ความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ของไทยต่อการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่: ข้อมูลเชิงลึกจากการสนทนากลุ่ม

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร ประเสริฐ
  • ปราบดา ประภาศิริ
  • สุริยา เนาศรี
  • ณัฎฐ์ฎาพร ศรีประดิษฐ์
  • กัลยา ศรวงค์
  • รัชฎาภรณ์ อึ้งเจริญ
  • สุทธิชัย นักผูก

คำสำคัญ:

ความลังเลใจในวัคซีน, บุคคลากรทางการแพทย์, กรอบงาน SAGE

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ความลังเลในการฉีดวัคซีนในหมู่บุคลากรทางการแพทย์เป็นความท้าทายที่สำคัญในการป้องกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ บุคลากรทางการแพทย์ที่ลังเลเรื่องวัคซีนมักไม่แนะนำการฉีดวัคซีนแก่ผู้ป่วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจถึงความลังเลในการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของบุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งศึกษาถึงการรับรู้และความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนและโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีผลกับความลังเลใจในการรับวัคซีน                                                                                                                              

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้การสนทนากลุ่ม ใช้แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้างในบุคลากรทางการแพทย์ 72 คนจากโรงพยาบาลจังหวัด 4 แห่งที่คัดเลือกโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยในเดือนสิงหาคม 2562 มีการใช้เทปบันทึกเสียง บันทึกเสียงภาคสนาม และการสังเกต นำมาใช้วิเคราะห์เพื่อสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับกรอบงานความลังเลใจเกี่ยวกับวัคซีน เช่น ความเชื่อมั่น ความพึงพอใจ และความสะดวก                                                   

ผลการศึกษา: จากการสนทนากลุ่มในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 72 คน ครอบคลุมงานทุกประเภทในโรงพยาบาล วัฒนธรรมองค์กร บริบททางสังคม และบรรทัดฐานที่หลากหลาย ผลการวิจัยพบว่า มีความลังเลในการฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลทุกแห่งในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ทุกประเภท ปัจจัยสำคัญของความลังเลใจในการรับวัคซีน คือ ความกลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากวัคซีน แม้ว่าบุคลากรทางการแพทย์จะมีการแสดงความมั่นใจในการฉีดวัคซีนสูงแต่ก็มีความรู้สึกไม่แน่นอนอย่างมากถึงความตรงกันของสายพันธุ์ไรวัสที่เป็นองค์ประกอบของวัคซีนและสายพันธุ์ที่ก่อโรคในขณะนั้น ขาดการสื่อสารเกี่ยวกับคุณประโยชน์และความเสี่ยงของวัคซีนในบุคลากรที่ไม่ได้ให้บริการผู้ป่วย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับความต้องการหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สูงในกลุ่มที่ให้บริการผู้ป่วยโดยตรง สิ่งที่น่าสนใจคือความเป็นวิชาชีพด้านสุขภาพแสดงออกอย่างสูงในบุคลากรทางการแพทย์บางคน ที่สนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ยอมรับวัคซีนถือว่าเป็นความรับผิดชอบในการปกป้องผู้ป่วยและคนอื่นๆ ประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ ความกลัวเข็มฉีดยา ข้อจำกัดด้านเวลา และการจัดหาวัคซีนไม่เพียงพอ                                                                                                                                  

สรุป: ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับวัคซีนและไข้หวัดใหญ่ควรได้รับการสื่อสารอย่างมีกลยุทธ์ไปยังบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในประสิทธิผลของวัคซีน และเข้าใจถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของวัคซีน การส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ให้ตระหนักถึงหน้าที่ทางวิชาชีพในการปกป้องผู้ป่วยจากไข้หวัดใหญ่และบรรเทาการแพร่กระจายของไข้หวัดใหญ่จากบุคลากรทางการแพทย์อาจช่วยลดความลังเลในการฉีดวัคซีนในบุคลากรทางการแพทย์ได้

References

Kaur, M., Coppeta, L., & Olesen, O. F. (2023). Vaccine Hesitancy among Healthcare Workers in Europe: A Systematic Review. Vaccines (Basel), 11(11). doi:10.3390/vaccines11111657 2. Verger, P., Fressard, L., Collange, F., Gautier, A., Jestin, C., Launay, O., . . . Peretti-Watel, P. (2015). Vaccine Hesitancy Among General Practitioners and Its Determinants During Controversies: A National Cross-sectional Survey in France. EBioMedicine, 2(8), 891-897. doi:10.1016/j.ebiom.2015.06.018 3. World Health Organization (WHO). (2021). Vaccines against influenza: WHO position paper – May 2022. Retrieved from https://www.who.int/publications/i/item/who-wer9719. Accessed 26 May 2021. 4. Owusu, J. T., Prapasiri, P., Ditsungnoen, D., Leetongin, G., Yoocharoen, P., Rattanayot, J., Muangchana, C. (2015). Seasonal influenza vaccine coverage among high-risk populations in Thailand, 2010-2012. Vaccine, 33(5), 742-747. Doi:10.1016/j.vaccine.2014.10.029 5. Chotpitayasunondh, T., Sawanpanyalert, N., Bumrungsak, R., Chunthitiwong, P., & Chainatraporn, P. (2011). Influenza vaccination among health care workers in Thailand. BMC Proceedings, 5(S6). Doi:10.1186/1753-6561-5-s6-p84 6. Chotpitayasunondh, C., Patrasuwan, S., Prontri, M., & Poiynok, S. (2011). Acceptance of pandemic influenza A (H1N1) 2009 vaccine among health care workers, Thailand. BMC Proceedings, 5(S6). Doi:10.1186/1753-6561-5-s6-p83 7. Tanavikrankoon, M. Suwannapong, N, Tipayamongkholgul, M, Howteerakul, N. (2015) Acceptance of seasonal influenza vaccination among medical personnel in a super tertiary care hospital, Bangkok. Vajira Nursing Journal. 17(2). Retrieved from https://phad.ph.mahidol.ac.th/research/2558/176-Manussanun%20Tanavikrankoon.pdf

Praphasiri, P., Ditsungneon, D., Greenbaum, A., Dawood, F. S., Yoocharoen, P., Stone, D. M., Muangchana, C. (2017). Do Thai Physicians Recommend Seasonal Influenza Vaccines to Pregnant Women? A Cross-Sectional Survey of Physicians’ Perspectives and Practices in Thailand. PloS One, 12(1), e0169221. Doi:10.1371/journal.pone.0169221 9. MacDonald, N. E., & Hesitancy, S. W. G. o. V. (2015). Vaccine hesitancy: Definition, scope and determinants. Vaccine, 33(34), 4161-4164. Doi:10.1016/j.vaccine.2015.04.036 10. Larson, H. J., Jarrett, C., Eckersberger, E., Smith, D. M., & Paterson, P. (2014). Understanding vaccine hesitancy around vaccines and vaccination from a global perspective: a systematic review of published literature, 2007-2012. Vaccine, 32(19), 2150-2159. Doi:10.1016/j.vaccine.2014.01.081 11. Dube, E., Laberge, C., Guay, M., Bramadat, P., Roy, R., & Bettinger, J. (2013). Vaccine hesitancy: an overview. Hum Vaccin Immunother, 9(8), 1763-1773. Doi:10.4161/hv.24657 12. Dini, G., Toletone, A., Sticchi, L., Orsi, A., Bragazzi, N. L., & Durando, P. (2018). Influenza vaccination in healthcare workers: A comprehensive critical appraisal of the literature. Hum Vaccin Immunother, 14(3), 772-789. Doi:10.1080/21645515.2017.1348442 13. Ahmed, F., Lindley, M. C., Allred, N., Weinbaum, C. M., & Grohskopf, L. (2014). Effect of influenza vaccination of healthcare personnel on morbidity and mortality among patients: systematic review and grading of evidence. Clin Infect Dis, 58(1), 50-57. Doi:10.1093/cid/cit580 14. De Serres, G., Skowronski, D. M., Ward, B. J., Gardam, M., Lemieux, C., Yassi, A., . . . Carrat, F. (2017). Influenza Vaccination of Healthcare Workers: Critical Analysis of the Evidence for Patient Benefit Underpinning Policies of Enforcement. PloS One, 12(1), e0163586. Doi:10.1371/journal.pone.0163586 15. Madewell, Z. J., Chacon-Fuentes, R., Jara, J., Mejia-Santos, H., Molina, I. B., Alvis-Estrada, J. P., Montejo, B. (2021). Knowledge, attitudes, and practices of seasonal influenza vaccination in healthcare workers, Honduras. PloS One, 16(2), e0246379. Doi:10.1371/journal.pone.0246379 16. Paterson, P., Meurice, F., Stanberry, L. R., Glismann, S., Rosenthal, S. L., & Larson, H. J. (2016). Vaccine hesitancy and healthcare providers. Vaccine, 34(52), 6700-6706. Doi:10.1016/j.vaccine.2016.10.042 17. Petek, D., & Kamnik-Jug, K. (2018). Motivators and barriers to vaccination of health professionals against seasonal influenza in primary healthcare. BMC Health Services Research, 18(1). Doi:10.1186/s12913-018-3659-8 18 National Center for Immunization and Respiratory Diseases (NCIRD). 2021). Flu & Pregnancy. Retrieved from https://www.cdc.gov/flu/highrisk/pregnant.htm#anchor_1565116373. Accessed 26 May 2021. 19. McLenon, J., & Rogers, M. A. M. (2019). The fear of needles: A systematic review and meta-analysis. J Adv Nurs, 75(1), 30-42. doi:10.1111/jan.13818 20. Love, A. S., & Love, R. J. (2021). Considering Needle Phobia among Adult Patients During Mass COVID-19 Vaccinations. Journal of Primary Care & Community Health, 12. doi:10.1177/21501327211007393 21. Johnson, D. R., Nichol, K. L., & Lipczynski, K. (2008). Barriers to adult immunization. Am J Med, 121(7 Suppl 2), S28-35. doi:10.1016/j.amjmed.2008.05.005 22. Jenkins, K. (2014). II. Needle phobia: a psychological perspective. Br J Anaesth, 113(1), 4-6. doi:10.1093/bja/aeu013 23. National Center for Immunization and Respiratory Diseases (NCIRD). (2021). Prevent Seasonal Flu. Retrieved from https://www.cdc.gov/flu/prevent/ Accessed 26 May 2021.

Zulkarnain, N. N., Anuar, N., Abd Rahman, N., Sheikh Abdullah, S. R., Alias, M. N., Yaacob, M., Ding, G. (2021). Cell-based influenza vaccine: current production, halal status assessment, and recommendations towards Islamic-compliant manufacturing. Hum Vaccin Immunother, 17(7), 2158-2168. doi:10.1080/21645515.2020.1865044

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-04