3), 1-12.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง(พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

อรพินทร์ ชูชม. การวิจัยกึ่งทดลอง Quasi–experimental Research. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 2552. 15(1), 1-15.

Boonyapipat, T., & Wattanasombat, S. Service Plan Committee in Cardiology. Operation Handbook of Service Plan in Cardiology, Warfarin Clinic Management. Bangkok: O VIT (THAILAND); 2016.

Rossi, P.E., & Freman, H.E. Evaluation: A System Approach. CL: Sage Publications; 1989.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-04