ผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อเมลิออยโดสิสในโรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • มนตรี เกียรติจานนท์

คำสำคัญ:

ข้ออักเสบติดเชื้อ, เมลิออยโดสิส

บทคัดย่อ

           วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะประชากร อาการทางคลินิก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ                  การรักษา ผลการรักษา และจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อเมลิออยโดสิส

            วัสดุและวิธีการ :  การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อเมลิออย         โดสิส ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพนม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2564 จำนวน 32 รายวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการศึกษา : ผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อเมลิออยโดสิส จำนวน 32 คน เพศชาย: เพศหญิง 1.38: 1             อายุเฉลี่ย 50.62+12.72 ปี ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม 29 ราย (ร้อยละ 90.62) โรคร่วมที่พบมากที่สุด คือ เบาหวาน 29 ราย (ร้อยละ 90.62) เบาหวานร่วมกับไตวายเรื้อรัง 3 ราย (ร้อยละ 10.34) และเบาหวานร่วมกับทาลัสซีเมีย 1 ราย (ร้อยละ 3.12) ระยะเวลาที่เจ็บป่วยก่อนมาโรงพยาบาลส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 1-7 วัน 22 ราย (ร้อยละ 68.75) เฉลี่ย 8.45+6.24 วัน ทุกคนมีอาการสำคัญที่นำมาพบแพทย์ คือ มีไข้ ปวดข้อ และข้อบวม (ร้อยละ 100.00) ตำแหน่งที่พบมากที่สุดคือ ข้อเข่า 15 ราย (ร้อยละ 46.87) รองลงมาคือ ข้อไหล่ 6 ราย               (ร้อยละ 28.75) ข้อศอก 5 ราย (ร้อยละ 15.62) ข้อสะโพก 4 ราย (ร้อยละ 12.50) ข้อมือและข้อเท้า ตำแหน่งละ 1 ราย (ร้อยละ 3.12) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการเพาะเชื้อจากหนองในข้อให้ผลบวกจำนวน 17 ราย (ร้อยละ 53.12) ผลการเพาะเชื้อจากเลือดให้ผลบวก 21 ราย (ร้อยละ 65.62) ผู้ป่วย 6 ราย เพาะเชื้อให้ผลบวกทั้งจากเลือดและหนองในข้อ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะร่วมกับการผ่าตัดระบายหนองจากข้อ 22 ราย (ร้อยละ 68.75) ยาปฏิชีวนะร่วมกับการใช้เข็มดูดหนองจากข้อ 8 ราย (ร้อยละ 25.00) และยาปฏิชีวนะเพียงอย่างเดียว 2 ราย (ร้อยละ 6.25) ผลการรักษา ผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 15.62) จำนวน               วันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 11.11+5.4 วัน

        ข้อสรุป : ในการวินิจฉัยโรคควรใช้ผลการเพาะเชื้อจากหนองในข้อและจากเลือด  ผู้ป่วยข้ออักเสบติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง และมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรให้การรักษาแบบ septicemic melioidosis ไปก่อนจนกว่าพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่จึงเปลี่ยนยาปฏิชีวนะ

References

Limmathurotsakul D, Wongratanacheewins S, Teerawattanasook N, Wongsuwan G,

Chisuksant S, Chaowagul W. Day NP, Peacoclc SJ, Increasing incidence of human

melioidosis in Northeast Thailand. Am J Trop Med Hyg 2010;82(6):1113-7.

Department of disease control. Annual Epidemiological Surveillance Report 2019.

(Internet online) 2020 (Cited 2022 Nov2). Available from: URL:

http://www.ddc.morph.go.th.

Morse LP, Smith J, Mehta J, Ward L, Cheng AC, Currie BJ. Osteomyelitis and septic arthritis

from infection with Burkhoderia pseudomallei: a20-year prospective melioidosis study from northern Australia. J orthop 2013;10:86-91.

Kumar VJ, Deepali J, Himanshu K, Ajay S, Kumar RA, Deepak M. Melioidosis: A review of

orthopaedic manifestation, Clinical features, diagnosis and management. Ind J Med Sci 2007; 61:580-7.

Currie BJ, Jacups SP, Cheng AC, Fisher DA, Anstey NM, Huffam SE, Krause VL. Melioidosis epidemiology and risk factors from a prospective whole population study in northern Australia. Trop Med Int Health, 2014;9:1167-74.

Nadeem Saijad Raja, Christine Scarbrook. Burkholderi Pseudomallei Causing Bone and

Joint infections: A Clinical Update. Infect Dis ther 2016;5:17-29.

Shetty RP, Mathew M, Smith J, Morse LP, Metha JA, Currie BJ. Management of melioidosis

osteomyelitis and septic arthritis. The Bone & Joint Journal 2015;97(2):277-82.

Moorthy S, Nagarajan K, Udahaya Sankar R, Gopal R, Yuvarajan S, Vignesh R, Venkatesh R, Ambroise MJ. Melioidosis Presenting As Septic Arthitis. JMSCR 2020; 8(1): 154-6.

Morse LP, Smith J, Mehta J, Ward L, Cheng AC, Currie BJ. Osteomyelitis and septic arthritis

from infection with Burkholderia pseudomallei: A 20-year prospective melioidosis study

from northern Australia. J Orthop. 2013;10(2):86-91.

Wu H, Wang X, Zhou X, Chen S, Mai W, Huang H, et al. Osteomyelitis and Septic Arthritis

Due to Burkholderia pseudomallei: A 10-Year Retrospective Melioidosis Study From South

China. Front Cell Infect Microbiol. 2021;11:654745.

Morgan DS, Fisher D, Marianos A, Curries BJ. An 18 year clinical review of septic arthritis from tropical Australia. Epidemiol Infect. 2006; 117(3): 423-8.

Kosuwon W, Taimglang T, Sirichativapee W, Jeeravipoolvarn P. Melioidotic septic arthritis

and its risk factors. J Bone Joint Surg Am. 2003;85(6):1058-61.

Teparrukkul P, Nilsakul J, Dunachie S, Limmathurotsakul D. Clinical Epidemiology of Septic

Arthritis Caused by Burkholderia pseudomallei and Other Bacterial Pathogens in Northeast

Thailand. Am J Trop Med Hyg. 2017;97(6):1695-1701.

Somkid surachai. Septic Arthitis at Nakhonphanom Hospital. Udonthani Hospital Medical

Journal 2018; 26(1): 64-73.

Peerawat Boonyateerana. Clinical characteristicis of Musculoskeletal Involvement in

Melioidotic Patients in Sawanpracharak Hospital. Sawanpracharak Medical Journal 2014; 11(1):24-41.

ภัทรพงษ์ พีรวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตายของผู้ป่วยติดเชื้อเมลิออยโดสิสในกระแสเลือด ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2548; 20(3): 11-26.

Suputtamongkol Y, Hall AJ, Dance DA, Chaowagul W, Rajchanuvong A,Smith MD, White NJ.

The epidemiology of melioidosis in Ubon Ratchatani, northeast Thailand. Int J Epidemiol.

;23(5):1082-90.

Currie B. Melioidosis evolving concepts in epidemiology, pathogenesis, and treatment. Semin Respir Critical Care Med 2015;36:111-25.

Sookpranee M, Boonma P, Bhuripanyo K. Melioidosis at Srinagarind Hospital. In: Pungagupata S. Srisanthana T, Stapatayvong B. melioidosis: Proceeding of National workshop on

melioidosis. Bangkok: Bangkok Medical Publisher; 1987.

Pinyok Srisansanee. Clinical features and Factors Associated with mortality of naïve

Pyogenic arthritis patients In surin hospital. Medical Journal of Seisaket Surin Buriram

Hospital 2021; 36(2): 465-73.

Chote Pawasuttikul. Comparison of Needle Aspiration and Arthrotomy treatment for septic knee Arthritis: a10-Year retrospective study. JRCOST 2013;37(24):29-33.

สิทธิ ชัยบุตร. ผลลัพธ์การรักษาข้อเข่าอักเสบติดเชื้อด้วยวิธีการเจาะดูดจากข้อ เปรียบเทียบการผ่าตัดเปิดล้างข้อในโรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร 2014;34(2):40-8.

รอยพิมพ์ โสภาพงษ์. การศึกษาเมลิออยโดสิสในโรงพยาบาลยโสธร. ยโสธรเวชสาร 2565; 24(2): 68-86.

Churuangsuk C, Chusri S, Hortiwakul T, Charernmak B, Silpapojakul K. Characteristics, clinical outcomes and factors influencing mortality of patients with melioidosis in southern Thailand: A 10-year retrospective study. Asian Pac J Trop Med. 2016;9(3):256-60.

ชวยศ หาญหิรัญ. ปัจจัยที่ส่งผลทำให้ผลการรักษาเมลิออยโดสิสล้มเหลวในโรงพยาบาลเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลอุดรธานี 2564; 29(3): 346-5

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-18