การพยาบาลผู้คลอดทีมีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด: กรณีศึกษา 2 ราย Nursing Care of Postpartum Hemorrhage with Hypovolemic shock : Case Study of 2 Cases
คำสำคัญ:
ตกเลือดหลังคลอด, ภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด, กระบวนการพยาบาลบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ภาวะตกเลือดหลังคลอด คือ การเสียเลือดมากกว่า 500 มิลลิลิตร ในการคลอดบุตรทางช่องคลอด และมากกว่า 1,000 มิลลิลิตร ในการผ่าคลอดทางหน้าท้อง เป็นภาวะแทรกซ้อนของการคลอดและเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของมารดา มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจของมารดาและครอบครัว นอกจากนี้ ยังพบว่าการตกเลือดหลังคลอดส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางในระยะยาวและมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์และการคลอดในครั้งต่อไปคือมีโอกาสเกิดการตกเลือดหลังคลอดในการคลอดครั้งต่อไปได้ ดังนั้น การให้การพยาบาลมารดาในระยะรอคลอด ระยะคลอด ระยะหลังคลอดที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผู้คลอดปลอดภัยและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้คลอดทีมีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด โดยเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย
วิธีดำเนินงาน: ศึกษาเปรียบเทียบผู้คลอดที่มีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด 2 ราย โดยเปรียบเทียบประวัติการตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยง และกระบวนการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เวชระเบียน การสัมภาษณ์ผู้คลอดและครอบครัวระยะเวลาการศึกษา ผู้คลอดทั้ง 2 ราย เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566
ผลการศึกษา: ผู้คลอดทั้ง 2 ราย มีปัญหาทางการพยาบาลที่เหมือนกัน คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอด และมีความแตกต่างในประเด็นสาเหตุ ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ความยากของการปฏิบัติการพยาบาล โดยผู้คลอดรายที่ 1 อายุ 39 ปี ผ่านการคลอดมาหลายครั้ง มีภาวะเสี่ยงตั้งแต่ระยะรอคลอด และในระยะหลังคลอดพบว่ามีภาวะตกเลือดหลังคลอด ส่งอัลตราซาวด์พบว่า มีเศษรกค้างจึงส่งขูดมดลูก รายที่ 2 ประเมินผู้คลอดก่อนย้ายไปหอผู้ป่วย ผู้คลอดมีอาการหน้ามืดเวียนศีรษะ เหงื่อออกตัวเย็น ทั้ง 2 ราย สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง ชีพจรเร็วความดันโลหิตต่ำลง ความเข้มข้นของเลือดลดลง ผู้คลอดมีภาวะช็อกจากการเสียเลือดทั้ง 2 ราย ได้รับการประเมินและรักษาอย่างเร่งด่วน รวดเร็ว ได้รับการรักษาหลักที่เหมือนกัน คือ ได้รับสารน้ำ เลือด ยาเพิ่มการหดรัดตัวของมดลูก ร่วมกับการนวดคลึงมดลูกและการเฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด ปัญหาทางการพยาบาลได้รับการแก้ไขหลังการรักษาผู้คลอดปลอดภัย สามารถย้ายผู้คลอดไปดูแลต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยได้
สรุป: การตกเลือดหลังคลอดมีภาวะแทรกซ้อนและสาเหตุที่แตกต่างกันเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ พยาบาลจำเป็นต้องมีสมรรถนะในการประเมิน การวินิจฉัยภาวะเสี่ยงต่อการเสียเลือดตั้งแต่แรกรับ การร่วมทีมสหสาขาวิชาชีพในการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและทันเวลา นำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการดูแลเพื่อให้การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลลดอัตราตายผู้คลอดได้
References
กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลชุมแพ. (2563-2565). ขอนแก่น: โรงพยาบาลชุมแพ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์. (2562). ภาวะตกเลือดหลังคลอดเฉียบพลัน. ใน วิทยา ถิฐาพันธ์,
ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์และกนกวรุณ วัฒนนิรันดร์. (บรรณาธิการ), ภาวะวิกฤตทางสูติกรรม.
(น19-40). กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ ลิฟวิ่ง จำกัด
ธัญญารัตน์ กุลณีจิตต์เมธี. (2560). ความปวดและการจัดการความปวดในระยะเจ็บครรภ์คลอด.
สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, 6(2), 158-165
ประนอม บุพศิริ. (2562).สูตินรีเวชทันยุค 2562: จากทฤษฎีสู่สภาพจริง.ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวช
วิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปารรัตน์ วุฒิเจริญวงศ์. (2563). ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลหนองวัวซอ
อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลอุดรธานี, 28(1), 43-51.
พเยาว์ บุญที. (2564). การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่ตกเลือด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ,
(2), 1-10.
พัชรียา นิวัฒน์ภูมินทร์.(2562). การใช้ยาเพิ่มการหดรัดตัวของ มดลูกในการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้า
ท้อง.วิสัญญีสาร, 45:124-31.
พิรุฬห์ สิทธิพล. (2562). การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะช็อกจากการตกเลือดหลังคลอด : กรณีศึกษา
วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 4(8), 277-291.
เฟื่องลดา ทองประเสริฐ. (2557). ตำราภาวะฉุกเฉินทางสูติ – นรีเวช. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2562-2564. (2564). แนวทางเวชปฏิบัติของราช
วิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การป้องกันและการรักษาภาวะตกเลือดหลัง
คลอด RTCOG.
สืบค้น17 กันยายน 2566 จาก http://www.rtcog.or.th/home/wp-
Content/uploads/2020/09/OB-63-020-Prevention-and-Management-Of
Postpartum- Hemorrhage.pdf
วันรัฐ พจนา, เกศกญัญา ไชยวงศา และ ภัทรา สมโชค. (2564). การพัฒนาแบบประเมินปัจจัยเสี่ยงและ
แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะแรกโดยการจัดการความรู้
โรงพยาบาล สมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน. วารสารวิจัยและระบบสุขภาพ, 14(2), 182-194.
สมทรง บุตรตะ. (2563). การพยาบาลมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้องที่มีภาวะตกเลือดหลัง
คลอดระยะแรก : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(3),185-198.
สุฑารัตน์ ชูรส. (2562). การป้องกันการตกเลือดหลังคลอด: บทบาทของพยาบาล. วารสารวิชาการ
แพทย์ เขต 11, 33(1), 181-192.
สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ. (2559). ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน: ผลกระทบต่อสุขภาพสตรี และการ
พยาบาล. Songkla Med J, 35(1), 75-82.
สายพิณ พงษธา. (2563). การคลอด. สืบค้น17 กันยายน 2566
จาก https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-262
Committee on Practice Bulletins-Obstetrics. (2017).Practice Bulletin No. 183:
postpartum hemorrhage. Obstet Gynecol. 2017;130:e168-86
Fyfe EM, Thompson JMD, Anderson NH, Groom KM, McCowan LM. Maternal obesity and
postpartum hemorrhage after vaginal and caesarean delivery among
nulliparous women at term: a retrospective cohort study. BMC Pregnancy
Childbirth 2012; 12:112.
Iamchareon T. Postpartum hemorrhage: Significance of nurse’s roles in prevention.
APHEIT Journal 2017; 6(2): 146-57.
Wanitchapongpun P, Ratsameecharoen K, Lertbannaphong T, editors. Modern textbook
of obstetrics.Bangkok:Department of obstetric sand Gynecology, Faculty of
medicine, Siriraj hospital; 2017. (in Thai)
World Health Organization. WHO recommendations for the prevention and treatment
of postpartum hemorrhage. Italy: WHO; 2012
World Health Organization, UNICEF, UNFPA, and the United Nation Population Division.
Trends in maternal mortality: 1990 to 2013. Switzerland: WHO; 2014
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 โรงพยาบาลนครพนม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ โรงพยาบาลนครพนม
- ข้อความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ