การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย ปัจจัยทำนายเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ผลการรักษาและคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วิสิษฐ์ วิจิตรโกสุม

คำสำคัญ:

ศักยภาพเครือข่าย, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์, ผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพเครือข่าย ปัจจัยทำนายเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ผลการรักษาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน จังหวัดอุดรธานี

วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรเครือข่าย จำนวน 68 คน ผู้ป่วย จำนวน 230 คน ระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก

ผลการวิจัย: พบว่าคู่มือปฏิบัติการระบบการบริหารจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน จังหวัดอุดรธานี มี 5 มาตรการ ได้แก่ 1) พัฒนาระบบเครือข่ายบริการ 2) ส่งเสริมการเข้าถึงบริการ 3) พัฒนาระบบข้อมูล 4) การติดตามผลการรักษา 5) ส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันปัจจัยเสี่ยง บุคลากรเครือข่ายหลังพัฒนามีศักยภาพระดับปานกลางเพิ่มจากร้อยละ 88.23 เป็น 97.1 หลังพัฒนาผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่ำเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 46.1 เป็น 52.2 ปัจจัยทำนายเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ อายุ, เพศหญิง, โคเลสเตอรอล, โรคเบาหวาน และเส้นรอบเอว ผู้ป่วยมีโรคร่วม ร้อยละ 78.3 ภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว ร้อยละ 42.6 โรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 14.8 ตามลำดับ ขนาดยาวาร์ฟารินคือ 3 mg tab ต่อวัน ร้อยละ 47.8, ค่าการแข็งตัวของเลือด เริ่มต้นเกินเป้าหมาย ร้อยละ 70.4, ครั้งล่าสุดอยู่ในเป้าหมาย เพิ่มจาก ร้อยละ 55.7 เป็น 73.9 คุณภาพชีวิตผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟารินโดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 90.9 ผลงานบริการ จำนวน 8 ตัวชี้วัด หลังพัฒนาผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น 6 ตัวชี้วัด (ร้อยละ 75) ผลงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้แก่ ผู้ป่วยมีความรู้ในการใช้ยา ถูกต้องและผู้ป่วยมีค่าการแข็งตัวของเลือดอยู่ในช่วงเป้าหมาย

สรุป: หลังการพัฒนาพบว่าบุคลากรมีศักยภาพบริการโดยรวมอยู่ในระดับสูง และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น

References

ธนิตา บุณยพิพัฒน์ และสุภารัตน์ วัฒนสมบัติ. (บรรณาธิการ). แนวทางการบริหารจัดการหน่วยดูแลผู้ป่วยที่ได้รับป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Warfarin Clinic Management). คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคหัวใจ, สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: โอ-วิทย์ (ประเทศไทย), 2559.

โรงพยาบาลราชวิถี. เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาในผู้ป่วยที่ใช้ยาวาร์ฟาริน. โรงพยาบาลราชวิถี, 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2566]. จาก: https://www.rajavithi.go.th/rj/wp-content/uploads/2017

เอมอร แสงศิริ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2558; 26(1): 104-18.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ข้อมูลรายงานบริการผู้ป่วยที่ Warfarin clinic. โรงพยาบาลอุดรธานี, 2563.

โรงพยาบาลอุดรธานี. ระบบข้อมูลอิเลคโทรนิคเวชระเบียนผู้ป่วย Warfarin clinic โรงพยาบาลอุดรธานี, 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2566]. จาก:https://www.udh.go.th

Wayne WD. Biostatistics: A Foundations for Analysis in the Health Sciences. 6th ed. New York: Wiley & Sons, 1995.

นาตยา หวังนิรัติศัย, สกนธ์ สุภากุล, ภูขวัญ อรุณมานะกุล. ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินของคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารเภสัชกรรมไทย 2561; 10(1): 121-28.

จอม สุวรรณโณ, นฤเบศร์ โกศล. เปรียบเทียบคะแนนความเสี่ยง ระดับความเสี่ยง และปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีโรคร่วมเบาหวานและไม่เป็นเบาหวาน. วารสารกรมการแพทย์ 2561; 43(5): 109-16.

Shields LBE, Fowler P, Siemens DM, Lorenz DJ, Wilson KC, Hester ST, Honaker JT. Standardized warfarin monitoring decreases adverse drug reactions. BMC Family Practice 2019; 20: 151-58.

Tai C, Wu H, San C, Chua D. Management of Supratherapeutic International Normalized Ratio without Bleeding after Warfarin Use: An Evaluation of Vitamin K Administration (SUPRA-WAR-K Study). CJHP 2017; 70(3): 207-13.

Garrison SR, Green L, Kolber MR, Korownyk CS, Olivier NM, Heran BS. The Effect of Warfarin Administration Time on Anticoagulation Stability (INRange): A Pragmatic Randomized Controlled Trial. Ann Fam Med 2020; 18: 42-49.

Oral A, Başçı S, Kostek O, Uzunlulu M. Clinical characteristics and overdose risk factors of patients hospitalized due to warfarin overdose. FNG & Demiroğlu Bilim Tıp Dergisi 2019; 5(2): 63-71.

โรงพยาบาลศิริราช. High Alert Drug คู่มือการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง. โรงพยาบาลศิริราช, 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2566]. จาก:https://www.si.mahidol.ac.th

รุจิรา บุตรจันทร์, สงครามชัย ลีทองดี, รับขวัญ เชื้อลี. การพัฒนารูปแบบคุณภาพบริการคลินิกวาร์ฟารินตามเกณฑ์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2562; 8(1): 39-55.

วันเพ็ญ มูลอินต๊ะ. การพัฒนาระบบการบริบาลผู้ป่วย ในคลินิกวาร์ฟารินโรงพยาบาลพะเยา. เชียงรายเวชสาร 2562; 11(2): 1-8.

เจนจิรา ตันติวิชญวานิช. การบูรณาการคลินิกวาร์ฟารินและพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสุขภาพด้วยการบริบาลทางเภสัชกรรม จังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(1): 129-36.

วรพรรณ มหาศรานนท์, ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช, รุ้งนภา ชัยรัตน์. ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้มีผลต่อการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2562;30(1): 102-15.

Iqbal MS, Muthanna FMS, Kassab YW, Hassali MA, Al-Saikhan FI, Iqbal MZ, et al. Determinants of health-related quality of life among warfarin patients in Pakistan. PLoS ONE 2020; 15(6): 0234734. [Cited 2022December 5] from: https://doi.org/10.1371/journal.

Qiu S, Wang N, Zhang C, Gu ZC, Qian Y. Anticoagulation Quality of Warfarin and the Role of Physician–Pharmacist Collaborative Clinics in the Treatment of Patients Receiving Warfarin: A Retrospective, Observational, Single-Center Study. Front. Pharmacol. 2021;11: 605353. doi: 10.3389/fphar.2020.605353

สมพงษ์ จารุอภินันท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาวาร์ฟาริน ในโรงพยาบาลเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารองค์การเภสัชกรรม 2560; 44(1): 36-40.

นครินทร์ โสมาบุตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดวาร์ฟารินเกินขนาดในวาร์ฟารินคลินิก โรงพยาบาลสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2561; 40(3): 163-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-18